fbpx
Search
Close this search box.

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “แพลนต์-เบสด์” (Plant-Based)

"แพลนต์-เบสด์" (Plant-Based)

“แพลนต์-เบสด์” หนึ่งทางเลือกการทานอาหารของคนรุ่นใหม่ที่ต่างหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น แต่ยังมีบางที่หลายคนยังอาจเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “แพลนต์-เบสด์” ซึ่งครั้งนี้เอซียูเพย์จะพามาเคลียร์คลายข้อสงสัยกัน

อาหาร "แพลนต์-เบสด์" (Plant-Based) เป็นยังไง

อาหาร”แพลนต์เบสด์” คือ รูปแบบการทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก แทนการบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์ การทานอาหารแพลนต์ เบส ไม่เพียงรวมถึงการทานอาหารจำพวกผัก และผลไม้หลากสีตามฤดูกาลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธัญพืช อาหารธรรมชาติที่ไม่แปรรูป หรือผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด

การทานอาหารแพลนต์เบสด์ เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่อยากเสริมโปรตีนแต่ต้องการหลีกเลี่ยงแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากพืชต่าง ๆ มากมาย เช่น แพลนต์เบสด์ โปรตีน (Plant based protein) หรือ แพลนต์เบสด์ มีต (Plant based meat) ซึ่งไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ นม ไข่ หรือน้ำผึ้ง และคงไว้ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการที่ร่างกายต้องการ

การทานอาหารแพลนต์เบสด์ ไม่ใช่รูปแบบการทานอาหารแบบมังสวิรัติที่เลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ นม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมทั้งหมด แต่การทานอาหารแพลนต์เบสด์ คือการทานอาหารที่เน้นสัดส่วนของผัก ผลไม้ และธัญพืชชนิดต่าง ๆ เป็นหลักในขณะที่ยังสามารถทานเนื้อสัตว์ อาหารทะเล หรือนมได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่านั้นเอง

 

เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "แพลนต์เบสด์" (Plant-Based)

1. ทาน "แพลนต์เบสด์" ทำให้รับโปรตีนไม่เพียงพอ

เรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่หลายคนเข้าใจผิด จริง ๆ แล้วผลิตภัณฑ์จากแพลนต์เบสด์ หลายชนิดเต็มไปด้วยโปรตีน แต่อาจต้องทานให้มากขึ้นเพื่อให้ตรงกับปริมาณโปรตีนที่พบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ตัวอย่างเช่น ต้องใช้ถั่วปรุงสุก 1 ถ้วยจึงจะเท่ากับปริมาณโปรตีนในเนื้อสัตว์ 85 กรัม

ซึ่งโดยปกติร่างกายคนเราต้องการโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ถ้ากังวลว่าเรายังอาจได้รับปริมาณโปรตีนไม่เพียงพอ ก็สามารถหาผงโปรตีนจากพืชเพิ่มลงไปในมื้อเช้าเพิ่มเติมเพื่อคงปริมาณโปรตีนที่ได้รับในแต่ละวันก็ได้เช่นกัน 

2. ทาน "แพลนต์เบสด์" ทำให้ขาดสารอาหารหลัก

จริง ๆ แล้วการทานอาหารแบบปกติ ร่างกายเราบางทีก็ไม่ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน การทานอาหารจากพืชก็อาจขาดวิตามินบางอย่าง อย่างเช่น วิตามินบี 12 หรือธาตุเหล็ก แต่ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะเติมวิตามินสารอาหารเหล่านี้ให้เพียงพอผ่านการรับประทานอาหารที่มีพืชเป็นหลักเสริมเป็นประจำทุกวัน เช่น นม ธัญพืช หรืออาหารเสริมอื่น ๆ

3. อาหารจากพืชทุกอย่างล้วนเฮลตี้

ไม่ใช่ว่าอาหารที่ทำจากพืชทุกอย่างจะทำให้เราสุขภาพดี เพราะยังมีอาหารแปรรูปจากพืชหลายชนิดที่มีน้ำตาล เกลือ และไขมันอิ่มตัวในปริมาณสูง ตัวอย่างเช่น โอรีโอ ที่เป็นมิตรกับคนทานมังสวิรัติ 

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าอาหารที่ประกอบด้วยผลไม้ ผัก พืชตระกูลถั่ว และธัญพืชที่ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุดเป็นหลักดีที่สุดสำหรับสุขภาพ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าอาหารจากพืชทุกชนิดจะตรงตามข้อกำหนดเหล่านี้ 

อย่าง เฟรนช์ฟรายส์ มันฝรั่งแผ่นทอด หัวหอมทอด คัพเค้ก และซีเรียลที่มีน้ำตาล ถึงแม้ว่าจะไม่มีผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคืออาหารเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกายเราเท่าไหร่

4. กินแต่อาหารจากพืช เสี่ยงกระดูกพรุน

ความจริงแล้ว นมวัวไม่ได้เป็นเพียงแหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดเท่านั้น ในพวกผักใบเขียวเข้มอย่างเช่น ผักเคล ผักกวางตุ้ง และผักกาดเขียวก็ยังเป็นแหล่งแคลเซียมชั้นดี หรือแม้แต่ในน้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำส้ม และนมทางเลือกอื่น ก็สามารถช่วยเพิ่มและเสริมแคลเซียมเพิ่มเติมให้เราได้

5. ถั่วเหลืองทำให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง

หลายคนมีความเชื่อว่าการกินถั่วเหลืองมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญจาก American Cancer Society ประกาศแล้วว่าถั่วเหลืองมีความปลอดภัยต่อทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่บริโภค มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่าการรับประทานอาหารจากถั่วเหลืองแบบดั้งเดิม เช่น เต้าหู้ เทมเป้ ถั่วแระญี่ปุ่น มิโซะ และนมถั่วเหลืองอาจลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงเอเชีย 

อาหารจากถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทดแทนอาหารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพน้อยกว่า เช่น ไขมันสัตว์ และเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูป อาหารจากถั่วเหลืองยังลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและอาจช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย

สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะทานอาหารจากพืชหรือจากสัตว์ ตราบใดที่เรายังกินแคลอรี่เพียงพอเพื่อรักษาน้ำหนักให้แข็งแรงและทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ว่าการทานแบบไหนขอให้เหมาะกับเราก็พอ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่