fbpx
Search
Close this search box.

3 สเต็ป คิดคำนวณก่อน “รีไฟแนนซ์บ้าน“

ใครที่กำลังผ่อนบ้านไปสักพัก และดอกเบี้ยเริ่มหนักขึ้นจนไม่ไหว การรีไฟแนนซ์ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คนมีบ้านกำลังตามหา ช่วยให้อัตราดอกเบี้ยต่ำลง แต่สิ่งที่ควรทำก่อนคิดจะรีไฟแนนซ์ นั่นคือการคำนวณว่าการย้ายธนาคารนี้มีความคุ้มค่าจริงไหม ซึ่งครั้งนี้ ACU PAY จะมาบอก 3 สเต็ปการคำนวณก่อนคิดรีไฟแนนซ์บ้านกัน

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ การรีไฟแนนซ์บ้าน

โดยปกติแล้วหลายคนที่ซื้อบ้านช่วงแรกธนาคารจะมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยบ้านให้เราจ่ายในราคารับไหว แต่พอระยะเวลาผ่านไป 3 ปี ส่วนใหญ่โปรโมชั่นดอกเบี้ยบ้านที่ได้รับก็จะหมดอายุลง จึงทำให้ดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น จาก 2 – 3% เป็น 4 – 7% ต่อปี

ทำให้ผู้กู้หลายคนมองหาทางเลือกในการลดดอกเบี้ยบ้าน หนึ่งในนั้นคือ การรีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) หรือ การทำสัญญาสินเชื่อกู้ซื้อที่อยู่อาศัยกับธนาคารใหม่ หลังจากผ่อนบ้านไปแล้ว 3 ปีขึ้นไปหรือตามเงื่อนไขในสัญญากู้บ้าน เพื่อขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารใหม่ให้น้อยลง 

ซึ่งข้อดีของการรีไฟแนนซ์ คือ ช่วยลดอัตราดอกเบี้ยบ้าน อาจใกล้เคียงเหมือนตอนซื้อครั้งแรกเลยทีเดียว ทั้งยังช่วยลดระยะเวลาผ่อนบ้าน ประหยัดยอดผ่อนต่อเดือนลดลง และสามารถขอกู้เพิ่มได้ ในกรณีที่หนี้เหลือน้อยกว่าวงเงินอนุมัติ

แต่สิ่งที่ควรทำก่อนคิดจะรีไฟแนนซ์ นั่นก็คือการคำนวณก่อนว่าการย้ายธนาคารไปที่ใหม่ครั้งนี้ มีความคุ้มค่าจริงไหม เพราะถ้าคิดแล้วช่วยประหยัดดอกเบี้ยได้เพียงนิดเดียว แล้วต้องเสียเวลาเดินเรื่องทำเอกสารใหม่หมด การรีไฟแนนซ์ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะเท่าไหร่ 

3 ขั้นตอนคำนวณก่อนรีไฟแนนซ์บ้าน

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ให้วิธีการคิดรีไฟแนนซ์บ้าน 3 ขั้นตอน ตามนี้

  1. ประหยัดดอกเบี้ยได้เท่าไหร่ ?

    ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ x จำนวนปี

    – อัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = อัตราดอกเบี้ยเดิม – อัตราดอกเบี้ยของธนาคารใหม่

    – เงินต้นคือ จำนวนเงินต้นที่จะรีไฟแนนซ์บ้านจากธนาคารใหม่

    – จำนวนปี คือ ระยะเวลาอัตราดอกเบี้ยต่ำที่ธนาคารใหม่เสนอ

  2. ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์มีอะไรบ้าง ?
    – ค่าปรับกรณีไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด
    – ค่าประเมินหลักประกัน
    – ค่าจดจำนองหลักประกัน
  3. คุ้มค่าที่จะรีไฟแนนซ์หรือไม่
    โดยเปรียบเทียบข้อ 1. และ ข้อ 2. เพื่อดูว่าคุ้มหรือไม่ที่จะรีไฟแนนซ์

แล้วถ้าไม่คุ้มที่จะรีไฟแนนซ์ ทำอย่างไรดี ?

ทั้งนี้ถ้าการรีไฟแนนซ์ ยังเป็นตัวช่วยที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ผู้กู้บ้านอาจลองใช้วิธีรีเทนชั่น (Retention) ขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม หรือเจรจาเจ้าหนี้เดิมเพื่อขอลดดอกเบี้ยแทนได้เช่นกัน อย่างเช่น ลดหย่อน ผ่อนผัน และ/หรือปรับเปลี่ยนข้อตกลง ก็มีช่องทางทำได้เช่นกัน 

  • ขอลดอัตราดอกเบี้ย 
  • ขอผ่อนชำระต่ำกว่าปกติ 
  • ขอขยายเวลาชำระหนี้ 
  • ขอผ่อนผันการค้างชำระ 
  • ขอโอนหลักทรัพย์เป็นของธนาคารชั่วคราวและจะซื้อคืน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่