fbpx
Search
Close this search box.

ไทยติดอันดับ 3 ของโลกในการจ่ายเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ รองจาก อินเดีย และจีน

           เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจของ เอซีไอ เวิลด์ไวด์ (ACI Worldwide) ภายใต้ความร่วมมือกับโกลบอลดาต้า (GlobalData) ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลระดับโลก และศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจและธุรกิจ (Centre for Economics and Business Research – CEBR) 

ไทยติดอันดับ 3 ของโลกในการจ่ายเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ รองจาก อินเดีย และจีน

            การชำระเงินแบบเรียลไทม์ คือ การโอนและรับเงินได้ทันที สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่ได้รวมถึง Digital Payment เช่น บัตรเครดิต เป็นต้น

ประเทศไทยติดอันดับ 3 ของโลกในการชำระเงินเรียลไทม์

          โดยในปี 2564 ประเทศไทยมียอดการทำธุรกรรมการชำเงินแบบเรียลไทม์อันดับ 3 ของโลก คิดเป็นจำนวน 9.7 พันล้านครั้ง และอันดับหนึ่งที่มียอดการทำธุรกรรมมากที่สุดถึง 48.6 พันล้านครั้ง คือประเทศอินเดีย รองลงมาเป็นประเทศจีนจำนวน 18.5 พันล้านครั้ง 

         การชำระเงินแบบเรียลไทม์นี้ช่วยเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจคิดเป็น 2.08% ของGDP ซึ่งอยู่ในอันดับ 2 จาก 30 ประเทศ ทำให้ประเทศไทยมีการชำระเงินแบบเรียลไทม์เติบโตอย่างต่อเนื่องและเป็นที่นิยมมากในผู้ประกอบการทุกขนาดและผู้บริโภคทุกวัย

โครงการการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

         ทั้งนี้โครงสร้างการชำระเงินยังเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานโลกจากการที่ได้มีการเผยแพร่นโยบายการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2558 ผ่านโครงการดังนี้

  1. โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  2. โครงการพร้อมเพย์ และ QR Payment
  3. 3. Government Wallet (G-Wallet) ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตัง ในโครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ชิมช้อปใช้ การขายสลากดิจิทัล เป็นต้น

เปรียบจำนวนครั้งต่อประชากรต่อปี

          ซึ่งถ้าหากเทียบเปรียบจำนวนครั้งต่อประชากร จะได้ดังนี้ ประเทศไทย 139 ครั้งต่อคนต่อปี  อินเดีย 34 ครั้งต่อคนต่อปี และ จีน 13 ครั้งต่อคนต่อปี เราจะสังเกตได้ว่ามีจำนวนการทำธุรกรรมต่อคนต่อปีนั้น ไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่ เราลองตั้งข้อสังเกตกันครับว่าเพราะอะไร

อินเดีย

          ประเทศอินเดียมีจำนวนประชากรประมาณ 1.4 พันล้านคน มีขนาดประเทศ 3,287,263 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่มากๆ ทั้งในด้านประชากร และพื้นที่  ซึ่งตัวเลขจำนวนครั้งเมื่อเทียบกับการใช้งานต่อคนไม่สมเหตุสมผลอาจเกิดจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประเทศอินเดีย datareportal เผยว่าประเทศอินเดียสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากถึง 658 ล้านคน คิดเป็น 47% คือไม่ถึงครึ่งหนึ่งของประชากรในประเทศด้วยซ้ำ และเท่าไหร่ และถึงแม้ว่ามีอินเทอร์เน็ต แต่บางคนก็อาจจะไม่ได้ใช้จ่ายผ่านอิเล็กทรอนิกส์ และอินเดียเองเป็นประเทศที่ค่อนข้างที่มีความเลื่อมล้ำสูงเป็นดับต้นๆด้วย แต่ถ้าหากมองในโอกาสการเติบโตสามารถที่จะเติบโตได้สูงเพราะยังมีคนอีกมาก ที่ยังไม่เข้าถึงบริการเหล่านี้มากกว่า50%ของคนทั้งประเทศ

จีน

           ประเทศจีนมีจำนวนประชากรประมาณ 1.45 พันล้านคน มีขนาดประเทศ 9,640,011 ตารางกิโลเมตร ซึงใหญ่กว่าอินเดียประมาณ 3 เท่า ซึ่งถ้าหากเรามองในมุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประเทศจีน datareportal เผยว่าประเทศจีนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากถึง 1.02 พันล้านคน คิดเป็น 70.9% การที่จำนวนครั้งการใช้งานต่อคนต่อปีนั้นไม่สมเหตุสมผลอาจไปไปได้ว่า ด้วยระบบเน็ตเวิร์กของจีนที่ค่อนข้างเป็นระบบปิด ดังนั้นตัวเลขที่เปิดมาอาจจะเป็นตัวเลขที่ไม่ใช่จำนวนครั้งในการใช้จ่ายภายในประเทศทั้งหมด จึงอาจทำให้ได้ข้อมูลในส่วนนี้ไม่สมเหตุลสมผลเท่าที่ควร

ไทย

          ประเทศไทยมีจำนวนประชากรประมาณ 70 ล้านคน มีขนาดประเทศ 513,120 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับทั้ง 2 ประเทศ ประเทศไทยมีขนาดเล็กกว่า ทั้ง 2 ประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งอาจจะไปได้ว่าด้วยจำนวนประชากร และขนาดของประเทศมีผลเป็นอย่างมากต่อการเข้าถึง ซึ่งถ้าหากเรามองในมุมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย datareportal เผยว่าประเทศไทยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากถึง 54.50 ล้านคน คิดเป็น 77% เลยทีเดียว และด้วยโครงการของรัฐเองที่อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาทำให้คนส่วนใหญ่ในประเทศเลือกใช้จ่ายผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเป็นหลังจากไม่มีโครงการของรัฐ การใช้จ่ายผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์จะยังสูงเหมือนเดิมอยู่หรือไม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่