กำหนดการยื่นภาษีของปี 2565 ภงด.90 ในรูปแบบกระดาษจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2566 และรูปแบบ e-filing สิ้นสุดในวันที่ 10 เมษายน 2566 หลายท่านที่ทำประกันไว้หลายฉบับ หรือเพิ่งลองหัดยื่นภาษีคงสงสัยว่ามีประกันแบบใดบ้างที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้าง
การทำประกันชีวิต เป็นการให้ความคุ้มครองชีวิตแก่ผู้ทำประกันเอาไว้ และหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ทางบริษัทประกันจะจ่ายเงินคืนตามทุนประกัน พร้อมให้ผลประโยชน์แก่ผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญา เช่น บุคคลในครอบครัว คู่สมรส หรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการจากไปของผู้ที่ทำประกันชีวิตเอาไว้ทางใดทางหนึ่ง และนอกจากประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ประกันชีวิตแบบ Unit-Linked และประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาแล้ว ประกันสะสมทรัพย์สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ส่วนคำถามที่ว่าประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ เงื่อนไขมีดังนี้
ประกันชีวิตแบบบํานาญ เป็นการทำประกันชีวิตที่เน้นการออมเงินไว้ใช้ตอนเกษียณ โดยส่วนใหญ่จะต้องจ่ายค่าเบี้ยออม (เบี้ยประกัน) อย่างต่อเนื่องตามเงื่อนไขที่กำหนด จากนั้นจะได้รับเงินคืนเป็นรายปีเมื่อถึงอายุที่ระบุในสัญญา เช่น ได้รับเงินรายปีตั้งแต่อายุ 60 – 80 ปี เป็นต้น สรุปง่าย ๆ คือประกันชีวิตแบบบำนาญ เป็นการลงทุนระยะยาวที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการสร้างความมั่นคงในวัยเกษียณให้ตัวเอง (แต่ได้รับสิทธิคุ้มครองชีวิตน้อยเมื่อเทียบกับประกันที่จ่าย) ซึ่งแน่นอนว่าประกันชีวิตบํานาญสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน เงื่อนไขดังนี้
ประกันสุขภาพเป็นตัวช่วยค่ารักษาพยาบาลทั้งกรณีเจ็บป่วย โรคภัยต่าง ๆ และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นค่าหมอ ค่าห้อง ค่ายา หรือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่าง ๆ ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (คุ้มครองและให้วงเงินตามเงื่อนไขที่กำหนด) ซึ่งประกันสุขภาพที่สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ เช่น ประกันสุขภาพแบบคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล แบบประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses) แบบประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care) เป็นต้น สำหรับเกณฑ์ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ มีคำตอบดังนี้
หมดความกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาลของบิดา – มารดา มีรูปแบบประกันครอบคลุมการรักษา ไม่กระทบเงินในกระเป๋า และยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย รายละเอียดดังนี้
ถึงอย่างไรก่อนตัดสินใจทำประกันลดหย่อนภาษี แนะนำว่าไม่ควรซื้อประกันเพื่อเหตุผลของการลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคำนึงความเหมาะสม ที่จะทประกันไว้เสมอ โดยให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์มากที่สุด
สามารถดูข้อมูลอัพเดทได้ที่ กรมสรรพากร | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |