fbpx
Search
Close this search box.

e-Payment คืออะไร?
มูลค่าการใช้จ่ายในประเทศไทยเท่าไหร่?

       ในโลกที่ทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้เราทำงานได้สะดวก รวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น อีกหนึ่งอุตสากรรมที่ได้รับผลกระทบในเชิงบวก และเป็นผลดีต่อผู้ใช้งานหลายๆคนคืออุตสาหกรรมการเงินที่มีระบบการชำระเงินแบบ e-Payment เกิดขึ้นมา ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกัน เรามาดูกันว่า 5 ปีที่ผ่านมาทั้งก่อน และหลังโควิด มูลค่าการใช้จ่ายในในประเทศไทยเท่าไหร่ แล้วเป็นยังไงบ้าง

e-Payment คืออะไร?

           กระบวนการชำระเงินระหว่างผู้จ่าย/ผู้โอนเงินไปยังผู้รับเงินที่เกิดขึ้นผ่านผู้ให้บริการระบบชำระเงินe-Payment ของสถาบันการเงิน และที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การใช้จ่ายผ่าน e-Wallet ที่อยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน หรือบัตรเครดิต บัตรเดบิต ต่างๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมทางการเงิน และมีบริการมากมาย

มูลค่าการใช้จ่าย e-Payment ในประเทศไทยเท่าไหร่?

        ก่อนเราจะไปดูมูลค่าการใช้จ่ายของ e-Payment เรามารู้จักกับบริการต่างๆที่อยู่ในระบบการชำระเงินแบบ e-Payment ก่อนนะครับ

  • BAHTNET 3rd Party หมายถึง รายการโอนเงินเพื่อลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าสถาบันและบุคคลที่มีถิ่นฐานในประเทศ (Resident) และนอกประเทศ (Non-resident) รวมถึงรายการโอนเงินระหว่างสถาบันที่ทำเพื่อลูกค้าที่มีถิ่นฐานในประเทศ และนอกประเทศ
  • Direct Credit หมายถึง รายการที่มีข้อตกลงล่วงหน้าในการโอนเงินจากบัญชีของผู้จ่ายเงินไปเข้าบัญชีของผู้รับเงิน เช่น การจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เป็นต้น
  • Direct Debit หมายถึง รายการที่มีข้อตกลงล่วงหน้าให้หักบัญชีของผู้จ่ายเงินตามคำสั่งของผู้รับเงินสำหรับค่าใช้จ่ายประจำต่าง ๆ เช่น ค่าไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น
  • ITMX Bulk Payment หมายถึง ระบบที่ให้บริการชำระเงินรายย่อยระหว่างลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากอยู่ต่างธนาคารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้บริการโดยบริษัท เนชั่นแนลไอทีเอ็มเอ๊กช์
  • การโอนเงินรายย่อยข้ามธนาคาร (Online Retail Funds Transfer: ORFT) หมายถึง การโอนเงินรายย่อยทีละรายการไปยังธนาคารอื่นแบบออนไลน์ ผ่านเครื่อง ATM, Internet, Mobile หรือ เคาน์เตอร์ธนาคาร
  • การโอนเงินภายในธนาคาร (In-house Funds Transfer) หมายถึง การโอนเงินรายย่อยทีละรายการภายในธนาคารเดียวกันผ่านเครื่อง ATM, Internet, Mobile หรือโทรศัพท์พื้นฐาน
  • Debit card หมายถึง บัตรที่ใช้เบิกเงินสดจากเครื่อง ATM หรือซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ติดตั้งเครื่อง EFTPOS (Electronic Funds Transfer at point of sale) โดยการหักยอดเงินดังกล่าวจากบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรและโอนไปยังบัญชีเงินฝากของร้านค้าผู้รับบัตรทันที
  • Credit card หมายถึง บัตรที่ผู้ถือบัตรได้รับวงเงินสินเชื่อจำนวนหนึ่งจากธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ หรือถอนเงินสด โดยธนาคารจะหักเงินหรือให้ชำระเงินสินเชื่อ ดังกล่าว ณ สิ้นคาบเวลาที่กำหนดไว้ ยอดเงินค้างชำระจะถูกคิดดอกเบี้ย
  • เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) หมายถึง  มูลค่าเงินที่ถูกบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์(เช่น ชิปคอมพิวเตอร์ในบัตรแทนเงินสดหรือบัตรพลาสติก เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต )ซึ่งผู้ใช้งานได้ชำระหรือเติมเงินไว้ล่วงหน้า หรือหักผ่านบัญชีธนาคารโดยตรง (Pre-paid) แก่ผู้ให้บริการ e-Money หรือ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ e-Wallet ซึ่งสามารถใช้ชำระสินค้า หรือบริการได้ตามที่ร้านค้าที่รับชำระ

มูลค่าและปริมาณรวมการใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินแบบ
e-Payment ปี 2017 - 2021

         จากข้อมูลข้างต้นทั้งมูลค่า และปริมาณรายการจากการชำระเงินผ่าน e-Payment มีมูลค่าการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนช่วงโควิด 19 มูลค่าที่ค่อนข้างคงที่ แต่จุดที่น่าสังเกตคือ ปริมาณการชำระเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดหลังจากช่วงโควิด 19 ไม่สอดคล้องกับมูลค่าการชำระเงิน อาจจะเพราะพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนในประเทศไทยหันมาใช้ e-Payment บ่อยขึ้นหรือไม่

บริการด้านใดบ้างที่ทำให้การชำระเงินแบบ e-Payment เพิ่มสูงขึ้น

อันดับที่ 1 คือ BAHTNET 3rd Party

          หมายถึง รายการโอนเงินเพื่อลูกค้า ทั้งที่เป็นลูกค้าสถาบันและบุคคลที่มีถิ่นฐานในประเทศ (Resident) และนอกประเทศ (Non-resident) รวมถึงรายการโอนเงินระหว่างสถาบันที่ทำเพื่อลูกค้าที่มีถิ่นฐานในประเทศ และนอกประเทศเป็นระบบงานที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม ซึ่งรองรับการโอนเงินมูลค่าสูง โดยไม่จำกัดจำนวนเงินสูงสุดที่โอนได้

 

2021

2020

2019

2018

2017

มูลค่าการโอนเงินเพื่อลูกค้าผ่าน BAHTNET (BAHTNET- 3rd Party)

333,931

342,639

318,933

295,248

270,983

ปริมาณการโอนเงินเพื่อลูกค้าผ่าน BAHTNET (BAHTNET- 3rd Party)

4,563

4,504

4,456

4,258

4,028

          จากข้อมูล BAHTNET 3rd Party เป็นบริการโอนเงินที่มีมูลค่าสูงในการโอนแต่ละครั้ง 

อันดับที่ 2 คือการโอนเงินของรายย่อย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • การโอนเงินภายในธนาคาร (In-house Funds Transfer) หมายถึง การโอนเงินรายย่อยทีละรายการภายในธนาคารเดียวกันผ่านเครื่อง ATM, Internet, Mobile หรือโทรศัพท์พื้นฐาน
 20212020201920182017

มูลค่าการโอนเงินภายในธนาคาร (รวมชำระค่าสินค้าบริการ)

54,97744,92041,65939,73434,849
  การโอนเงิน/ชำระเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม6037081,1062,0092,561
  การโอนเงิน/ชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่54,37444,21240,55337,72532,288

ปริมาณการโอนเงินภายในธนาคาร (รวมชำระค่าสินค้าบริการ)

6,880,2164,662,0413,176,8672,236,7391,445,217
  การโอนเงิน/ชำระเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม58,93371,226108,769181,108255,051
  การโอนเงิน/ชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่6,821,2834,590,8153,068,0982,055,6311,190,166
  • ข้ามธนาคาร (Online Retail Funds Transfer: ORFT) หมายถึง การโอนเงินรายย่อยทีละรายการไปยังธนาคารอื่นแบบออนไลน์ ผ่านเครื่อง ATM, Internet, Mobile หรือ เคาน์เตอร์ธนาคาร
 

2021

2020

2019

2018

2017

มูลค่าการโอนเงินรายย่อยข้ามธนาคาร

(Online Retail Funds Transfer: ORFT)

32,133

20,712

13,394

6,873

3,034

  การโอนเงินรายย่อยข้ามธนาคารผ่านเครื่องเอทีเอ็ม

246

294

413

611

789

  การโอนเงินรายย่อยข้ามธนาคาร

ผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่

31,799

20,319

12,856

6,117

2,074

  การโอนเงินรายย่อยข้ามธนาคารผ่านสาขา

88

99

125

145

171

 20212020201920182017
ปริมาณการชำระเงินด้วยบัตรพลาสติก (Payment cards)902,009817,348815,622696,105599,030
  บัตรเดบิต216,381181,107166,821154,581108,659
  บัตรเครดิต685,628636,241648,801541,524490,371

         จากข้อมูลเราจะสังเกตได้ถึงปริมาณการโอนเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ ทั้งภายในธนาคาร และข้ามธนาคารเองก็ตาม สะท้อนให้เห็นถึงความถี่ในการเงินแบบ e-Payment ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากและตอกย้ำข้อมูลมูลค่าการชำระเงินผ่าน e-Payment ที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่สอดคล้องกันกับปริมาณการโอน

อันดับที่ 3 คือการโอนเงินครั้งละหลายรายการ (Bulk Payment)

           หมายถึง ระบบที่ให้บริการชำระเงินรายย่อยระหว่างลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากอยู่ต่างธนาคารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

 

 

2021

2020

2019

2018

2017

มูลค่าการโอนเงินครั้งละหลายรายการ (Bulk Payment)

36,097

32,870

31,796

30,983

28,597

  การโอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน (Direct credit)

24,263

21,226

20,820

19,840

18,002

  การหักเงินจากบัญชีภายในธนาคารเดียวกัน (Direct debit)

6,897

7,386

7,051

7,680

7,534

  การโอนเงินข้ามธนาคาร (ITMX Bulk Payment)

4,937

4,258

3,925

3,463

3,061

ปริมาณการโอนเงินครั้งละหลายรายการ (Bulk Payment)

1,026,407

705,659

519,887

460,839

416,229

  การโอนเงินภายในธนาคารเดียวกัน (Direct credit)

776,591

459,126

326,888

280,464

248,466

  การหักเงินจากบัญชีภายในธนาคารเดียวกัน (Direct debit)

159,825

149,969

132,515

124,322

116,118

  การโอนเงินข้ามธนาคาร (ITMX Bulk Payment)

89,991

96,564

60,484

56,053

51,645

          จากข้อมูลการโอนแบบ Bulk Payment ส่วนใหญ่จะเป็นบริการที่จำเป้นต้องโอนให้กับรายย่อยครั้งละหลายๆรายการ เช่น เงินเดือน ซึ่งหลังการมีเหตุการณ์โควิด 19 มีปริมาณการโอนที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่สอดคล้องกับมูลค่าที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นถึงความพฤติกรรมของการใช้ Bulk Payment ที่แพร่หลายมากขึ้นในการทำธุรกรรม เช่น อาจจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจ่ายการเงินเดือนผ่าน e-Payment เพิ่มขึ้นหรือไม่

อันดับที่ 4 คือ

  • Debit card หมายถึง บัตรที่ใช้เบิกเงินสดจากเครื่อง ATM หรือซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ติดตั้งเครื่อง EFTPOS (Electronic Funds Transfer at point of sale) โดยการหักยอดเงินดังกล่าวจากบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตรและโอนไปยังบัญชีเงินฝากของร้านค้าผู้รับบัตรทันที
  • Credit card หมายถึง บัตรที่ผู้ถือบัตรได้รับวงเงินสินเชื่อจำนวนหนึ่งจากธนาคารผู้ออกบัตร เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ หรือถอนเงินสด โดยธนาคารจะหักเงินหรือให้ชำระเงินสินเชื่อ ดังกล่าว ณ สิ้นคาบเวลาที่กำหนดไว้ ยอดเงินค้างชำระจะถูกคิดดอกเบี้ย

 

2021

2020

2019

2018

2017

มูลค่าการชำระเงินด้วยบัตรพลาสติก (Payment cards)

1,768

1,752

2,135

1,928

1,804

  บัตรเดบิต

199

200

253

250

204

  บัตรเครดิต

1,569

1,552

1,882

1,678

1,600

ปริมาณการชำระเงินด้วยบัตรพลาสติก (Payment cards)

902,009

817,348

815,622

696,105

599,030

  บัตรเดบิต

216,381

181,107

166,821

154,581

108,659

  บัตรเครดิต

685,628

636,241

648,801

541,524

490,371

          จากข้อมูลปริมาณแสดงให้เห็นถึงความถี่ที่มีการใช้งานเพิ่มมากขึ้น แต่มูลค่าการชำระกลับลดลง  ในช่วงโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญ สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าการชำระสินค้าหรือบริการต่อครั้งที่ต่ำลงแต่ใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้น ปัจจัยหนึ่งอาจเพราะเศรษฐกิจที่หดตัวจากสถานณ์โควิด 19 หรือไม่

อันดับที่ 5 คือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)

          หมายถึง  มูลค่าเงินที่ถูกบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์(เช่น ชิปคอมพิวเตอร์ในบัตรแทนเงินสดหรือบัตรพลาสติก เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต )ซึ่งผู้ใช้งานได้ชำระหรือเติมเงินไว้ล่วงหน้า หรือหักผ่านบัญชีธนาคารโดยตรง (Pre-paid) แก่ผู้ให้บริการ e-Money หรือ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ e-Wallet ซึ่งสามารถใช้ชำระสินค้า หรือบริการได้ตามที่ร้านค้าที่รับชำระ

 

2021

2020

2019

2018

2017

มูลค่าการชำระเงินเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)

468

311

282

205

127

ปริมาณเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)

2,537,371

2,136,399

1,965,753

1,511,010

1,272,236

           จากข้อมูลแสดงให้เห็นถึงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกันระหว่างปริมาณและมูลค่าการในการชำระเงิน จุดที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ บริการชำระเงินผ่าน e-Money ยังเป็นบริการที่สามารถเติบโตได้อีกหลายเท่าตัว ในระบบการชำระเงินแบบ e-Payment เนื่องจากเมื่อเราเทียบมูลค่ากับการปริมาณสะท้อนให้เห็นถึงความถี่ที่สูงมาก แม้การชำระแต่ละครั้งจะมีมูลค่าการชำระเฉลี่ยที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งในมุมพฤติกรรมด้านการใช้งาน แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีการใช้งานที่สูงมาก และอาจจะใช้ในชีวิตประจำวัน สะท้อนให้เห็นจากความถี่ในการใช้งาน

          เพื่อนคิดเห็นอย่างไรกับการชำระเงินแบบ e-Payment บ้างครับ และปัจจุบันใช้ e-Payment ด้านไหนบ้างครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่