ผู้ประกอบการทุกท่าน ก่อนที่จะประกอบกิจการ มีบริษัทเป็นของตัวเอง แน่นอนย่อมมีกฎหมายเรื่องภาษี เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเตรียมพร้อม เรามารู้จัก 6 ประเภทภาษี ที่ควรรู้ ดังนี้
หน้าที่ของพลเมืองประเทศไทย ผู้ที่มีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนด ย่อมมีหน้าที่เสียภาษี โดยปกติแล้วผู้ที่เสียภาษี แสดงรายการของตนเองทุกกำหนดภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคม ของปีถัดไป แต่บางกรณีก็ต้องเป็นการเสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ที่เกิดในช่วยครึ่งปีแรก หรืออาจมีการจ่ายแบบหักภาษี ณ ที่จ่ายร่วมด้วย เพื่อให้มีการทยอยชำระได้แต่สามารถขอคืนตามปกติเช่นกันในกรณี เลี้ยงดูบิดามารดา , บริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา , อุปการะคนพิการและทุพลภาพ ไปจนถึงเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญด้วย ที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
ภาษีประเภทนี้ เป็นส่วนที่กฎหมายกำหนดให้เรียกเก็บจากนิติบุคคลในการจ่ายภาษี ปกติแล้ว จะเป็นกลุ่มคนที่มีการจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบบริษัท ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแบบนิติบุคคลและไม่ได้จด วิสาหกิจชุมชน และรวมถึงผู้เริ่มต้นธุรกิจอย่างเราด้วยในอนาคต ถ้าอยากขยับขยายกิจการให้ใหญ่โต โดยแบบแสดงภาษีเงินได้นั้น จะเป็นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 50 เพื่อตัดรอบบัญชีที่จะต้องยื่นใน 150 วัน เมื่อมีการปิดระบบบัญชีในบริษัท และอีกแบบคือ ภ.ง.ด. 51 ที่จะต้องยื่นมาในระยะเวลา 2 เดือน หลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปีด้วย. โดยภาษีแบบนี้ จะมีการเก็บเมื่อกิจการของเรามีอัตราก้าวหน้า ตั้งแต่ 5-35 % ตามรอบปฎิทิน และผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบนี้ต้องมีรายได้ถึงเกณฑ์ ไม่เกิน 60,000 บาทต่อปี โดยยื่นในวันที่ 31 มีนาคมปีถัดไปเสมอ
ตามกฎหมายภาษีอากร ประมวลรัษฎากร เมื่อเราทำธุรกิจธรรมดา ทั้งแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ก็จะต้องจ่ายภาษีในส่วนนี้ รวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ แม้ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายเพิ่งและพาณิชย์ก็ตาม หรือบริษัทจำกัด และบริษัทจำกัด มหาชน. ภาษีแบบนี้จะมีการจัดเก็บในอัตราคงที่เสมอ ปัจจุบันมีกำหนดอยู่ที่ 20 % และสามารถให้มีการขอทำการลดหย่อนสำหรับผู้ทำธุรกิจ SMEs และรอบบัญชีธุรกิจคือ 1 ปี โดยผู้ที่ต้องทำการยื่นภาษีประเภทนี้มักเป็นนิติบุคคลที่ทำธุรกิจประเภทบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และมีระยะเวลาในการยื่น 150 วันตั้งแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อคำนวนกำไรสุทธิจากกิจการของตนเอง แล้วหักตามรายจ่ายที่ระบุในเงื่อนไข มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี โดยมีการคำนวนภาษีตาม ยอดรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย , เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศ และการจำหน่ายกำไรไปนอกประเทศ เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม
ภาษีประเภทนี้ แค่เขียนก็ดูจะอ่านยาก หรือเหมือนภาษากฎหมายแล้ว แต่จริงๆแล้ว เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะมันคือภาษีที่จะ ‘ถูกหักไว้ล่วงหน้า’ และนับเป็นเครดิตด้านภาษีสำหรับผู้ถูกหักด้วย และมีหลักฐานการเงินที่รับรองด้วย หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้คืนมา ส่วนบุคคลที่ทำหน้าที่ในการหักภาษี ก็คือ ผู้ที่ทำการจ่ายเงิน และผู้ถูกหักภาษี ก็คือ ผู้รับเงิน โดยอาจนำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3 เมื่อจ่ายกับบุคคลธรรมดา และแบบ ภ.ง.ด. 53 เมื่อหักกับนิติบุคคล ส่วนผู้เริ่มต้นธุรกิจอย่างเรายังสามารถทำการยื่นขอคืนภาษีในประเภทนี้ได้อีกด้วย โดยที่กฎหมายจะกำหนดว่า ถ้ากิจการของเราหรือคู่ค้า ได้ซื้อของ เราจะหักภาษีไว้เมื่อมีการจ่ายเงินได้ตามแต่ละประเภท และอ้างอิงจากอัตราภาษีที่มีการกำหนดไว้ด้วย
ภาษีแบบนี้ เราน่าจะทำความคุ้นเคยเพิ่มเติม เพราะมีหน้าที่ของผู้ประกอบการสำหรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากเรา , ออกใบกำกับภาษี อาจในรูปแบบกระดาษ หรืออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ , จัดทำรายงาน ภาษีซื้อและภาษีขาย แล้วต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรอีกด้วย
คุ้นเคยกันดีในคำว่า VAT หรือเรียกได้ว่าใกล้ตัวมาก ทุกครั้งที่เราซื้อสินค้า ไม่ว่าจะของกินหรือของใช้ ก็จะต้องจ่ายภาษีประเภทนี้ออกไปแบบอัตโนมัติเลยด้วย โดยมีอัตราที่ใช้ 7 % ทั้งภาษีซื้อและภาษีขาย แต่สำหรับผู้ประกอบการลักษณะเรานั้น ภาษีนี้ จะเก็บจากมูลค่าในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากคนทำธุรกิจ หรือเมื่อให้บริการต่างๆ โดยผู้มีหน้าที่หลักในการเสียภาษีส่วนนี้ ยังรวมถึง ผู้ประกอบการทุกคน ผู้นำเข้าสินค้าเพื่อการค้า การขายปลีก ผู้ส่งออก ผู้ผลิต และผู้ให้บริการด้วยเช่นกัน และรายได้ที่กำหนดต่อปีคือ ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทหรือมากกว่านั้น จะต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 หากเป็นผู้ประกอบการในไทย และ ภ.พ. 36 กรณีเป็นเซิร์ฟเวอร์หรือซอฟท์แวร์ในต่างประเทศ ส่งในทุกๆ วันที่ 15 ของเดือนถัดไปเสมอ และอยู่ในข้อกำหนดไม่ว่าจะมีการจดทะเบียนแบบนิติบุคคล หรือแบบบุคคลธรรมดาด้วย
ไม่ใช่แสตมป์ที่ใช้ส่งจดหมายนะ หรือเรียกง่ายๆ ทุกครั้งที่มีการทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย จะมีอากรตัวนี้เข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ระหว่างกันใน 28 ลักษณะ เช่น การเช่าที่ การเช่าซื้อ หรือกู้ยืมเงินตามบัญชีอากรแสตมป์ โดยใช้การขีดฆ่าเพื่อแสดงไว้ หรือลงลายมือชื่อ จะเป็นภาษีแบบที่มีการจัดเก็บโดยดวงแสตมป์ที่ใช้ในเอกสารราชการ ปิดบนหนังสือสัญญา หรือเอกสารต่างๆ แล้วหน่อยงานของกรมสรรพกากรก็จะเข้ามารับผิดชอบ และเอกสารที่จำเป็นเกี่ยวข้องอาจรวมถึงเรื่อง การเช่าที่ดิน การว่าจ้างทำสิ่งของ ใบมอบอำนาจ หรือหนังสือเช่าทรัพย์สิน เป็นต้น และมักจะมีการกำหนดแนบท้ายสัญญาด้วยแบบฟอร์มตามกฎหมาย เพื่อให้สัญญานั้นๆสมบูรณ์
เพราะการทำธุรกิจแต่ละอย่างก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แม้จะมีภาษีแบบที่เก็บจากธุรกิจที่ขายสินค้า หรือกับธุรกิจด้านการบริการ มองผ่านๆ อาจดูเหมือนเสียภาษีลักษณะเดียวกัน แต่จริงๆ กลับมีรายละเอียดที่แตกต่างกันมากอยู่ด้วย มีภาษีที่ต้องจ่ายด้วยกันอาจถึง 4 ประเภท และมีภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ด้วยเช่นกัน สำหรับภาษีแบบนี้
หลักในการเสียภาษีแบบธุรกิจเฉพาะ จะอยู่ในส่วนของกิจการ หรือบริการเกี่ยวกับ การธนาคาร ทั้งแบบธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายเฉพาะ ธุรกิจประภทเงินทุน หลักทรัพย์ ฟองซิเอร์ การประกันชีวิต ตลอดจน โรงรับจำนำ หรือการดำเนินธุรกิจแบบธนาคารพาณิชย์อย่าง การกู้ยืมค้ำประกัน การแลกเปลี่ยนเงินตรา ตั๋วเงิน หรือธุรกิจสตาร์ทอัพแบบฟินเทค เป็นต้น แบบในการยื่นภาษีก็คือ ภ.ธ.40 ต้องเสียภาษีรวม 3.3% จากอัตราภาษีท้องถิ่นและยื่นภายใน 15 วันของเดือนถัดไปด้วย
ยังมีภาษีประเภทอื่นๆ ที่ควรทำความเข้าใจ อาจเป็นลักษณะของธุรกิจ เช่น ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ในอัตรา 12.5 % ต่อปี , ภาษีจากการเก็บค่าเช่า หรือค่าบริการจากทรัพย์สิน , ภาษีป้ายขนาดใหญ่ตามตัวอักษรไซส์ต่างๆ และภาษาบนป้าย เริ่มต้นที่ 200 บาท แต่ก็มีป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีที่ยื่นต่อสำนักงานเขตแล้ว ไปจนถึงภาษีสรรพสามิต กับธุรกิจฟุ่มเฟือยที่อาจให้โทษกับประชาชน เช่นยาสูบ สุรา เป็นต้น
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |