fbpx
Search
Close this search box.

รู้จัก โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์ ปรับสมดุลสร้างภูมิคุ้มกัน

พรีไบโอติกส์ กับ โพรไบโอติกส์

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่าโพรไบโอติกส์ พรีไบโอติกส์ มาหลายครั้งจากโฆษณานมเปรี้ยว โยเกิร์ตต่าง ๆ แต่รู้ไม่ว่า ทั้งสองชนิดนี้ที่ชื่อคล้ายกันเหลือเกิน แตกต่างกัน กินอะไรดีกว่ากัน ถ้าอยากรู้แล้ว ตามเอซียูเพย์มาเลย

ทำความรู้จัก โพรไบโอติกส์ และ พรีไบโอติกส์

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คืออะไร

โดยปกติแล้วร่างกายของเรามีจุลินทรีย์อยู่มากมาย โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร มีทั้งจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และจุลินทรีย์ที่ก่อโรค โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์ชนิดดีขนาดเล็กที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรคในลำไส้ 

แหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ มักเกิดจากอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักบางชนิด เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ แตงกวาดอง มิโสะ ชาหมัก

ซึ่งโพรไบโอติกส์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่

  1. แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เป็นแบคทีเรียชนิดดีในกลุ่มของโพรไบโอติกส์ที่พบได้มากที่สุด พบมากในอาหารจำพวก โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองต่าง ๆ ดีต่อระบบขับถ่าย และดีต่อผู้ที่มีประสบปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้
  2. ไบฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) จัดว่าเป็นหนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ดีที่สุด สามารถพบได้ในอาหารจำพวกผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน

นอกจากนี้ยังมี แซคคาโรไมซิส (Saccharomyces boulardii) ยีสต์ที่พบได้ในกลุ่มของโพรไบโอติกส์ มีส่วนช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและบรรเทาอาการปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารอีกด้วย

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ในร่างกาย

        ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ลดการเกิดท้องเสีย ลดการอักเสบและอาการผิดปกติอื่น ๆ ของลำไส้ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง ป้องกันมะเร็งลำไส้ ส่งเสริมการดูดซึมสารอาหาร ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นต้น ซึ่งการมีโพรไบโอติกส์ที่เพียงพอในลำไส้ จะช่วยให้เกิดความสมดุล และลดโอกาสการเกิดโรคได้

        นอกจากนี้ โพรไบโอติกส์ยังช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในช่องคลอดได้ด้วย ป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด รวมถึงโรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ และยังมีการศึกษาที่พบว่า การได้รับโพรไบโอติกเป็นประจำมีส่วนช่วยคงระดับอารมณ์ได้ให้ดีขึ้น 

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) คืออะไร

พรีไบโอติกส์ คืออาหารชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อกินเข้าไปร่างกายไม่สามารถย่อยในระบบทางเดินอาหาร อาหารเหล่านี้จึงสามารถเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้โดยตรง และเป็นอาหารของจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์

แหล่งอาหารที่มีพรีไบโอติกส์ : พบในน้ำนมแม่ พบได้ในหัวหอม กระเทียม ถั่วเหลือง ถั่วแดง ไฟเบอร์ในผักและผลไม้ต่าง ๆ

ประโยชน์ของพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ในร่างกาย

พรีไบโอติกส์ จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวดีในลำไส้ ทำให้จุลินทรีย์เหล่านี้สามารถยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์ก่อโรคได้ ช่วยปรับลำไส้ให้เข้าสู่สภาวะสมดุล ช่วยลดน้ำหนัก ช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมและแร่ธาตุดีขึ้นป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจและหลอดเลือด และยังมีส่วนช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นอีกด้วย

พรีไบโอติกส์ กับ โพรไบโอติกส์ ต่างกันยังไง

จริง ๆ แล้วทั้งพรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ต่างทำงานสัมพันธ์กัน และมีประโยชน์กับระบบย่อยและระบบขับถ่ายเหมือนกัน แต่ความแตกต่างอยู่ที่ พรีไบโอติกส์ จะเป็นสารอาหาร ส่วนโพรไบโอติกส์จะเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ซึ่งทั้งสองอย่างนี้สามารถหาได้จากการทานอาหารหรืออาหารเสริมต่าง ๆ เหมือนกัน

และอย่างที่รู้กันว่าพรีโอติกจะไม่ถูกย่อยในลำไส้เล็ก ทำให้ต้องอาศัยจุลินทรีย์ดีอย่างโพรไบโอติกมาทำหน้าที่ย่อยให้แทน จะเห็นได้ว่าร่างกายของเราไม่ควรจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเลย เพื่อให้ลำไส้ทำงานได้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่