การเจรจาต่อรองดูเหมือนจะดูห่างไกล แต่จริง ๆ แล้ว สิ่งนี้แอบแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันเราทั้งนั้น ตั้งแต่การต่อรองค่ารถกับวินมอไซค์ ต่อราคาเสื้อร้านตลาดนัด หรือแม้แต่ดีลงานกับลูกค้า ก็ล้วนแต่ใช้ทักษะการเจรจาทั้งนั้น
บางครั้งการเจรจามักผิดหวัง ไม่เป็นไปตามผล เราก็แค่คิดว่าวันหน้าค่อยลองใหม่ก็ได้ จะเป็นไรไป แต่สำหรับการเจรจาบางอย่างที่ขึ้นอยู่กับชีวิตและความตาย อย่างเจรจาเพื่อรักษาตัวประกัน หรือจับผู้ร้าย ผู้คนในอาชีพนี้เขามีวิธีการในการเจรจายังไงกัน?
นี่เป็นสิ่งที่อดีตเจ้าหน้าที่ FBI หน่วยเจรจาต่อรองยามวิกฤต ที่เคยทำงานมากว่า 24 ปี อย่าง คริส โวสส์ (Chris Voss) ได้มาเล่าเทคนิคการเจรจาที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จอย่างน่ามหัศจรรย์ ด้วยสูตรที่เรียกว่า “ยุทธวิธีแห่งการเข้าอกเข้าใจ (Tacticle Empathy)”
คริสกล่าวว่า การทำความเข้าใจ (Tacticle Empathy) ไม่ได้หมายความว่า เราจะต้อง “เห็นด้วย” กับเหตุผลและสิ่งที่เขาทำ แต่เราไม่จำเป็นต้องไป “โต้เถียง” เพื่อพิสูจน์ความคิดของอีกฝ่าย สิ่งที่เราต้องเข้าใจและมองให้ออกจริงๆ คือ “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” ที่อยู่เบื้องหลังการกระทำและคำพูดของพวกเขา
สิ่งสำคัญในการต่อรองให้สำเร็จคือ “การรู้ใจ” ของอีกฝ่ายให้ได้ เพื่อที่จะได้คิดข้อเสนอและหว่านล้อมอย่างตรงประเด็น ในการเจรจาทั่วไปก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน เราต้องเข้าใจว่า อะไรที่คือสิ่งที่ฝั่งตรงข้าม “ต้องการ” เมื่อรู้แล้วให้เริ่มต้นบทสนทนาที่พวกเขาต้องการหรือรู้สึกสนใจ
การพูดซ้ำในสิ่งที่คู่เจรจาพูดด้วยน้ำเสียงที่ดูน่าสนใจ หรือพูดทวนสองสามคำสุดท้าย จะช่วยสร้างความไว้ใจให้กับอีกฝ่ายได้ง่าย เพราะพวกเขาจะรู้สึกว่าเรายังตั้งใจรับฟังเขาอยู่ หลังนี้การเปิดใจก็จะง่ายขึ้น กลยุทธ์นี้จะทำให้การสนทนาช้าลงและช่วยให้เรามีเวลาคิดมากขึ้น แต่ต้องระวังอย่าไปพูดทวนทุกคำ เพราะคนฟังอาจจะคิดว่าเราแปลก
น้ำเสียงมีความหมายมากพอ ๆ กับเนื้อหาที่เราพูดออกไป เหมือนที่เคยมีคนบอกไว้ว่า “คนมักจดจำสิ่งที่ทำให้เขารู้สึก ได้มากกว่าคำพูดเสียอีก” เพราะฉะนั้นในสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป เราก็อาจต้องเลือกใช้น้ำเสียงให้เหมาะสม ซึ่งคริสได้แบ่งน้ำเสียงออกเป็น 3 ประเภท
ถ้าอีกฝ่ายมีแนวโน้มอารมณ์เสียหรือหงุดหงิด ให้เราลองเลือกใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล หรือที่ใครหลายคนบอกว่าเสียงสองนั่นแหละ อาจจะช่วยให้อีกฝ่ายดูสงบขึ้นและใจเย็นได้
