fbpx
Search
Close this search box.

สรุปเหตุผลว่าทำไมต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย

          สืบเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ​เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 เพราะอะไรถึงต้องขึ้น และขึ้นเพื่ออะไร

สารบัญ

เหตุผลที่ กนง.ตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย

กนง.เผยเหตุผล 2 ประเด็นหลักคือ 

  1. ประเด็นทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลต่ออุปทานทั่วโลก ทั้งด้านราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ราคาสินค้าทางการเกษตรที่สูงขึ้นถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ได้นำเข้าจากรัสเซียและยูเครนโดยตรง แต่เมื่อราคาตลาดโลกปรับขึ้นราคาสินค้าเหล่านี้ก็จะปรับขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ส่งผลโดยตรงต่อราคาสินค้า และทำให้เกิดเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง
  2. ประเด็นทางเศรษฐกิจ หลังจากวิกฤต COVID-19 เริ่มคลี่คลาย สืบเนื่องจากในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 มีการอัดฉีดสภาพคล่อง ผ่านนโยบายต่างๆ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง เป็นต้น และยังใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำเพื่อลดต้นุทนทางการการเงินให้กับผู้ประกอบการ ดังนั้นเมื่อสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันจเงินเฟ้อก็มีความเสี่ยงที่จะปรับสูงขึ้น จึงเป็นเวลาที่เหมาะสมที่ กนง. จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

สหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยตั้งนานแล้ว ไทยขึ้นช้าไปหรือไม่

กนง.เผยว่า ไม่ได้ขึ้นช้าไปโดยให้เหตุผลคือ

  1. การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นและยังโตไม่ถึงระดับก่อนการระบาด ซึ่งแตกต่างจากสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวได้เร็วกว่า และดูเหมือนว่าจะฟื้นเร็ว และแรงจนเกินไปจนทำให้เกิดเงินเฟ้อทางจากความต้องการของผู้บริโภค จึงทำให้ต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าไทย
  2. เงินเฟ้อไทยเกิดจาก Cost push หรือทางด้านอุปสงค์ กนง.เผยว่า โดยตามธรรมชาติของปัจจัยด้านอุปทานนั้น ราคาสินค้า เช่น ราคาน้ำมันโลก มักจะปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวและคลี่คลายลงได้เอง อีกทั้งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ไม่สามารถช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อที่เกิดจากด้านอุปทานได้โดยตรงด้วย

 

ขึ้นดอกเบี้ยแบบไหนจึงจะส่งผลดีต่อไทยมากที่สุด

      กนง.ให้คำตอบว่า จะขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้การฟื้นตัวไม่สะดุดและเอื้อให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนสามารถปรับตัวได้ รวมถึงยังคงมีมาตรการทางการเงินรองรับกลุ่มลูกหนี้ที่ยังต้องการความช่วยเหลือหรือกลุ่มเปาะบาง

กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเหรือไม่

            กนง.เผยว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละแห่งไม่ได้มีรูปแบบกฎเกณฑ์ตายตัว แต่จะปรับให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศ ดังนั้น การปรับขึ้นดอกเบี้ยในระยะข้างหน้าของไทยควรต้องขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงินในประเทศเป็นหลัก โดยยังต้องติดตามปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ
  • การฟื้นตัวของรายได้แรงงาน
  • การจ้างงาน
  • การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า
  • คาดการณ์เงินเฟ้อ
  • รวมถึงความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจกระทบเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่