fbpx
Search
Close this search box.

อาหารเช้าสำคัญจริงไหม

อาหารเช้าสำคัญจริงไหม

ในยุคหนึ่งเรามีความเชื่อที่ว่าอาหารเช้าเป็นอาหารของสมอง เรารับรู้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ว่าอาหารเช้าเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก ๆ ใครหลายคนที่ไม่ชอบทานอาหารเช้ามักจะโดนมนุษย์แม่ดุกันว่า “ไม่กินข้าวเช้าแล้วจะเรียนรู้เรื่องไหม” หรือในวัยทำงานก็จะโดนพูดว่า “ไม่กินข้าวเช้าแล้วจะมีแรงทำงานไหม”  แต่มื้อเช้าสำคัญจริง ๆ หรือเป็นแต่การตลาดในรูปแบบหนึ่ง วันนี้เอซียู เพย์ จะพาเพื่อน ๆ มารู้ไปพร้อม ๆ กันค่ะ

อาหารเช้าสำคัญจริงไหม?

เราอยู่กับความเชื่อที่ว่าอาหารเช้าเป็นสิ่งจำเป็นและสิ่งสำคัญ การไม่ทานมื้อเช้าเป็นสิ่งผิดจะทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง แต่ ณ ปัจจุบันผลสำรวจล่าสุดพบว่า คนไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ทานอาหารเช้าด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไปอย่างเร่งรีบไม่มีเวลา ไม่รู้สึกหิว ประหยัดค่าใช้จ่าย ตื่นมากินอาหารเช้าไม่ทัน

มีวิจัยฉบับหนึ่งเป็นวิจัยทางการแพทย์เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของคนอเมริกา ประมาณ 6 หมื่นกว่าคนที่มีอายุตั้งแต่ 20-74 ปี ตั้งแต่ปี 1971 จนถึงปี 2010 เป็นเวลากว่า 40 ปี พบว่ามีประชากร 25 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้ทานอาหารเช้า แต่ยังมีสุขภาพที่ดีอยู่ ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วย จึงทำให้นักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ตั้งคำถามว่าการที่คนเราไม่ทานมื้อเช้ามีผลเสียจริงไหม 

มีงานวิจัยมากมายบอกว่าการทานอาหารเช้าจะทำให้ไม่อ้วนและช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ แต่วิจัยเหล่านี้เป็นวิจัยที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าสังเกต ไม่ได้เป็นการวิจัยที่ทดลองอย่างจริงจัง จึงทำให้ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดว่าการทานมื้อเช้าจะช่วยทำให้สุขภาพดีขึ้น แต่ในปี 2014 ได้มีนักโภชนาการชาวญี่ปุ่นท่านหนึ่ง แสดงผลว่าอาหารเช้าไม่มีผลต่ออัตราการเผาผลาญพลังงาน นั่นแสดงให้เห็นว่าการอดมื้อเช้าไม่ส่งผลต่อการอ้วนขึ้นหรือผอมลงของเราแต่อย่างใด ในวิจัยยังบอกอีกว่าอาหารเช้าทำให้เรามีความอยากอาหารมื้อกลางวันเพิ่มขึ้นและทานมื้อกลางวันได้เยอะขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ 

บาปของอาหารเช้า

ในศตวรรษที่ 13 การทานอาหารเช้าถือเป็นเรื่องที่ผิดบาปและไม่บริสุทธิ์ ในยุคนี้ศาสนามีอิทธิพลเป็นอย่างมาก ประชาชนยึดหลักคำสอนของศาสนากันอย่างจริงจัง ในศาสตร์คาทอลิกได้มีบาปแห่งการกินเร็ว ซึ่งมีความหมายว่า ทานอาหารเช้าเร็วจนเกินไปซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความตะกละ (ความตะกละเป็น 1 ใน บาปทั้ง 7 ของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก)

