fbpx
Search
Close this search box.

ทำความรู้จัก ‘แลนด์บริดจ์’ สะพานเศรษฐกิจ พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย

แลนด์บริดจ์

ไม่นานมานี้ มีโครงการที่สร้างเสียงฮือฮาให้กับสังคม เพราะด้วยงบประมาณมหาศาลจำนวน 1 ล้านล้านบาท โครงการนั้นเรียกว่า แลนด์บริดจ์ (Land Bridge) หรือ สะพานเศรษฐกิจเชื่อมระหว่าง 2 ท่าเรือน้ำลึก ฝั่งอ่าวไทย และ ฝั่งอันดามัน ท่ามกลางเสียงคัดค้านในด้านผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ครั้งนี้ ACU PAY จะพามาเข้าใจถึงโครงการนี้ ว่ามีที่มาอย่างไร มีการดำเนินการถึงขั้นไหนแล้ว และมีผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง 

แลนด์บริดจ์ คืออะไร ?

แลนด์บริดจ์ คือ เส้นทางคมนาคม เช่น ถนน สะพาน ราง ที่อยู่บนบก โดยใช้เชื่อมทวีป สร้างเพื่อขนส่งสินค้าอุปโภค-บริโภค จากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งในต่างประเทศที่มีการสร้างแลนด์บริดจ์แล้ว อย่างเช่น ประเทศแคนาดา ที่สามารถย่นระยะเวลาขนส่งทางเรือระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิก ไปสู่ ยุโรป เร็วขึ้น โดยไม่ต้องไปอ้อมอเมริกาใต้

โครงการแลนด์บริดจ์ในประเทศไทยทำอะไรบ้าง ?

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ในประเทศไทย เป็นการสร้างสะพานเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมต่อระหว่าง 2 ท่าเรือน้ำลึกฝั่งอ่าวไทย และ อันดามัน เข้าด้วยกัน ระหว่าง จ.ชุมพร และ จ.ระนอง โดยมีแรงจูงใจสำคัญที่จะลดระยะเวลาขนส่งสินค้าทางเรือจากเส้นทางช่องแคบมะลากาจาก 9 วัน เหลือ 5 วัน 

เป็นทางเลือกการขอส่งสินค้าแบบถ่ายลำ (Transshipment) ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก โดยนำสินค้าจากเรือมาขึ้นรถบรรทุกหรือรถไฟแล้วขนไปลงเรือที่ท่าเรืออีกฝั่งหนึ่ง

และเกิดอุตสาหกรรมหลังท่า (Port Industry) ซึ่งจะมีการตั้งเขตเศรษฐกิจเสรีเพื่อดึงดูดนักลงทุนมาพัฒนาอุตสาหกรรมหลังท่าเรือ เกิดพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในภาคใต้ต่อไป

โดยแลนด์บริดจ์ ต้องสร้างการคมนาคม 4 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

  1. การพัฒนาท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่ง แหลมอ่าวอ่าง อันดามัน จ.ระนอง และ แหลมริ่ว อ่าวไทย จ.ชุมพร เป็นท่าเรือที่ทันสมัย Smart port ควบคุมด้วยระบบออโตเมชั่น  ความลึก 15 เมตร แบ่งการสร้างเป็น 4 เฟส เฟสแรก งบ 5 แสนล้าน เปิดประมูลปี  2568 คาดแล้วเสร็จปี 2573
  2. การพัฒนาทางหลวงมอเตอร์เวย์ 6 เลน เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร ระยะทาง 90 กม.
  3. การพัฒนารถไฟทางคู่สายใหม่เชื่อมระหว่าง จ.ระนอง และ จ.ชุมพร
  4. สร้างการขนส่งแบบ Pipeline หรือการขนส่งโดยใช้ระบบท่อ

ทำไมประเทศไทยต้องมีแลนด์บริดจ์ ?

  • ช่วยลดระยะเวลาขนส่งสินค้าทางเรือ จากประเทศแถบตะวันออกไทย ไป เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรป ได้ถึง 2วันครึ่ง จากเดิมผ่านช่องแคบมะละกา  9 วัน เหลือ 5 วัน  
  • ลดความแออัดของจราจร ผ่านช่องแคบมะละกา ที่คาดว่าปี 2467 จะมีปริมาณเรือเต็มศักยภาพจะรับไหว  
  • อยู่ในแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ อาจช่วยเพิ่ม GDP ภาคใต้ได้ จาก 2% เป็น 10% ต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี

ข้อกังวลเกี่ยวกับการสร้างแลนด์บริดจ์

มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย แลนด์บริดจ์ สร้างความไม่สบายใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น

  1. ผลกระทบทางธรรมชาติ      เรือขนส่งเทียบท่าอาจทำให้น้ำทะเลเสียจากคราบน้ำมัน หรือ เกิดน้ำมันรั่วไหล ทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรม
  2. กระทบวิถีชีวิตชาวประมงชาวบ้าน        เมื่อสัตว์น้ำไม่เหมือนเดิม อีกทั้งยังมีมลภาวะจากฝุ่น เสียง และแสงไฟที่เปิดจ้าเกือบตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้กระทบสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์ และคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงท่าเรือ และอยู่ใกล้ในแนวกันชนกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ทาง ก.ทส. เสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางธรรมชาติอยู่
  3. ผลกระทบเรื่องที่อยู่อาศัย เนื่องจากโครงการนี้ อาจต้องมีการเวนคืนที่ดินจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

แลนด์บริดจ์ ดำเนินการก่อสร้างแล้วหรือยัง?

       ตอนนี้รัฐบาลกำลังเสนอเข้า ครม. โดยอยู่ระหว่างหาทุนโรดโชว์นำเสนอ นักลงทุนต่างชาติ คาดใช้งบลงทุนกว่า 1 ล้านล้านบาท และขณะนี้ที่ประชุมครม.ได้อนุมัติทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ สุดท้ายแล้วโครงการนี้จะเป็นอย่างไรต่อ ต้องติดตามต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่