เทคนิคฝึกความเห็นอกเห็นใจอย่างมีกลยุทธ์ โดยให้ลองจับอารมณ์ของอีกฝ่าย แล้วพยายามพูดให้พวกเขารู้สึกว่าเราเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งเทคนิคนี้เรียกว่า “การติดฉลาก” ทำความเข้าใจความรู้สึกอีกฝ่าย อย่างเช่น การพูดว่า “ดูเหมือนว่าจะกังวลเรื่อง…อยู่รึเปล่า” จะทำให้อีกฝ่ายลดเกราะป้องกันลงได้
ซึ่งเทคนิคนี้คริสเคยใช้กับนักโทษที่หนีมาซ่อนตัวในอพาร์ทเมนต์แห่งหนึ่ง หลังจากรู้ว่าพวกเขาต้องการอะไร คริสจึงพูดแสดงความเข้าใจความรู้สึกของเหล่านักโทษ ซึ่งหลังการเจรจา 6 ชั่วโมง นักโทษก็ยอมและบอกว่าหลังจากการพูดคุยกับคริสทำให้พวกเขารู้สึกสงบลง
อาจจะฟังดูแปลก แต่การให้อีกฝ่ายพูดคำว่า “ใช่” บ่อย ๆ จะทำให้พวกเขารู้สึกเหมือนเป็นจำเลยนั่งอยู่ในศาลที่มีเราเป็นทนายความ ซึ่งคริสกล่าวว่า ในสถานการณ์ต่อรองขอตัวประกัน การทำให้ผู้ก่อการร้ายตอบ “ใช่” บ่อยๆ จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกกลัวและระวังตัวมากขึ้น แต่เทคนิคให้อีกฝ่ายพูดคำว่า “ไม่” จะทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัย และรู้ว่าเขาคุ้มสถานการณ์นี้ได้
ซึ่งเราอาจนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กับการถามไม่มุ่งเน้น อย่างเช่น “นี่เป็นจังหวะที่ไม่ดีที่จะคุยด้วยหรือเปล่า?” หรือ “ยอมแพ้กับงานนี้ยัง”
ช่วงที่เราสามารถทำให้เขาเห็นแล้วว่า “เราเข้าใจ” เขาได้ นั่นคือสัญญาณเตือนว่าการเจรจามีโอกาสสำเร็จมากที่สุด เทคนิคนี้คือการตั้งคำถามจาก “การสรุป” ในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด และถ้าอีกฝ่ายได้ยืนยันว่าความคิดของเรา ที่สรุปมาจากเขาอีกที ถูกต้องบ่อย ๆ จะทำให้เขารู้สึกว่าได้แชร์ความรู้สึกกับเรามากขึ้น
การใช้คำถามอย่าง “อะไร” และ “อย่างไร” ในบทสนทนา เป็นเทคนิคที่ทรงพลังมากในการใช้เจรจาต่อรอง อย่าพยายามบังคับให้อีกฝ่ายเอาแต่ยอมรับว่าสิ่งที่เราพูดถูก เราต้องถามเขากลับว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไร กระตุ้นให้เขาพูด เพื่อที่เราจะได้รู้ความต้องการหรือเจตนาที่แท้จริงของอีกฝ่าย ซึ่งการพลิกบทบาทคู่สนทนา โดยเปลี่ยนให้อีกฝ่ายเป็นคนตอบคำถามแทน จะช่วยให้เราเข้าใจอีกฝ่ายได้มากขึ้นและการเจรจาก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
ซึ่งเราสามารถนำเทคนิคจากอดีตเจ้าหน้าที่ของ FBI นี้มาปรับใช้ได้ในธุรกิจหรือชีวิตประจำวันมากมาย ตั้งแต่การนำมาใช้กับการทำข้อตกลงบางอย่างกับเพื่อน คู่รัก ครอบครัว หรือการเจรจาต่อรองงานหรือเงินเดือนในที่ทำงาน รับรองว่าเทคนิคนี้จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการเจรจาต่อรองแน่นอน
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |