fbpx
Search
Close this search box.

NFT กับกฎหมายไทย

NFT กับกฎหมายไทย

           พระราชบัญญัติเงินตรา สินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งประกอบด้วยคริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล แม้จะเรียกว่า              “เคอร์เรนซี”(currency) แต่ก็ไม่ใช่เงินตราตามกฎหมาย และไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้(ในฐานะเงินตรา) เพราะพระราชบัญญัติเงินตรา พ. ศ. 2501 มาตรา 6 ได้บัญญัติไว้ว่า “เงินตราได้แก่เหรียญกษาปณ์และธนบัตร”และในมาตรา 7 บัญญัติว่า “หน่วยของเงินตราเรียกว่า “บาท” หนึ่งบาทแบ่งเป็นหนึ่งรัอยสตางค์”

สารบัญ

       ดังนั้น การที่เราไปซื้อของสมมุติว่าเป็น NFT 1 ชิ้นด้วยคริปโทเคอร์เรนซีเช่น Bitcoin เราอาจจะคิดว่าเราไปซื้อเพราะเราจ่ายเป็นเงินดิจิทัลไป แต่ในทางกฎหมายแล้ว เมื่อ Bitcoin ไม่ใช่เงินตรา ตามกฎหมายจึงไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น หากแต่เกิดขึ้นเป็นการ “แลกเปลี่ยน” แทน คือเท่ากับเราแลก NFT 1 ชิ้นกับ Bitcoin จำนวนเท่าใดก็แล้วแต่ตกลงกันเมื่อทั้ง NFT และคริปโทเคอร์เรนซีไม่ใช่เงินตรา จึงมีฐานะเป็น “สิ่งของ” ที่เอามาแลกเปลี่ยนอย่างหนึ่งตามกฎหมายเท่านั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยแลกเปลี่ยน “แลกเปลี่ยน” นั้นเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย โดยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 518 บัญญัติว่า “อันว่าแลกเปลี่ยนนั้นคือ สัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกัน” ถ้าเราขาย NFT ปกติคนซื้อก็มักจะชำระด้วยคริปโทเคอร์เรนซี เพราะทั้งสองอย่างอยู่บนบล็อกเชนด้วยกัน

ถึงแม้เราจะเรียกซื้อขาย แต่ตามกฎหมายก็ถือว่าคือ “แลกเปลี่ยน” คือเอา NFT มาแลกกับคริปโทเคอร์เรนซี                 การแลกเปลี่ยนนั้น กฎหมายให้ไปยืมบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องซื้อขายมาใช้บังคับ ไม่ต้องไปเขียนใหม่ โดยในมาตรา 519 บัญญัติว่า “บทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายนั้น ท่านให้ใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วยโดยให้ถือว่าผู้เป็นคู่สัญญาแลกเปลี่ยนเป็นผู้ขายในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้ส่งมอบ และเป็นผู้ซื้อในส่วนทรัพย์สินซึ่งตนได้รับในการแลกเปลี่ยนนั้น”

 ซึ่งผลก็คือ เวลาที่แลกเปลี่ยนของกันนั้นเช่น NFT แลกกับคริปโทเคอร์เรนซี คนที่เป็นเจ้าของ NFT ก็ต้องส่งมอบ NFT คนที่มาซื้อ แล้วคนที่มาซื้อนั้นก็ต้องส่งมอบคริปโทเคอร์เรนซีให้กับคนที่ให้ NFT มา

พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เราจะเห็นว่ามีการจัดตั้งตลาดซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลกันเหมือนการซื้อขายหลักทรัพย์ เพราะฉะนั้น “สินทรัพย์ดิจิทัล” (หรือ NFT) จะเป็น “หลักทรัพย์” ด้วยหรือไม่? ในเรื่องนี้ก็ต้องมาดูพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ 2535 ในบทนิยามศัพท์ได้ให้ความหมายของคำว่า “หลักทรัพย์” ไว้ว่า“หลักทรัพย์” หมายความว่า

(1) ตั๋วเงินคลัง (2) พันธบัตร (3) ตั๋วเงิน (4) หุ้น (5) หุ้นกู้ (6) หน่วยลงทุนอันได้แก่ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม (7) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (8) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ (9) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน (10) ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด

ก็จะเห็นว่า กฎหมายมิได้กำหนดให้สินทรัพย์ดิจิทัล (หรือ NFT) เป็น “หลักทรัพย์” แต่อย่างใด และในพระราชกําหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 มาตรา 5 ก็ได้บัญญัติไว้ว่า “หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ไม่ให้ถือเป็นคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลตามพระราชกําหนดนี้” สรุปก็คือ “สินทรัพย์ดิจิทัล” ไม่ใช่ “หลักทรัพย์” และ “หลักทรัพย์” ก็ไม่ใช่ “คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล”

อย่างไรก็ตามในอนาคตอันใกล้เราอาจได้เห็น  “คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล” เพราะกฎหมายจะถูกบัญญัติขึ้นช้ากว่าความเป็นจริงในบางครั้ง เหมือนกับทองคำที่ในอดีตกว่าจะถูกยอมรับอย่างในปัจจุบัน ทองคำเองก็ต้องใช้ระยะเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงมูลค่าที่แท้จริง สิ่งที่น่าสนใจคือจะเป็นอย่างไรหากเรานำทองคำ มาผูกกับ“คริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล”

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่