รู้หรือไม่ว่า “ความเหงา” อันตรายมากกว่าที่เราคิด จากงานวิจัยพบว่าความเหงานั้นสามารถบั่นทอนสุขภาพร่างกายของเราได้เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวนต่อวันเลยทีเดียว
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริกแฮม รัฐยูทาห์ ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและสุขภาพร่างกาย จากศึกษาเก็บข้อมูลเป็นเวลากว่า 34 ปี ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 1980 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2014 ผลการวิจัยพบว่า ความเหงานั้นอันตรายกว่าที่คิด เพราะความเหงาทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มสูงสุดถึง 60% แถมความเหงายังอาจเป็นปัจจัยทางสุขภาพที่สำคัญยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ 15 มวนต่อวัน หรือโรคอ้วนซะอีก
ดร.จูเลียน โฮลท์ ลุนสตัด หนึ่งในผู้ทำวิจัยยังระบุว่า การมีเพื่อนหรือครอบครัวคอยอยู่ข้างกัน จะช่วยให้คนคนหนึ่งค้นพบความหมายของชีวิตและมีความสุขมากกว่าคนที่ไม่มีสังคม ซ้ำยังบอกอีกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักวิชาการ และสื่อต่าง ๆ มักมองการสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพ ความเครียด หรือการไม่ออกกำลังกาย ว่าเป็นสาเหตุให้คนเราสียชีวิตก่อนวัยอันควร แต่จากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่าปัจจัยด้านสังคมเอง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตเร็วหรือช้าได้เช่นกัน
ปัญหาความเหงานั้นไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ ในบางประเทศเริ่มให้ความใส่ใจกับความเหงามากขึ้น อย่างเมื่อปี 2017 รัฐบาลอังกฤษได้จัดตั้งกระทรวงความเหงา (Minister for loneliness) ขึ้นมา เพื่อรับมือและบรรเทาปัญหาทางสุขภาพจิตให้กับคนอังกฤษที่กำลังเผชิญกับความเหงาเปล่าเปลี่ยว และเมื่อช่วงโควิดที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่น ก็ได้มีการแต่งตั้งรัฐมนตรีประจำกระทรวงความเหงาเพื่อจัดการ ดูแล บรรเทาปัญหาความเหงา และการแยกตัวออกจากสังคมของประชาชน หลังจากสถิติการฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นพุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ โดยเฉพาะผู้หญิงที่รู้สึกโดดเดี่ยวมากขึ้น
อีกทั้งการศึกษาหลายชิ้นยังพบว่า ความเหงาเป็นจุดเริ่มต้นของโรคเรื้อรังไม่ติดต่อหลายประเภท เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เนื่องจากความโดดเดี่ยวทำให้ผู้คนต้องแยกตัวออกจากสังคม จนเกิดพฤติกรรมทำร้ายสุขภาพ ทั้งการไม่ออกกำลังกาย ไม่ไปพบแพทย์ รวมถึงส่งผลให้เกิดความเครียด และความดันโลหิต
เพราะความเหงาเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ทุกคนล้วนมีความเหงา ดังนั้นให้เราลองรับรู้ถึงความเหงาของตัวเอง สังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ปรับมุมมองความคิดให้เป็นแง่บวก ลองหากิจกรรมอื่น ๆ ทำ ลองทำความรู้จักหาสังคมใหม่ ๆ และอย่าลืมใจดีกับตัวเอง อย่างไรก็ตาม ถ้าทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว ก็ไม่ช่วยให้เราคลายความเหงาได้ ให้ลองพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เราเข้าใจความรู้สึกและความคิดมากขึ้น เชื่อว่าทุกคนจะก้าวผ่านความเหงาได้อย่างแน่นอน
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |