fbpx

Why Tax Allowance?

ความหมายของ “ค่าลดหย่อน” หรือ "ค่าลดหย่อนภาษี" คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งมาจากวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เรียกว่า วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ

ในทุก ๆ ปีจะมีการจ่ายภาษีประจำปี จะมีคำที่เราต่างคุ้นเคยนั่นก็คือ การลดหย่อนภาษี ยิ่งเรามีค่าลดหย่อนเยอะ ก็อาจทำให้เราเสียภาษีน้อยลง หรือมีเงินคืนภาษีกลับมาอีกด้วย แล้วสำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยลดหย่อนภาษี สงสัยไหมว่าทำไมเราต้องลดหย่อนภาษี แล้วมีภาษีอะไรบ้างที่สามารถลดหย่อนได้ เดี๋ยว ACU PAY จะสรุปให้ฟัง

ลดหย่อนภาษี คืออะไร

ความหมายของ “ค่าลดหย่อน” หรือ “ค่าลดหย่อนภาษี” คือ รายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้นำไปหักออกจากเงินได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว ซึ่งมาจากวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เรียกว่า วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ดังนี้

รายได้ (ต่อปี) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

ทำไมต้องลดหย่อนภาษี ?

  • ทำให้เรามีเงินเก็บมากขึ้น

ข้อดีที่สุดในเรื่องการลดหย่อนภาษี คือ การมีเงินเก็บมากขึ้น อย่างการซื้อบ้าน ประกันชีวิต ประกันสุขภาพของเรา หรือประกันสุขภาพให้พ่อแม่ ทางสรรพากรก็ให้สิทธิเราลดหย่อนได้ รวมถึงการลงทุน SSF หรือ RMF 

นอกจากลดหย่อนภาษีให้ถูกต้องแล้ว การลดหย่อนภาษีให้เข้ากับไลฟ์สไตล์และความจำเป็นของแต่ละคน ก็ทำให้เราสามารถได้รับประโยชน์จากเงินที่จ่ายไปให้คุ้มค่า 

  • รู้ไว้จะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับ 

การลดหย่อนกองทุน SSF และ RMF มีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไปในแต่ละปี  ซึ่งถ้าหากทำผิดเงื่อนไข แน่นอนว่าจะมีค่าปรับด้วย โดยทางสรรพากรจะมีค่าปรับสูงถึง 1.5% ต่อเดือน เทียบได้กับค่าปรับบัตรเครดิตเลย เพราะแบบนี้ เราควรศึกษาเรื่องการลดหย่อนภาษีให้ดี จะได้ช่วยลดโอกาสปวดหัวและไม่ต้องเสียค่าปรับให้วุ่นวายทีหลัง

การลดหย่อนภาษีมีวิธีไหนบ้าง ?

1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว และครอบครัว

    • ค่าลดหย่อนส่วนตัว ได้ 60,000 บาท 
    • ค่าลดหย่อนคู่สมรส ได้ 60,000 บาท 
    • ค่าลดหย่อนบุตร คนแรก 30,000 บาท คนที่สองขึ้นไป 60,000 บาท
    • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ไม่เกิน 60,000 บาท/การตั้งครรภ์ 
    • ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดา-มารดาของตน และบิดา-มารดาของคู่สมรส คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน
    • ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ คนละ 60,000 บาท

2. ค่าลดหย่อนภาษี จากการซื้อประกัน การออมเงิน และการลงทุน

    • เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ไม่เกิน 9,000 บาท 
    • เบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันแบบสะสมทรัพย์ ไม่เกิน 100,000 บาท
    • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ไม่เกิน 25,000 บาท ทั้งนี้เมื่อนำเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์มารวมกัน จะลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
    • ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักค่าลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
    • ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ไม่เกิน 15,000 บาท 
    • เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ได้ 15% ของเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง และต้องไม่เกิน 500,000 บาท
    • เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ไม่เกิน 30,000 บาท 
    • การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ไม่เกิน 30% ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
    • การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) ไม่เกิน 30% ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ปัจจุบันจะให้สิทธิลดหย่อนได้ 5 ปี คือ ปี 2563 – 2567
    • เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ไม่เกิน 100,000 บาท

3. ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

    • เงินบริจาคทั่วไป ตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

    • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน คือ

    • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

4. ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมผ่านมาตรการรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    • ดอกเบี้ยบ้าน หักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
    • การซื้อสินค้า หรือบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมถึงสินค้า OTOP และสินค้าหมวดหนังสือ และ E-Book ในช่วงเวลาโครงการ สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท

เมื่อเรารู้แล้วว่าทำไมต้องลดหย่อนภาษีและค่าใช้จ่ายไหนสามารถลดหย่อนได้บ้าง ก็อย่าลืมวางแผนภาษีให้ดี ว่าเราจะเลือกลดหย่อนภาษีผ่านช่องทางไหน อาจเลือกลงทุนในกองทุนรวม บริจาค หรือซื้อประกันชีวิตประกันสุขภาพ ก็สามารถเลือกได้ตามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของแต่ละคน และต้องศึกษาให้ดี เพื่อระวังค่าปรับที่อาจเจอถ้าเราทำผิดเงื่อนไข 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่