fbpx
Search
Close this search box.

4 วิธีจัดการเงิน เพื่อชาว Gen Z

ในยุคที่มีโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากมาย ทำให้ถูกกระตุ้นการบริโภคใช้จ่ายตลอดเวลา โดยเฉพาะชาว Gen Z ที่เพิ่มเริ่มทำงานได้เงินเดือน คงจะมีข้อสงสัยว่าเราจะจัดการเงินได้อย่างไร หรือจะเริ่มสร้างความมั่นคงได้หรือไม่ วันนี้เรามีสาระดีๆ มาฝากชาว Gen Z กัน

คน Gen Z คือ?

Gen Z คือ วัยที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ (First Jobber) เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2555

ข้อได้เปรียบ

ชาว Gen Z เป็นกล่มคนที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้ว มีความรวดเร็วฉับไว ใช้ Search Engine ค้นคว้าข้อมูลอย่างรวดเร็ว  ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน มีโซเชียลมีเดียพร้อม LINE, IG, Tiktok, Twitter, Facebook เป็นต้น และที่สำคัญ เป็นกลุ่มหลักที่กำหนด Google Trend หรือแฮชแท็กเทรนด์ทวิตเตอร์ และใช้เวลาในแต่ละวันอยู่บนโลกออนไลน์สูง

ความท้าทายเรื่องเงินสำหรับชาว Gen Z

Gen Z มีข้อได้เปรียบ คือ ทักษะความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย และมีความว่องไวในการค้นหาข้อมูลข่าวสารอย่างที่คนเจนอื่นตามไม่ทัน แต่ในเชิงการเงินส่วนบุคคลแล้ว เจน Z ต้องพบกับความท้าทายอย่างมาก เพราะถูกกระตุ้นการบริโภคอยู่ตลอดเวลาจากสารพัดโซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ถึงกับมีคำกล่าวว่า แค่นอนอยู่บนเตียงก็ใช้เงินเดือนหมดได้

นอกจากนี้ เจน Z ในวัยเริ่มทำงานก็พบกับการแข่งขันสูง งานเริ่มหายาก โอกาสที่เปิดกว้างแบบเติบโตไปตลอดชีวิต มีน้อยกว่ายุครัฐวิสาหกิจหรือยุคบริษัทเอกชนไทยขนาดใหญ่ ที่เคยเป็นโอกาสของรุ่นพี่เจนก่อนหน้า โลกที่เปลี่ยนแปลงไวทำให้อาชีพการงานมีความไม่แน่นอนสูง ความรู้ล้าสมัยเร็ว จึงต้องวางแผนการเงินไว้แต่เนิ่น ๆ และที่สำคัญคือ เจน Z มักจะมีพี่น้องน้อย หลายคนเป็นลูกคนเดียว หลายคนอาจจะเลือกไม่แต่งงาน และถึงแม้ว่าแต่งงานก็อาจจะเลือกที่จะมีลูกน้อยหรือไม่มีลูกเลยก็ได้ ดังนั้นจำเป็นต้อพึ่งพาตนเองให้ได้ เมื่อเข้าสู่วัยชรา

เคล็ดลับจัดการเรื่องเงิน

  • ออมเงินได้ ท่องเอาไว้ “ออมก่อนจ่ายเสมอ” อย่างน้อย 10 % หรือถ้าบางคนที่มีภาระเยอะก็ออมเท่าที่ออมได้ ออมเยอะออมน้อยก็ถือว่าออม โดยเป็นการสร้าง Mindset ว่าเราต้องออมเงินให้ได้ก่อน เมื่อวันนี้เรามีรายได้สูงขึ้น ภาระต่างๆเริ่มลดลง เราก็สามารถออมเงินได้มากขึ้น 
  • ใช้เงินเป็น ตามที่บอกไว้ข้างต้น ในยุคที่แพลตฟอร์มมากมายกระตุ้นใช้จ่าย เรายิ่งต้องมีสติในการใช้เงิน ต้องแยกให้ออกว่าสิ่งไหน “จำเป็นต้องมี” หรือ “มีก็ได้ ไม่มีก็ได้” หรือ “ไม่จำเป็นต้องมี” 
  • หาเงินเก่ง คนที่มีอาชีพเฉพาะทาง อาจต่อยอดเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นโดยตรง เช่นแพทย์ นักกฎหมาย วิศวกร ไปสู่เงินเดือนเพิ่มขึ้น ค่าวิชาชีพเพิ่มขึ้น ค่าที่ปรึกษาเพิ่ม เป็นต้น หรืออาจจะเป็นการเสริมสร้างทักษะด้านการบริหารเพื่อเพิ่มโอกาสก้าวหน้าในอาชีพการงานในองค์กรที่ทำงานอยู่ หรือ อาจ “สร้างรายได้หลายทาง” ข้อดีคือได้ทักษะเพิ่มเติมจากอาชีพรอง เพราะในอนาคตอาจต่อยอดอาชีพหลักที่เรากำลังทำอยู่ก็เป็นได้
  • ลงทุนเพิ่ม ในวัยที่เริ่มหาเงินหางานใหม่ มีคำถามว่าจะลงทุนอะไรดีให้เงินงอกเงย เริ่มจากลงทุน “สินทรัพย์เพื่อใช้ในการทำงาน” เช่นรถยนต์ แต่ต้องคำนึงว่าใช้เพื่อทำงานจริงๆ เพราะถ้าไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น ก็ไม่ต้องซื้อก็ได้ เพราะมีค่าบำรุงรักษาตามมามากมาย                                                                                                                                              หรือจะเป็นการลงทุนใน “สินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้” ได้แก่ เงินฝากประจำ หุ้น กองทุน พันธบัตร แต่ ควรศึกษาข้อมูลและมีข้อควรระวังให้มาก เพราะถ้าสิ่งใดที่ได้ผลตอบแทนมาก ก็ยิ่งเสี่ยงมาก คน Gen Z ต้องใจเย็นๆ เพราะเรายังอายุน้อยสามารถอยู่ในตลาดหุ้นอีกนาน โดยอาจเริ่มจากหุ้นที่มูลค่าน้อยๆ ลองสนามดูก่อน แล้วค่อยๆต่อยอดไปเรื่อยๆ ไม่แน่อาจเป็นช่องทางการหารายได้ที่มั่นคงหลักในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่