รู้ไหมว่า ในประเทศออสเตรเลีย มีเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งตั้งอยู่ ท่ามกลางทะเลทราย จนแทบจะเหมือนกับอยู่บนดาวอังคารเลยด้วยซ้ำ ด้วยลักษณะภูมิประเทศแบบนี้ ทำให้ที่นี่มีสภาพอากาศที่ร้อนจัดในฤดูร้อนและหนาวจัดในฤดูหนาว ผู้คนในเมืองนี้กว่า 60% จึงเลือกที่จะอาศัยอยู่ใต้ดินแทนพื้นที่บนดินเพื่อหลีกหนีจากสภาพอากาศที่คาดการณ์ไม่ได้ จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันโด่งดังไปทั่วโลก ซึ่งเมืองแห่งนี้มีชื่อว่า ‘คูเบอร์ เพดี’ (Coober Pedy)
คูเบอร์ เพดี เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่อยู่ทางตอนเหนือของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ห่างจากเมืองแอดิเลดไปทางเหนือประมาณ 750 กิโลเมตร เมืองแห่งนี้ ถูกขนานนามว่าเป็น “เมืองหลวงแห่งโอปอลของโลก” เพราะที่นี่เป็นแหล่งคลังสมบัติของแร่โอปอลจำนวนมหาศาล จนเกิดการทำเหมืองแร่ขึ้น และผู้คนมากมายก็พากันทยอยอพยพเข้ามาอยู่ที่นี่กว่า 2,500 คน แต่ทว่าสภาพบนดินค่อนข้างโหดอยู่เหมือนกัน เพราะทั้งแห้งแล้งและร้อนมาก โดยเฉพาะในฤดูร้อนที่อุณหภูมิสูงทะลุ 50 องศาเซลเซียส แถมท้องฟ้าไม่มีเมฆเลย ทำให้ผู้คนต้องสร้างที่อยู่อาศัยกันใต้ดิน หรือขุดลึกเข้าไปใต้เนินเขา โดยมีทั้งบ้านเรือน ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย สปา โรงแรม หรือแม้กระทั่งโบสถ์
พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่ของชาวอะบอริจินอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาก่อนแล้ว ครั้งหนึ่ง คูเบอร์ เพดี เคยอยู่ใต้มหาสมุทรมาก่อนซึ่งทำให้ที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งของโอปอลที่มีสีสันสวยงามมากมาย จากนั้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลง ในปี 1916 ได้มีการค้นพบเหมืองโอปอลขึ้น ทำให้ทหารหลายคนผันตัวเป็นคนงานเหมืองขุดโอปอลอัญมณีอันล้ำค่า
ในช่วงแรกเมือง คูเบอร์ เพดี ถูกตั้งชื่อว่า สจ๊วต เรนจ์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับนักสำรวจชาวสก็อตคนแรกที่ทำการสำรวจพื้นที่นี้เมื่อปี 1858 กระทั่งปี 1920 สถานที่นี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คูเบอร์ เพดี คำศัพท์ของชาวอะบอริจิน ซึ่งมีความหมายว่า ‘ชาวผิวขาวในหลุม’
จากนั้น คูเบอร์ เพดี กลายเป็นแหล่งจัดจำหน่ายอัญมณีรายใหญ่ที่สุดในโลก จนกระทั่งธุรกิจเริ่มไม่รุ่งเรื่องเหมือนแต่ก่อน ชาวบ้านจึงเปลี่ยน คูเบอร์ เพดี ให้เป็นโพรงที่อยู่แบบถาวรแทน
แน่นอนว่าบรรยากาศบนดินของที่นี่ดูเหมือนเมืองทั่วไป ที่ดูค่อนข้างเงียบเหงาคนไม่ค่อยอยู่กัน แต่ถ้าลงไปด้านล่าง ที่นี่คือเมืองแบบปกติทั่วไป ซึ่งเมืองแห่งนี้สร้างขึ้นใต้ดินลึกต่ำสุด 4 เมตร เพื่อป้องกันหินถล่ม ด้วยความที่ใต้ดินเป็นชั้นหิน ทำให้ที่นี่อุณหภูมิคงที่ 23 องศา กลับกันอากาศข้างบนที่ผู้คนทั่วไปอาศัย พวกเขาจะต้องเผชิญกับหน้าร้อนสุดระอุที่ 50 องศา และหน้าหนาวแสนเย็นยะเยือกที่ดิ่งลงถึง 2-3 องศา เมืองใต้ดินจึงกลายเป็นบ้านที่มีอุณหภูมิเย็นสบายตลอด 24 ชั่วโมงและตลอดทั้งปี
อีกหนึ่งข้อดีของการอยู่ใต้ดินคือ ไม่ต้องเสียค่าไฟ เพราะเมืองนี้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เองจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ แถมค่าที่พักในเมืองใต้ดินก็ถูกมาก ราคาประมูลบ้าน 3 ห้องนอน อยู่ที่ 40,000 ออสเตรเลียดอลลาร์ หรือ 900,000 บาท ในขณะที่ราคาบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่ที่ 700,000 ออสเตรเลียดอลลาร์ หรือ 16,000,000 บาท
ซึ่งบ้านใต้ดินที่นี่ก็มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันทุกอย่างที่บ้านทั่วไปเขามีกัน ทั้งอินเทอร์เน็ต เคเบิล ไฟฟ้า และน้ำ แต่สิ่งที่ต่างไปคือไม่ต้องเปิดแอร์ ฮีทเตอร์ ไม่มีแสงแดด แถมที่นี่ยังไม่มีแมลงให้กวนใจสักตัวอีกด้วย
ปัจจุบันคูเบอร์ เพดี เป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่น่าสนใจของออสเตรเลีย โดยมีโมเต็ลหลายแห่งเปิดรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสประสบการณ์ มาลองพักผ่อนในเมืองใต้ดินแห่งนี้กันสักครั้ง
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |