ใครที่กำลังทำงานต่างประเทศ หรือมีรายได้จากต่างประเทศอยู่ เตรียมตัวให้พร้อม เพราะในการจ่ายภาษีปีหน้า 2567 นี้ มีการเปลี่ยนเกณฑ์การเสียภาษีเงินได้จากต่างประเทศใหม่ โดยรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ตาม ACU PAY มาเลย
ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.161/2566 มาให้ เป็นแนวทางการเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเหตุผลที่กรมสรรพากรวางแนวปฏิบัติใหม่นี้ เพราะต้องการให้ผู้มีเงินได้จากแหล่งเงินได้ต่างประเทศ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในไทยให้ชัดเจน เพื่อการจัดเก็บภาษีเป็นธรรมมากขึ้น
อนอื่น เรามาทำความรู้จักหลักการเก็บภาษีในประเทศไทยกันก่อน สำหรับการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยนั้น มีการพิจารณาอยู่ 2 หลักเกณฑ์ คือ “แหล่งเงินได้” และ “ถิ่นที่อยู่” คือ
ถ้ามีเงินได้เข้ามา “ก่อน” ปี 2567 ผู้นั้นไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย แต่ถ้ามีเงินได้ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป จะต้องเช็กตัวเองด้วยคำถาม 2 ข้อ นั่นคือ
ถ้าเช็กแล้ว ปรากฏว่าตัวเองทำไม่ครบสองข้อ นั่นแสดงว่า ตัวเรานั้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากต่างประเทศ เพราะยังไม่เข้าเกณฑ์เสียภาษี ในทางกลับกัน ถ้าเช็กแล้วตัวเรานั้นทำครบทั้งสองข้อ นั่นแสดงว่า ตัวเราต้องเสียภาษีเงินได้จากต่างประเทศ
ตัวอย่าง 1 :
ในปีภาษี 2566 – 2567 นาย A อาศัยในประเทศไทย มีเงินได้พึงประเมินจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในต่างประเทศ ในปีภาษี 2566 และมีเงินได้พึงประเมินจากปล่อยเช่าคอนโดในต่างประเทศ ในปีภาษี 2567 จนปีภาษี 2568 นาย A นำเงินได้ทั้ง 2 ทางกลับเข้าประเทศไทย
นาย A มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ต่างประเทศ แค่ในส่วนที่ปล่อยให้เช่าคอนโดเท่านั้น เพราะเป็นเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ในส่วนของเงินได้ที่มาจากดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่างประเทศ นาย A ไม่ต้องเสียภาษี
ตัวอย่าง 2 :
ในปีภาษี 2567 นาย B มีเงินได้พึงประเมินจากการทำงานในต่างประเทศ และนาย B อยู่ในประเทศไทยรวมกันถึง 180 วัน และนำเงินได้ที่เกิดขึ้นจากต่างประเทศ ในปีภาษี 2567 นาย B มีหน้าที่เสียภาษีให้ประเทศไทย เพราะถือว่าครบเงื่อนไขทั้งสองข้อ
แต่ถ้าหากนาย B ไม่ต้องการเสียภาษีในประเทศไทยในกรณีที่มีเงินได้ต่างประเทศ นาย B ต้องทำตามเงื่อนไขดังนี้
แต่ถ้าผู้มีเงินได้ถูกเก็บภาษีในประเทศแหล่งเงินได้ไปแล้ว และประเทศนั้นมีการทำอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทย สามารถนำภาษีที่ถูกเก็บไป มาใช้เป็นเครดิตภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในอนุสัญญาภาษีซ้อน
อนุสัญญาภาษีซ้อน เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศ 2 ประเทศที่เจรจากันเพื่อแก้ปัญหาการเก็บภาษีเงินได้ซ้ำซ้อน เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รวมถึงอาจมีการกำหนดความร่วมมือด้านภาษีระหว่างกันด้วย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้ทำข้อตกลงกับทางประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถึง 61 ประเทศ โดยเอาภาษีที่เสียไปแล้วกับประเทศต้นทาง มาเป็นเครดิตภาษี เพื่อลดภาระภาษีส่วนนี้ในไทยไป
ยกตัวอย่าง เช่น ครีเอเตอร์ที่มีเงินได้จากการขายสติกเกอร์ไลน์ ต้องเสียภาษีที่ประเทศญี่ปุ่น (รัฐแหล่งเงินได้) เมื่อเสียแล้วก็มาพิจารณาว่าอนุสัญญาภาษีซ้อนได้ระบุให้ประเทศไทยสามารถเก็บภาษีได้หรือไม่ ซึ่งถ้าอนุสัญญาภาษีไทย-ญี่ปุ่น กำหนดว่ากรณีลักษณะของค่าสิทธิ์อาจสามารถเก็บในรัฐที่มีแหล่งเงินได้ ก็ไม่ต้องเสียภาษีที่ประเทศไทยอีก
แต่สำหรับประเทศที่ไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับไทย ก็แปลว่า เรามีโอกาสเสียภาษีทั้งสองประเทศ ซึ่งก็ต้องนำมาพิจารณาต่อว่า เราได้อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันในปีนั้น และมีการนำเงินได้เข้ามาหรือไม่นั่นเอง
อ้างอิงจาก
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |