fbpx
Search
Close this search box.

ทำความรู้จัก Holding Company คืออะไร

เคยสงสัยไหมว่าปกติแล้วบริษัทมักจะมีรายได้จากการผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ แต่จะมีโครงสร้างธุรกิจอยู่ประเภทหนึ่ง ที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจจากการผลิตสินค้าและบริการอะไรเลย แต่ก็ยังมีรายได้จากการเป็นเจ้าของหุ้นของบริษัทอื่น ซึ่งโครงสร้างนี้เรียกว่า โฮลดิ้ง คอมพานี (Holding Company) แล้วโครงสร้างธุรกิจนี้จะมีรายละเอียดเป็นแบบไหน ACU PAY จะมาสรุปให้ฟัง

เนื้อหา

Holding Company คืออะไร

Holding Company คือบริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยมีรายได้จากการถือหุ้นในบริษัทอื่นเป็นหลัก ซึ่งอาจจะมีธุรกิจหลักของตัวเอง หรือถือหุ้นในบริษัทอื่นเพียงอย่างเดียวก็ได้ สำหรับการถือหุ้นนั้น Holding Company จะต้องถือหุ้นในบริษัทหลักอย่างน้อย 1 บริษัทเพื่อแสดงถึงการมีส่วนร่วมในบริษัทนั้น โดยที่หากบริษัทหลักนั้นเป็นบริษัททั่วไป Holding Company จะต้องถือหุ้นมากกว่า 50% หรือถ้าบริษัทหลักมีการลงทุนร่วมกับฐานหรือเงื่อนไขอื่น Holding Company ต้องถือหุ้นมากกว่าหรือเท่า 40% โดยจะต้องถือหุ้นในบริษัทหลักไปตลอดเวลาที่จดทะเบียนและจะเปลี่ยนแปลงบริษัทหลักได้เมื่อเกิน 3 ปีนับตั้งแต่เริ่มมีการซื้อขายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์

ข้อดีของการเป็น Holding Company

  • มีความมั่นคงและมีความเสี่ยงต่ำ

เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มั่นคง แข็งแรง มีการกระจายความเสี่ยงการลงทุน จากการที่บริษัทมีการถือหุ้นในธุรกิจที่หลากหลาย โอกาสที่ธุรกิจต่าง ๆ จะเกิดวิกฤตขึ้นพร้อมกันเป็นไปได้ยากหรือน้อย นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการดำเนินธุรกิจที่เป็นบริษัทเดี่ยวอีกด้วย

นอกจากนี้มีการจ่ายปันผลในอัตราที่สูงได้ เนื่องจาก Holding Company มักจะลงทุนในธุรกิจที่มีกำไรและสร้างกระแสเงินสดกลับมาในอัตราที่สูงได้ เพื่อจะได้ส่งต่อผลตอบแทนนั้นไปยังกลุ่มผู้ถือหุ้นอีกทอดหนึ่ง

  • ลดต้นทุนในการจัดหาเงินกู้

เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่แข็งแรงและความน่าเชื่อถือสูง ทำให้ Holding Company สามารถจัดหาเงินทุนมาให้บริษัทที่ถือหุ้นได้ และมักจะได้รับเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าบริษัทย่อย ทำให้สามารถขยายการเติบโตด้วยการลงทุนในธุรกิจทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมได้

  • มีการรับผิดชอบในส่วนของหนี้สินชัดเจน

ถ้าบริษัทย่อยมีปัญหา มีหนี้สินที่เกิดขึ้นในนามบริษัทย่อย จะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนอื่น ๆ ใน Holding Company เพราะมีการดำเนินงานหรือสินทรัพย์ ที่แยกออกจากกัน ทำให้เจ้าหนี้ของบริษัทย่อยไม่สามารถเข้าถึงทรัพย์สินของ Holding Company หรือบริษัทย่อยอื่น ๆ ได้

  • ไม่จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการบริษัทด้วยตัวเอง

Holding Company สามารถเป็นเจ้าของบริษัทย่อยในหลาย ๆ ธุรกิจเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนได้ เนื่องจากผู้บริหาร Holding Company ไม่จำเป็นต้องจัดการเองเนื่องจากมีผู้บริหารและการจัดการจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละธุรกิจอยู่แล้ว ทาง Holding Company เพียงแค่ถือหุ้นและรับผลตอบแทนจากแต่ละบริษัทเท่านั้น

ข้อเสียของการเป็น Holding Company

  • มีความซับซ้อน

หากวางโครงสร้างการบริหารจัดการของ Holding Company ไม่ดี อาจจะเกิดความซับซ้อนในการบริหารงานเกิดขึ้น นอกจากนี้อาจเกิดความขัดแย้งกับผู้บริหารของบริษัทที่เข้าไปถือหุ้นได้

  • ต้นทุนในการจัดตั้งสูง 

การจดทะเบียนทั้งโฮลดิ้ง คอมพานี และบริษัทย่อยแต่ละแห่งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการจัดตั้งและมีต้นทุนในการจัดทำ เนื่องจากมีค่าธรรมเนียมมากมายและการจัดทำภาษีที่ซับซ้อนมากขึ้น

ตัวอย่างบริษัทที่เป็น Holding Company

  1. INTUCH : บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

    ประกอบธุรกิจด้านการลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ เทคโนโลยี และดิจิทัล โดยการถือหุ้นและเข้าไปบริหารงาน (Holding Company) สามารถจำแนกออกเป็น 3 สายธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไร้สาย ธุรกิจดาวเทียมและธุรกิจต่างประเทศ และธุรกิจอื่น ๆ 

  2. BTS : บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

    ประกอบธุรกิจ 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ลงทุนในกลุ่มธุรกิจหลักคือขนส่วนมวลชน รองลงมาเป็นธุรกิจสื่อโฆษณา อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการ  

  3.  PTT : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

    ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติและระบบท่อส่งก๊าซ นอกจากนี้ยังมีธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว ธุรกิจปีโตรเคมีและการกลั่น ธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก ธุรกิจไฟฟ้าและสาธารณูปการ ธุรกิจถ่านหิน ธุรกิจให้บริการ

อ้างอิงจาก

ผู้เขียน

ACU PAY Thailand

ACU PAY Thailand

ให้ทุกเรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย เริ่มต้นวันดีๆ ไปกับเรา MAKE A GREAT DAY WITH ACU PAY

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่