ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ภาวะเงินเฟ้อนั้น เกิดจาก ภาวะที่ข้าวของแพงขึ้นจากความต้องการสินค้าในตลาดที่สูงขึ้น และต้นทุนสินค้าที่สูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าสูงตาม
แต่ก็มีเงินเฟ้ออีกหนึ่งประเภทที่เหล่านักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์กำลังค้นพบถึงสัญญาณเงินเฟ้อนี้ว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความโลภของบริษัท เรียกว่า ‘Greedflation’
Greedflation คือ ภาวะที่ผู้ประกอบการหาเหตุผลในการขึ้นราคาสินค้าในอัตราที่สูงขึ้น โดยอ้างจากภาวะเศรษฐกิจและสงครามของเหตุการณ์โลก เช่น วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเชื่อว่าการขึ้นราคาสินค้ามีความสมเหตุสมผล จึงยอมจ่ายราคาที่สูงขึ้น จนสุดท้ายแล้วผู้ประกอบการสามารถขึ้นราคาสินค้ามากกว่าราคา ทำให้อัตรากำไร (Profit Margin) ปรับตัวขึ้นตามมา พร้อมทำให้ภาวะเงินเฟ้อเลวร้ายลง
แต่เมื่อต้นทุนกลับมาลงตามปกติ ราคาสินค้าเหล่านี้กลับไม่ลงตาม ซ้ำยังคงราคาเดิมไว้ ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าค่าครองชีพ ‘สูงขึ้น’ทุกปี กลายเป็นภาระของชนชั้นกลางและชนชั้นล่างที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายนี้ต่อไป และนี่จึงเป็นคำที่มาของคำว่า ‘Greedflation’ ซึ่ง Greed แปลว่า ความโลภ ที่เกิดจากองค์กร/บริษัท นั่นเอง
ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ มานูเอ็ล อัลบีเคซิส (Manuel Albecasis) เขาคาดการณ์ว่า อัตรากำไรบริษัทยังคง ‘สูง’ ในปี 2567 แม้ว่าต้นทุนได้ลดลง 3% ตั้งแต่ปีที่แล้วก็ตาม สาเหตุก็เป็นเพราะหลายบริษัทเลือก ‘คงราคาขาย’ ที่ปรับขึ้นนี้ไว้ แม้ว่าต้นทุนลดลงหรือห่วงโซ่อุปทานกลับมาปกติแล้วก็ตาม
จากข้อมูลรายงานของ KGI Wealth Management Research ระบุว่า กำไรต่อหน่วยของบริษัท (Unit Profit) เร่งตัวขึ้นเร็วกว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 14 % โดยบริษัทเหล่านั้นให้เหตุผลกับผู้บริโภคว่า พวกเขามีต้นทุนสูงขึ้นจากทั้งมาตรการล็อกดาวน์ช่วง COVID-19 และถูกซ้ำเติมโดยสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้อัตรากำไรต่อหน่วย (Unit Profit Margin) ของบริษัทพุ่งสูงจากระดับก่อน COVID-19 ที่ 12.1% จนล่าสุดอยู่ที่ 14.7% (เคยทำระดับสูงสุดที่ 16.4 % ในไตรมาส 1 ปี 2021)
นอกจากนี้ ตามผลการศึกษาของกลุ่มคลังสมอง The Institute for Public Policy Research ที่ได้สำรวจ 1,350 บริษัททั่วสหรัฐ สหราชอาณาจักร ยุโรป บราซิล และแอฟริกาใต้ พบว่า กำไรของบริษัท โดยเฉพาะบริษัทด้านพลังงาน ได้เพิ่มขึ้น 30% ระหว่างปี 2562-2565 จนแซงหน้าอัตราเงินเฟ้อ
ที่ผ่านมาซีอีโอบริษัทรายใหญ่ ได้ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อว่าเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของบริษัท แต่นักวิเคราะห์บางคนอย่าง อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ดส์ (Albert Edwards) จาก โซซิเอเต้ เจเนเรล (Société Générale บริษัทข้ามชาติสัญชาติฝรั่งเศสในธุรกิจธนาคารและการจัดการการเงิน) ออกมาวิจารณ์ซีอีโอเหล่านั้นใช้สงครามเป็นข้ออ้างในการเพิ่มราคาเพื่อหากำไรมากกว่า ที่ควร และควรมีการตรวจสอบที่ชัดเจน ไม่อย่างนั้นสิ่งนี้อาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจได้
แต่ถึงอย่างนั้น ในอีกด้านหนึ่งกลับมีนักเศรษฐศาสตร์บางส่วนมองว่า ไม่ใช่ทุกบริษัทจะผลักภาระให้ผู้บริโภค แต่เพราะด้วยการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายกว่าแต่ก่อน การขึ้นราคาสินค้าเหล่านี้อาจทำให้บริษัทสูญเสียส่วนแบ่งตลาดได้ เพราะพวกเขาต้องแบกรับทั้งต้นทุนที่สูงขึ้นและต้องกังวลถึงการเสียลูกค้าจากการขึ้นราคาได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นกับธุรกิจที่มีคู่แข่งจำนวนมาก
อ้างอิงจาก
ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |