ถึงแม้ว่าการลงทุนใน ตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงต่ำ มากกว่ากว่าหุ้น และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอ แต่ก็ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาหากคิดจะลงทุน ครั้งนี้ ACU PAY จะพามาทำความรู้จักตราสารหนี้แบบรวบรัด และข้อระวังในการลงทุนสำหรับมือใหม่ที่กำลังสนใจในการลงทุนตราสารหนี้
ตราสารหนี้ (Bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ถือ (นักลงทุน) มีสถานะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกมีสถานะเป็นลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และจะได้รับ “เงินต้น” คืนเมื่อครบกำหนดอายุ
จุดเด่นตราสารหนี้ตรงคือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อย แต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เฉลี่ยที่ 2 – 5% สูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากทั่วไปที่ให้ดอกเบี้ยประมาณ 0.3 – 0.5% นอกจากนี้ตราสารนี้ยังมีความผันผวนต่ำกว่าการลงทุนอื่น ๆ ทำให้ตราสารหนี้เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดี
ตราสารหนี้มีการแบ่งประเภทได้หลายแบบ ในที่นี้ขอแบ่งตามประเภทผู้ออกตราสารเป็น 2 ประเภท อย่างเช่น
1. ตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐ
ตราสารหนี้ภาครัฐหน่วยงานที่เป็นผู้ออกพันธบัตร คือ กระทรวง หรือหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรออมทรัพย์ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และตั๋วเงินคลัง โดยรัฐจะนำเงินจากประชาชนไปกู้ยืมเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ผ่านการดำเนินนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ
2. ตราสารหนี้ที่ออกโดยเอกชน
หรือ หุ้นกู้ เป็นตราสารหนี้ที่มีการกำหนดอายุที่แน่นอน มักมีการจ่ายดอกเบี้ยเป็นงวด และชำระคืนเงินต้นเมื่ออายุครบกำหนด ส่วนใหญ่จะเป็นตราสารหนี้ระยะสั้น เช่น 3 เดือน, 1 ปี, 3 ปี, 10 ปี หรืออาจไม่มีอายุครบกำหนด เรียกว่าหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bond) เมื่อครบกำหนด ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนเท่าราคาหน้าตั๋ว จึงได้กำไรเท่ากับส่วนต่างจากราคาหน้าตั๋ว หักด้วยราคาที่ซื้อลดในตอนแรก
โดยทั่วไปตราสารหนี้เอกชนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ โดยใช้วัดความน่าเชื่อถือได้จาก การจัดอันดับเครดิต หรือ Credit Rating ยิ่งอันดับความน่าเชื่อถือสูงเท่าไร ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ก็ยิ่งต่ำเท่านั้น
กลุ่มที่ 1: Investment Grade เริ่มต้นตั้งแต่ AAA ถึง BBB กลุ่มนี้ถือเป็นตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำกว่า มั่นคง
กลุ่มที่ 2: High Yield Bond เริ่มต้นตั้งแต่ BB ถึง D กลุ่มนี้เป็นกลุ่มตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูงกว่ากลุ่มแรก จึงทำให้มีอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นตาม เพื่อชดเชยความเสี่ยงนั้น แต่ก็แลกมากับโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้ได้มากกว่า มักใช้ในเพื่อเก็งกำไร
ในช่วงที่ดอกเบี้ยขาขึ้น ควรจะเลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่อายุสั้น อายุน้อยกว่า 1 ปี เพราะตราสารหนี้กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบของราคาไม่มากเมื่อดอกเบี้ยมีการปรับขึ้น กลับกันหากดอกเบี้ยเป็นช่วงขาลง ก็ควรเลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่อายุยาว มากกว่า 1 ปีขึ้นไป เหมาะกับแผนการลงทุนระยะยาว เพื่อโอากาสที่ตราสารหนี้มีการปรับราคา และสามารถเก็งกำไรได้อนาคต
1. ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยที่ผันผวน
ถึงแม้ว่าตราสารหนี้จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า และผู้ลงทุนทราบตั้งแต่แรกว่าจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ยเป็นเท่าไร แต่หากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จะทำให้ราคาของตราสารหนี้ที่มีอยู่แล้วในตลาดลดต่ำลง เพื่อชดเชยที่ดอกเบี้ยของตราสารหนี้ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน และตราสารหนี้ที่กำลังจะออกใหม่ ก็จะต้องเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นให้แก่นักลงทุน
นอกจากนี้ ยิ่งตราสารหนี้มีอายุเฉลี่ยที่ถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่จะได้รับจากตราสารหนี้ในอนาคต (Duration) มากขึ้น ก็จะยิ่งได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการเลือกลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้นหรือระยะยาว ก็ต้องพิจารณาแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน
2. ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้
ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทตราสารหนี้ที่ลงทุน ถ้าเป็นของบริษัทเอกชน ยิ่งมีอันดับการจัดบัตรเครดิตต่ำ ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระสูง ทำให้นักลงทุนอาจจะไม่ได้รับเงินคือ หรือได้รับไม่เต็มจำนวนความเสี่ยงนี้ถือเป็นความเสี่ยงหลักของการลงทุนในตราสารหนี้
3. ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง
เกิดขึ้นจากการที่ตราสารหนี้นั้นไม่มีสภาพคล่องในตลาด ทำให้เวลาที่ต้องการจะขายตราสารหนี้ ก็อาจขายไม่ได้ในเวลาหรือราคาที่ต้องการ เช่น ราคาที่ขายจริงต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น แต่ถ้าถือไปจนครบกำหนดก็ไม่ต้องกังวลกับความเสี่ยงนี้
ตราสารหนี้เป็นอีกทางเลือกลงทุนที่น่าสนใจท่ามกลางสภาวะตลาดการเงินที่ผันผวนจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างไรก็ตามก่อนการลงทุนทุกครั้ง ควรมีการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อเตรียมพร้อมกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการลงทุน
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |