fbpx
Search
Close this search box.

สรุปข้อสำคัญ พ.ร.บ. ‘สมรสเท่าเทียม’ เพื่อ ‘ทุกเพศ’ เท่ากัน

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ถือเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สำหรับชาว LGBTQIA2S+ เมื่อทางสภาผู้แทนราษฎรลงมติได้เห็นชอบ พ.ร.บ สมรสเท่าเทียม โดยเปลี่ยนจากสมรสชาย-หญิงให้เป็นระหว่าง ‘บุคคล-บุคคล’ เพื่อคืนสิทธิความเท่าเทียมต่าง ๆ ให้กับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ซึ่งดำเนินมากว่า 23 ปี

เนื้อหา

สมรสเท่าเทียมผ่านวุฒิสภา (สว.) แล้ว

โดยล่าสุดวันที่ 2 เม.ย. 2567 ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้ผ่านในวาระหนึ่ง เหลือพิจารณาวาระ 2 และ 3 ตามลำดับ ซึ่งเมื่อสมาชิกวุฒิสภาได้เห็นชอบผ่าน นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสินก็จะนำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป 

ต้องรอดูว่าในวาระที่เหลือ สว. จะโหวตผ่านกฎหมายฉบับนี้ หรือ หรือจะตีกลับมายังสภา เพื่อนำมาแก้ไขบางมาตรา หรือพิจารณาใหม่ 

ร่างสมรสเท่าเทียม แก้อะไรบ้าง

ในส่วนเนื้อหาข้างในพรบ. สมรสเท่าเทียม มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามนี้

  1. คำที่เปลี่ยนไป

ในบัญญัติกฎหมายจะมีหลายคำที่เปลี่ยนไป โดยจากการสมรสระหว่างชายและหญิง ก็จะเปลี่ยนเป็นการสมรสระหว่าง ‘บุคคล-บุคคล’ และจากการหมั้น ก็จะเปลี่ยนจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิง เป็น ‘ผู้หมั้น-ผู้รับหมั้น’ เพื่อให้คำศัพท์ในการเรียกครอบคลุมคนทุกเพศ

  1. อายุของการสมรสและการหมั้นหมาย

จากเดิมที่อายุขั้นต่ำของบุคคลที่สามารถสมรสหรือหมั้นหมายกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายในวัย 17 ปี ได้มีการปรับเปลี่ยนให้เป็น 18 ปี เพื่อให้อายุพ้นจากความเป็นเด็กและเป็นการคุ้มครองเด็กในอีกทางหนึ่ง ซึ่งประเด็นนี้ก็จะสอดคล้องกับอนุสัญญาและพันธสัญญาสากลที่ว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยที่ประเทศไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงเหล่านั้นด้วย

  1. สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว

ถึงกลุ่มคน LGBTQIA2S+ จะสามารถสมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวยังคงมีประเด็นอยู่ เพราะตอนนี้ในกฎหมายยังคงใช้คำว่า ‘บิดา-มารดา’ ซึ่งไม่ถือเป็นการครอบคลุมคนทุกกลุ่ม เพราะกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมีการนิยามอัตลักษณ์ตัวเองที่แตกต่างกันไป เช่น บางคู่อาจจะใช้คำว่า ‘พ่อ-พ่อ’ หรือ ‘แม่-แม่’ ซึ่งการใช้คำว่า ‘บุพการีลำดับแรก’ จะตอบโจทย์เรื่องการรับรองสถานะของคู่บุพการีและครอบคลุมมากกว่า ซึ่งต้องมีการแก้ไขต่อไป

  1. การเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่า 

นอกจากนี้ยังมีประเด็นอื่นที่น่าสนใจอย่าง การเพิ่มเหตุเรียกค่าทดแทนและเหตุฟ้องหย่าให้ครอบคลุมให้สอดคล้องกับลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเพศเดียวกัน

  • สินสอด 

เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายผู้หมั้นให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายผู้รับหมั้น แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่ผู้รับหมั้นยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ผู้รับหมั้นหรือโดยพฤติการณ์ ซึ่งฝ่ายผู้รับหมั้นต้องรับผิดชอบ ทำให้ผู้หมั้นไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับผู้รับหมั้น ฝ่ายผู้หมั้นเรียกสินสอดคืนได้  

  • สิทธิเรียกร้องค่าตอบแทน 

ให้มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้หมั้นหรือผู้รับหมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของผู้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เรียกค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ผู้อื่นนั้นได้กระทำการดังกล่าว 

  • การสมรสจะกระทำมิได้ ถ้าบุคคลหนึ่งเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ 
  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสภาพแห่งกายทำให้ไม่อาจร่วมประเวณี หรือไม่อาจกระทำการหรือยอมรับการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของอีกฝ่ายได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
  1. ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลังจากที่กฎหมายสมรสเท่าเทียมนี้ผ่าน ประเทศไทยจะเป็น “ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” และ ”ประเทศที่ 3 ในเอเชีย” ถัดจากไต้หวันและเนปาล ที่กลุ่ม LGBTQIA2S+ สามารถแต่งงานและสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมได้รับสิทธิเทียบเท่ากับคู่ชายหญิงทั่วไป อย่างการลดหย่อนภาษี สิทธิการรักษาพยาบาล รวมถึงการเซ็นยินยอมให้เข้าสู่การรักษาพยาบาล

แต่ถึงอย่างนั้น กฎหมายนี้ก็ยังมีช่องโหว่ คืออาจรับรองการแต่งงาน แต่ยังไม่รับรองเรื่องบุตรและการสร้างครอบครัวของ ซึ่งต้องติดตามการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมต่อไป เพื่อให้ทุกคน ทุกเพศ ได้รับสิทธิที่เท่าเทียม ที่มนุษย์ทั่วไปควรได้รับ

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่