นอกจากเรื่องของศาสนาแล้วยังมีเรื่องของชนชั้นวรรณะเข้ามาเกี่ยวอีกด้วย คนชนชั้นสูงจะไม่ทานอาหารจนกว่าจะถึงเวลาเที่ยงเพราะคนที่ทานอาหารเช้าส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ต้องใช้แรงงาน การทานอาหารเช้าจึงมีความหมายว่า “จน” หรืออีกความหมายหนึ่งของอาหารเช้าคือ ความอ่อนแอเพราะไม่สามารถอดทนจนถึงมื้อเที่ยงได้และในที่นี้ เด็ก คนชรา และคนป่วยเป็นข้อยกเว้นที่สามารถทานอาหารเช้าได้ 

แล้วใครบอกว่ามื้อเช้าสำคัญ?

คำพูดที่ว่า “อาหารเช้าเป็นมื้อที่ดีที่สุดของวัน” เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1944  ผ่านทางสื่อวิทยุเพื่อใช้ในการโฆษณาอาหารเช้าอย่างซีเรียลที่แค่ใส่นมก็พร้อมทาน เขียนโดยคุณ “ชาวี เครเมอร์” (แต่เรื่องราวของซีเรียลมีมาตั้งแต่ปี 1829 แล้ว) นอกจากซีเรียลที่มีคำโฆษณาชวนซื้อแล้ว ยังมีการโฆษณาอาหารเช้าอย่างเบคอนที่บอกว่า “ตื่นเช้ามากินโปรตีนกันนะ” โดยผู้ที่บอกว่าอาหารเช้านั้นสำคัญ

แล้วเราต้องทานมื้อเช้าไหม?

แล้วเราต้องทานมื้อเช้าไหม คำตอบคือ ตามที่เราสะดวกสำหรับหลายคนที่ไม่ได้ทานมื้อเช้าเป็นประจำอยู่แล้วไม่ต้องกังวลว่าร่างกายจะรับไม่ไหว มีการศึกษาจากประเทศอเมริกาพบว่า คนเราสามารถอยู่ในภาวะที่ร่างกายอดอาหารได้นานกว่าที่เราคิด โดยที่ร่างกายของผู้ชายสามารถอดอาหารได้ถึง 16 ชั่วโมง และร่างกายของผู้หญิงอดอาหารได้ถึง 14 ชั่วโมง โดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย 

เส้นทางประวัติศาสตร์ของอาหารเช้า

  • ศตวรรษที่ 13 อาหารเช้าเป็นบาป การทานอาหารเช้าเท่ากับพวกอ่อนแอ จน และตะกละ คนชรา เด็ก และคนป่วย อาหารเช้าในยุคนั้นคือ เบียร์ ไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ ขนมปังข้าวไรย์และชีส ไม่มีเนื้อสัตว์
  • ศตวรรษที่ 15 อาหารเช้าได้รับการยอมรับมากขึ้นและเริ่มเป็นที่นิยม เริ่มมีเนื้อสัตว์อยู่ในอาหารเช้า
  • ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการดื่มชาและกาแฟ ไม่ถือว่าเป็นบาปเพราะไม่ใช่อาหารแต่เป็นเครื่องดื่ม
  • ศตวรรษที่ 18 ทานอาหารเช้าเป็นมื้อหนักปี 1878 มีการปรากฏตัวของกราโนล่า ซึ่งทำให้มีซีเรียลอื่น ๆ ตามมา
  • ปี 1944 ได้มีการปรากฏตัวของโฆษณา “มื้อเช้าเป็นมื้อที่ดีที่สุดของวัน” ขึ้น

เป็นยังไงกันบ้างเรื่องราวของการตลาดกับอาหารเช้าสนุกกันไหมเอ่ย เหมือนว่าการทานอาหารเช้าจะเป็นความเชื่อและวัฒนธรรมมากกว่า แต่การทานอาหารที่ดีคือการทานสิ่งที่มีประโยชน์ สำหรับมื้อเช้าที่ดีควรเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและย่อยง่าย เช่น ธัญพืช ชีส นม ไข่ ปลา ไก่ ผักใบเขียว ถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นต้น ขอให้เพื่อน ๆ ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่