หลายคนอาจสงสัยว่าที่บอกว่าเงินที่หักไปเอาไปจ่ายค่าประกันสังคม แล้วค่าประกันสังคมนี้มีอะไรบ้าง ทำไมเราจำเป็นต้องจ่ายให้ทุกเดือน ครั้งนี้ ACU PAY จะพามาหาคำตอบ พร้อมบอกสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมในแต่ละกลุ่มให้ฟัง
“ประกันสังคม” เป็นการออมเงินภาคบังคับที่รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยทุกคนมีหลักประกันในการใช้ชีวิต มีความมั่นคงให้ครอบครัวและมีเงินเก็บส่วนหนึ่งเตรียมพร้อมใช้เพื่อการเกษียณ ถือเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนผู้มีรายได้ที่จ่ายเงินสมทบเข้า ‘กองทุนประกันสังคม’ อย่างต่อเนื่อง
ในประเทศไทยมีการแบ่งผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคมออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่ มาตรา 33, มาตรา 39 และมาตรา 40 โดยใช้เกณฑ์การแบ่งดังนี้
ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
กลุ่มคนเหล่านี้จะถูกหักเงินสมทบประกันสังคมจากเงินเดือนที่ได้รับในแต่ละเดือนเข้าสู่กองทุนประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอในอัตรา 5% ของค่าจ้าง และนายจ้างจะสมทบเพิ่ม 5% รัฐบาลสมทบเพิ่ม 2.75% โดยคิดเป็นเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 83 บาท ไปจนสูงสุดถึงเดือนละ 750 บาทตามอัตราเงินจ้าง
750 บาท ที่จ่ายไปแบ่งเป็นค่าอะไรบ้าง
▸ 225 บาท สำหรับดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต ถ้าไม่ใช้สิทธิ์ เงินส่วนนี้จะหายไป ไม่ได้คืน
▸ 75 บาท สำหรับประกันการว่างงาน ที่สามารถรับได้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่หากไม่มีช่วงว่างงาน เงินส่วนนี้จะไม่ได้รับคืนเช่นเดียวกัน
▸ 450 บาท เป็นเงินออม ที่จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี
ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ โดยเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนแล้วลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม
กลุ่มคนเหล่านี้จำเป็นต้องนำส่งเงินจำนวน 432 บาทต่อเดือน ทุกเดือนต่อเนื่องกัน ซึ่งหากไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือนส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ก็จะถือว่าสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ในทันที
บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระอายุ 15 – 65 ปีบริบูรณ์ ที่ไม่เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ
การจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน มาตรา 40 ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ สามารถเลือกจ่ายได้ตั้งแต่ 70, 100 และ 300 บาทต่อเดือน เพื่อเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป
ในแต่ละมาตรามีสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน จนอาจทำให้ผู้ประกันสังคมพลาดสิทธิและเงินที่ควรได้ในแต่ละปี โดยสิทธิประโยชน์มีดังนี้
นอกจากนี้หากแพทย์ให้หยุดงานเพื่อรักษาตัว ยังได้รับเงินชดเชย จากการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันรักษาสามารถใช้สิทธิด้านทันตกรรม ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด ได้ไม่เกิน 900 บาทต่อปี นอกจากนี้ยังครอบคลุมไปถึงการทำฟันเทียมชนิดถอดได้บางส่วน และฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก เป็นวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ฉีดปีละ 1 ครั้ง อย่างต่อเนื่อง ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ซึ่งในปี 2566 จะเปิดให้บริการระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 31 สิงหาคม 2566
สิทธิประกันสังคมให้ความคุ้มครองสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนรักษาหลังจากได้รับไวรัสพิษสุนัขบ้าโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
▸ วัคซีนรักษาไวรัสพิษสุนัขบ้า
สิทธิประกันสังคมให้ความคุ้มครองสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนรักษาหลังจากได้รับไวรัสพิษสุนัขบ้าโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน มีระยะเวลาว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป และต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีทุจริตต่อหน้าที่หรือจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อตกงานทั้งเกิดจากการถูกเลิกจ้างหรือลาออก จะได้รับเงินชดเชย ดังนี้
▸ ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชย 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาครั้งละไม่เกิน 180 วัน หรือ 6 เดือน ต่อรอบใน 1 ปี
▸ ในกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างงาน ได้รับเงินชดเชย 30% ของค่าจ้างเฉลี่ยแต่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาครั้งละไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน ต่อรอบใน 1 ปี
สำหรับผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39 และ 40) ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน ผู้ประกันตนที่มีบุตรอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับเงินค่าสงเคราะห์บุตรคนละ 800 บาทต่อเดือน ครั้งละไม่เกิน 3 คน
สำหรับผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (33, 39 และ 40) กรณีทุพพลภาพร้ายแรงจะได้รับเงินชดเชย 50 % ของค่าจ้างเป็นรายเดือนตลอดชีวิต รวมทั้งได้รับสิทธิจ่ายตามจริงเมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ หากรักษาที่เอกชน กองทุนจะจ่ายให้เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท สำหรับผู้ป่วยนอก ส่วนผู้ป่วยในได้เดือนละไม่เกิน 4,000 บาท ทั้งนี้เมื่อชราภาพแล้วผู้ทุพพลภาพยังคงได้รับสิทธิบำเหน็จเหมือนคนทั่วไป
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 36 – 120 เดือน หากเสียชีวิตผู้ประกันตนจะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท บวกกับเงินสมทบ 50 % ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน ส่วนผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 120 เดือน จะได้รับเงินสมทบ 50 % ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 เฉพาะแผน 1 และ 2 จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท พร้อมรับเงินเพิ่มอีก 8,000 บาท กรณีจ่ายสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต สำหรับแผน 3 จะได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
เมื่อรู้เรื่องสิทธิประโยนช์ของประกันสังคมแล้ว ทีนี้เราก็จะไม่พลาดสิทธิและเงินที่ควรได้ในแต่ละปี ถึงแม้ว่าประกันสังคมอาจไม่ได้ครอบคลุมมากเหมือนกับการซื้อประกันสุขภาพ ประกันชีวิตด้วยตัวเองก็ตาม แต่อย่างน้อยประกันสังคมก็สามารถช่วยสิทธิพื้นฐานของประชาชนได้แค่ส่วนหนึ่ง
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |