fbpx
Search
Close this search box.

เรื่องการเงินง่าย ๆ ที่สอนลูกได้ตั้งแต่เด็ก

จากงานวิจัยในมหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison สรุปว่าเด็กในวัย 3 ขวบ จะเข้าใจแล้วว่าเงินเอาไว้ใช้แลกเปลี่ยนเป็นสิ่งของที่เราต้องการ และยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้สรุปไว้ว่า การสร้างนิสัยการบริหารเงินที่ดีได้ จะเสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อลูกอายุ 7 ขวบ จะเห็นได้ว่าในช่วงวัยอนุบาลถึงวัยประถม เป็นช่วงเวลาที่ดีมาก ในการเริ่มต้นปลูกฝังทัศนคติและสร้างนิสัยการเงินที่ดี สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ACU PAY ขอแนะนำ 5 ข้อเรื่องการเงินที่ควรสอนลูกได้ตั้งแต่เด็ก

เนื้อหา

1. ออมเงินให้เป็น

คุณพ่อคุณแม่อาจลองพูดคุยกับลูกถึงความสำคัญของการออม อย่างเป้าหมายการออมเงินระยะสั้น ระยะยาว และการออมเงินเผื่อสถาณการณ์ฉุกเฉิน โดยอาจยกตัวอย่างให้ ลูกลองตั้งเป้าหมายในการออมด้วยตัวเอง เช่น ออมเพื่อซื้อสิ่งของที่เขาต้องการ หรือออมระยะยาวไว้ใช้ตอนโตก็ได้ถ้าลูกอยากทำ 

ซึ่งสามารถเปิดบัญชีธนาคารให้ลูกออม หรืออาจจะเริ่มง่าย ๆ อย่างการออมเงินไว้ในกระปุก แนะนำให้เป็นกระปุกใสเพื่อลูกจะได้เห็นเงินออมที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน 

เพื่อแรงจูงใจสักนิด คุณพ่อคุณแม่อาจเสนอเงินพิเศษ หรือให้เงินเพิ่มภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ถ้าลูกสามารถหยอดกระปุกได้ทุกวันอย่างสม่ำเสมอ จนครบ 1 เดือน จะให้เงินเพิ่ม 20% ของเงินที่ออมไว้

2. ให้ลูกบริหารเงินของตัวเอง

การที่เด็ก ๆ จะรู้ว่าคุณค่าของเงินนั้นสำคัญขนาดไหน คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกรู้จักการบริหารเงินด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรให้ค่าขนมในจำนวนที่เห็นว่าครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละวัน และสามารถเหลือเก็บได้เล็กน้อย 

นอกจากนี้อาจลองให้ลูกบริหารงบประมาณแบบง่าย ๆ ด้วยการให้ลูกเป็นคนตัดสินใจซื้อของตามงบประมาณที่จำกัด เมื่อไปร้านสะดวกซื้อ คุณพ่อคุณแม่อาจจะให้โจทย์ลูกว่าต้องการซื้ออะไรบ้างในจำนวนเงินที่กำหนดและให้ลูกเป็นคนเลือก สินค้าเหล่านั้นให้อยู่ในงบประมาณเพื่อให้ลูกได้ฝึกการเปรียบเทียบสินค้าและตัดสินใจ

เมื่อเหลือเงินเก็บในแต่ละวัน ให้ช่วยลูกดูแลเงินที่เหลือ โดยอาจจะหยอดกระปุกและช่วยลูกจดบันทึกเงินออม

3. แยกให้ออกระหว่าง จำเป็น vs อยากได้

สอนให้เด็ก ๆ รู้ถึงความแตกต่างระหว่างความ “จำเป็น” กับ “อยากได้” ให้เริ่มต้นจากสำรวจที่มาของความต้องการ โดยอาจตั้งคำถามว่า “ทำไมลูกถึงอยากได้ของชิ้นนี้ ลูกเห็นเพื่อนใช้ หรือเห็นจากในอินเตอร์เน็ต” เมื่อลูกอยากได้ของที่ไม่จำเป็น ให้คุณพ่อคุณแม่สอนให้เด็กจัดลำดับคุณค่าสิ่งของต่าง ๆ และไม่ใช้เงินทั้งหมดที่มีไปกับสิ่งที่เป็นความต้องการ

ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นทักษะนี้จะช่วยให้พวกเขา สามารถบริหารเงินได้ดีขึ้น รู้จักการจัดลำดับความสำคัญ และไม่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย

4. ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม

การฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักอดทนรอคอย (delayed gratification) เมื่อโตขึ้น เขาจะมีภูมิต้านทานต่อสิ่งของล่อใจ เห็นแล้วต้องซื้อทันที โดนก่อนจะออกไปซื้อของให้ครอบครัวช่วยกันตั้งงบที่จ่าย ประมาณราคาและเปรียบเทียบ การใช้คูปองลดราคา และยังรวมถึงโปรโมชั่นพวก “ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง” ที่เป็นสาเหตุของการเป็นหนี้บัตรเครดิต สิ่งเหล่านี้จะปลูกฝังให้ลูกรู้จักการซื้อของอย่างคุ้มค่าและเคยชินกับการวางแผนก่อนออกไปซื้อของ

5. การแบ่งปันเป็นเรื่องสำคัญ

การฝึกให้เด็กแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้แบ่งปัน สอนให้เด็กรู้ว่าเงินของเขาสามารถนำไปช่วยให้ชีวิตของคนอื่นได้ดีขึ้น แทนที่จะแค่เอาไปซื้อของที่อยากได้ ซึ่งการแบ่งปันช่วยเหลือคนอื่นไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนมาก เพียงแค่เงินเล็กน้อยจากหลาย ๆ คนก็สร้างความเปลี่ยนแปลงได้

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่