โดยล่าสุดวันที่ 2 เม.ย. 2567 ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้ผ่านในวาระหนึ่ง เหลือพิจารณาวาระ 2 และ 3 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อสมาชิกวุฒิสภาได้เห็นชอบผ่าน นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสินก็จะนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ต้องรอดูว่าในวาระที่เหลือ สว. จะโหวตผ่านกฎหมายฉบับนี้ หรือ หรือจะตีกลับมายังสภา เพื่อนำมาแก้ไขบางมาตรา หรือพิจารณาใหม่
ในส่วนเนื้อหาข้างในพรบ. สมรสเท่าเทียม มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามนี้
ในบัญญัติกฎหมายจะมีหลายคำที่เปลี่ยนไป โดยจากการสมรสระหว่างชายและหญิง ก็จะเปลี่ยนเป็นการสมรสระหว่าง ‘บุคคล-บุคคล’ และจากการหมั้น ก็จะเปลี่ยนจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เป็น ‘ผู้หมั้น-ผู้รับหมั้น’ เพื่อให้คำศัพท์ในการเรียกครอบคลุมคนทุกเพศ
จากเดิมที่อายุขั้นต่ำของบุคคลที่สามารถสมรสหรือหมั้นหมายกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายในวัย 17 ปี ได้มีการปรับเปลี่ยนให้เป็น 18 ปี เพื่อให้อายุพ้นจากความเป็นเด็กและเป็นการคุ้มครองเด็กในอีกทางหนึ่ง ซึ่งประเด็นนี้ก็จะสอดคล้องกับอนุสัญญาและพันธสัญญาสากลที่ว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยที่ประเทศไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงเหล่านั้นด้วย
ถึงกลุ่มคน LGBTQIA2S+ จะสามารถสมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวยังคงมีประเด็นอยู่ เพราะตอนนี้ในกฎหมายยังคงใช้คำว่า ‘บิดา-มารดา’ ซึ่งไม่ถือเป็นการครอบคลุมคนทุกกลุ่ม เพราะกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมีการนิยามอัตลักษณ์ตัวเองที่แตกต่างกันไป เช่น บางคู่อาจจะใช้คำว่า ‘พ่อ-พ่อ’ หรือ ‘แม่-แม่’ ซึ่งการใช้คำว่า ‘บุพการีลำดับแรก’ จะตอบโจทย์เรื่องการรับรองสถานะของคู่บุพการีและครอบคลุมมากกว่า ซึ่งต้องมีการแก้ไขต่อไป
นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจอย่าง การเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมให้สอดคล้องกับลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน
เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายผู้หมั้นให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายผู้รับหมั้น แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่ผู้รับหมั้นยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ผู้รับหมั้นหรือโดยพฤติการณ์ ซึ่งฝ่ายผู้รับหมั้นต้องรับผิดชอบ ทำให้ผู้หมั้นไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับผู้รับหมั้น ฝ่ายผู้หมั้นเรียกสินสอดคืนได้
ให้มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้หมั้นหรือผู้รับหมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของผู้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เรียกค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ผู้อื่นนั้นได้กระทำการดังกล่าว
หลังจากที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ผ่าน ประเทศไทยจะเป็น “ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” และ ”ประเทศที่ 3 ในเอเชีย” ถัดจากไต้หวันและเนปาล ที่กลุ่ม LGBTQIA2S+ สามารถแต่งงานและสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมได้รับสิทธิเทียบเท่ากับคู่ชายหญิงทั่วไป อย่างการลดหย่อนภาษี สิทธิการรักษาพยาบาล รวมถึงการเซ็นยินยอมให้เข้าสู่การรักษาพยาบาล
แต่ถึงอย่างนั้น กฎหมายนี้ก็ยังมีช่องโหว่ คืออาจรับรองการแต่งงาน แต่ยังไม่รับรองเรื่องบุตรและการสร้างครอบครัวของ ซึ่งต้องติดตามการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมต่อไป เพื่อให้ทุกคน ทุกเพศ ได้รับสิทธิที่เท่าเทียม ที่มนุษย์ทั่วไปควรได้รับ
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |