fbpx
Search
Close this search box.

ผ่อนรถต่อไม่ไหว “รีไฟแนนซ์รถยนต์” ช่วยคุณได้

เชื่อว่าหลายคนมีภาระค่าใช้จ่ายประจำเดือนอยู่แล้ว หนึ่งในนั้นก็คือ “การผ่อนค่างวดรถ” และมีภาระผ่อนจ่ายค่าอื่นๆอีกหลายอย่าง แต่ใครจะไปรู้ว่าอยู่มาวันหนึ่งเคยจ่ายง่าย ใช้คล่อง แต่ต้องมาติดขัด ไม่สามารถผ่อนจ่ายค่างวดรถได้เหมือนทุกเดือน พอจ่ายช้าสิ่งที่ตามมาคือดอกเบี้ยก็บวกเพิ่มไปอีก คงจะปวดหัวไม่ใช้น้อย วันนี้เรามาทางออกให้คุณว่า เราสามารถ “รีไฟแนนซ์รถยนต์” ที่กำลังผ่อนได้อยู่หรือไม่ ?

“รีไฟแนนซ์รถยนต์” คือ

การที่ผู้กู้ซื้อรถยนต์ ได้ทำการกู้เงินยอดใหม่อีกครั้ง เพื่อนำเงินก้อนนั้นมาใช้หนี้ก้อนเก่า ด้วยการใช้รถยนต์คันที่กำลังผ่อนอยู่ให้เป็นประโยชน์ ถึงแม่เราสร้างหนี้ใหม่ แต่เป็นการสร้างหนี้และยืดเวลาผ่อนจ่ายออกไปด้วย ได้ดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะทำกับบริษัทไฟแนนซ์เดิมหรือ บริษัทใหม่ก็ได้

รีไฟแนนซ์ ดีไหม?

ตอบเลยว่าดีมาก ดีกว่าไปกู้เงินด่วยนนอกระบบดอกเบี้ยมหาโหด หรือบัตรกดเงินสด ที่ดอกเบี้ยก็โหดเช่นกัน เอารถตัวเองนี้แหละ มาทำรีไฟแนนซ์ก่อน เพราะให้สามารถแก้ปัญหาการเงินติดขัด ทำให้ชีวิตคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ผ่านช่วงเวลาติดขัดไปได้ก่อน

รถที่ผ่อนไม่หมด “รีไฟแนนซ์” ได้ไหม?

หลายคนคงสงสัย ผ่อนคันเก่าก็ยังไม่หมด แถมยังสร้างหนี้ใหม่อีก มันจะได้หรอ ? ขอตอบตรงนี้เลยว่า “ได้” ข้อดีคือเป็นการยืดระยะเวลาชำระอีกด้วย

ความแตกต่างระหว่างการ “รีไฟแนนซ์ที่เดิม” และ “รีไฟแนนซ์ที่ใหม่”

ที่เดิม ข้อดีคือคุณมีประวัติอยู่แล้ว อาจทำให้ง่ายต่อการผ่าน มีประวัติดี ทำให้คุณประหยัดเวลาในการยื่นเรื่องอีกด้วย  ที่ใหม่ อาจจะต้องเตรียมเอกสารใหม่ แต่ถ้ามีดอกเบี้ยที่น่าสนใจว่า ก็เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายลงอีก

ถ้าเราไม่ใช้ชื่อเจ้าของรถ สามารถนำไป “รีไฟแนนซ์” ได้ไหม?

อาจเป็นรถพ่อ แม่ ญาติของเรา แม้แต่นามสกุลเดียวกัน ทางกฎหมายไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเป็นการตรวจสอบว่ารถที่นำมา“รีไฟแนนซ์”ไม่ได้ถูกโจรกรรมมา

เอกสารในการของยื่น “รีไฟแนนซ์”

  •  บัตรประชาชน                                                                                                                                                                     
  • ทะเบียนบ้าน
  • เล่มทะเบียนรถยนต์ตัวจริง
  • สลิปเงินเดือนเดือนล่าสุด หรือหนังสือรับรองอายุงานไม่ถึง  3 เดือน (พนักงานประจำ)
  • สำเนาสมุดบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน หรือเอกสารแสดงที่มาของรายได้ (เจ้าของกิจการ)

อย่างไรก็ตามถ้าท่านใดสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบัน ธนาคาร หรือไฟแนนซ์ที่สนใจ เพราะอาจมีรายละเอียดเรื่องเอกสารแตกต่างกันไปค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่