fbpx
Search
Close this search box.

“Recession” หรือ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” คืออะไร

หลายๆ บริษัทปลดพนักงานเพราะเหตุนี้หรือไม่

“Recession” หรือ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” คืออะไร ​
สารบัญ

      ในอนาคตภายใน 1-2 ปีนี้ผู้เชียวชาญหลายๆ ท่านคาดการณ์ว่าโลกจะเข้าสู่ภาวะ “Recession” หรือที่เรียกว่า “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” อย่างไรก็ตามแน่นอนว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกของโลกที่เกิดภาวะเช่นนี้ แต่ครั้งนี้ต่างออกไปอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่เกิดย่อมมีเหตุการณ์เพียงเหตุการณ์มากระทบกับเศรษฐกิจ แต่ครั้งนี้มีทั้งโรคระบาด เงินเฟ้อ สงคราม วิกฤตพลังงาน และ Supply chain ต่างๆ ที่อาจจะส่งผลให้เกิด Recession ที่หนักหน่วงกว่าที่เราเคยเจอมา

“Recession” หรือ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” คืออะไร

          “Recession” หรือ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” คือ การที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หรือ GDP รายไตรมาส หรือ 3 เดือน หดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส หรือ 6 เดือนติด หากย้อนไปครั้งล่าสุดที่เกิดวิกฤตทางการเงินของโลกคือประมาณ ปี 2007  สหรัฐฯ เจอ Recession มากว่า 1 ปี GDP ลดไปกว่า 6% ที่เรียกว่า วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ (Hamburger Crisis) เริ่มเกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาและส่งผลกระทบต่อเนื่องไปทั่วโลก

จุดสังเกตุ สัญญาณหลักๆ ที่ทำให้เกิด “Recession” หรือ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย”

  1. การเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากต้องการสกัดกั้นเงินเฟ้อที่สูง เพื่อให้สภาวะเศรษฐกิจกลับสู่ปกติโดยเร็วที่สุด ทำให้เกิดการชะงักของเศรษฐกิจ เพื่อลดปริมาณความต้องการ หรือที่เรียกว่า “Demand pull”
  2. อัตราผลตอบเแทนของพันธบัตรรัฐบาล อัตราผลตอบเแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือ bond yield ที่วัดว่าเศรษฐกิจนั้นๆ จะเป็นอย่างไรในอนาคต ก็คือ หากอัตราผลตอบเแทนในระยะยาว 10 ปี 20 ปี มีผลตอบแทนที่ดีมากกว่าระยะสั้น จะเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งว่าเศรษฐกิจในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ดี แต่ถ้าหากอัตราผลตอบเแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว หรือที่เรียกว่า Inverted yield curve เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่จะทำให้เกิด Recession ภายใน 12 – 24 เดือนข้างหน้า
  3. อีกหนึ่งสัญญาณคือการเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสงครามการค้า หรือสงครามสู้รบ ก็ตามย่อมส่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ในปี 2022 นี้เองก็เช่นกัน ได้เกิดสงครามยูเครน – รัสเซีย ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์และมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อไปอีกเรื่อยๆ และรัสเซียเองเป็นประเทศที่ผลิตพลังงานน้ำมัน และปุ๋ยทางการเกษตรที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้นการที่คว่ำบาตรรัสเซียยิ่งทำให้ปัญหาเหล่านี้วนไปอย่างไม่รู้จบ เพราะการที่พลังงาน และปุ๋ยแพงจะส่งผลต่อราคาสินค้าโดยตรง และส่งผลต่อเงินเฟ้อ และจะทำให้เกิดการเร่งการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกั้นเงินเฟ้อ ส่งผลโดยตรงต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั้งระยะสั้นและระยะยาว จนอาจจะทำให้เกิด Inverted yield curve และทำให้ปัญหาเหล่านี้มูฟออนเป็นวงกลม

หลายๆ บริษัทปลดพนักงานเพราะเหตุนี้หรือไม่

          หากเราสังเกตว่ากลุ่มบริษัทที่ปลดพนักงาน จะเป็นบริษัทที่มีอัตราการเติบโตสูง แต่ไม่มีกำไร หมายความว่า การที่เติบโตจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น พอมาดูบรรทัดสุดท้าย หรือกำไรสุทธิกลับติดลบ ไม่เห็นแม้แต่กำไร เพราะต้องใช้งบประมาณในการสร้างหรือมีต้นทุนการเติบโตที่สูง ดังนั้น ในยามที่เกิดวิกฤติหรือ เกิดภาวะทางการเงินที่ส่งผลเสียผลคนจำนวนมาก และการจะทำให้บริษัทไปต่อได้ หรือเติบโต หรือมีกำไร คือต้องเพิ่มรายได้ หรือลดรายจ่าย และเพื่อเพิ่ม “สภาพคล่อง” และด้วยความที่อยู่ในช่วงที่มีภาวะด้านลบทางเศรษฐกิจรายได้ของคนทั่วโลกย่อมลดลง กำลังซื้อย่อมหายไป ดังนั้นการจะเพิ่มรายได้คงเป็นไปได้ยาก การหันมาลดรายจ่าย จึงเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จำเป็นต้องเลือกสำหรับริษัทที่เติบโตสูง แต่ยังไม่เห็นกำไร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ

          ดังนั้น หากเราถามว่าเกี่ยวอย่างไรกับ Recession หรือไม่ คาดการณ์ว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ Recession เท่านั้น เพราะการที่ปลดพนักงานยอมหมายความว่า บริษัทต้องการลดค่าใช้จ่าย จากรายได้ที่ลดลง ส่งผลโดยตรงต่อรายได้ และด้วยวิกฤตเงินเฟ้อ ของแพง สงครามอยู่แล้วนั้น ก็อาจจะส่งผลกระทบไปเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

         อย่างไรก็ตามการศึกษา และคาดการณ์วิกฤตต่างๆที่เคยเกิดขึ้น หรือกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต จะทำให้เราเห็นสัญญาณ และปัญหา เพื่อที่เราจะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาเตรียมตัวรับมือกับภาวะ “Recession” หรือ “ภาวะเศรษฐกิจต่างๆ”ที่จะเกิดขึ้น เพื่อใช้ช่วงเวลาเหล่านั้นหาโอกาสที่จะทำให้เรากลับมาได้ และไปไกลกว่าเดิม หากเราย้อนกลับไปดูการเติบโตของโลก ทุกครั้งที่มีวิกฤตจะตามมาด้วยการเติบโต หลายเท่าตัวในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่