ใครคิดว่าทำงานมีเงินแล้วไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้ สรรพากรคงไม่มีทางรู้หรอก บอกเลยว่าเตรียมตัวกันให้ดี เพราะความจริงแล้วสรรพากรสามารถรู้รายได้ของเราได้หลากหลายช่องทางมากมาย แล้วจะมีช่องทางไหนบ้างที่สรรพากรใช้ตรวจสอบการเงินของเรา ครั้งนี้ ACU PAY จะมาบอกความอธิบายให้ฟัง
ถึงแม้ว่าการรับเงินจะไม่โอนผ่านธนาคาร สรรพากรสามารถตรวจสอบรายได้ของท่านได้ เนื่องจากผู้จ้างที่เป็นนิติบุคคลต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งให้แก่สรรพากรเสมอ รวมถึงแจ้งข้อมูลผู้ได้รับเงิน ทั้งชื่อ เลขบัตรประชาชนไปในแบบนำส่งภาษีที่หักไว้ดังกล่าวด้วย
และถ้าหากบริษัทผู้จ่ายเงินถูกสรรพากรตรวจสอบเอกสาร ผู้ประกอบการจะต้องมีการนำส่งรายการบันทึกค่าใช้จ่ายของบริษัทให้กรมสรรพากร ซึ่งในบันทึกนั้นจะต้องมีการระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้โดยละเอียด ส่งพร้อมเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน
หากมีเงินเข้าบัญชี ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชี ผ่านช่องทางสมาร์ตโฟน บัตรเครดิตต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สรรพากรทราบรายละเอียดของเงินที่เข้ามาเยอะผิดปกติได้ เพราะตามกฎหมายผู้ให้บริการด้านการเงิน อย่าง ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาครัฐ รวมถึง Payment Gateway หรือ e-Wallet ต่าง ๆ จำเป็นต้องส่งรายงานข้อมูลธุรกรรมให้กับกรมสรรพากร ไม่ว่าจะกรณีฝากเงินหรือโอนเงิน โดยเงื่อนไขในการส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร มีดังนี้
2.1. มีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่สนใจยอดจำนวนเงิน
2.2. มีเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี และ จำนวนเงิน (นับเฉพาะฝั่งเงินรับฝากเข้า) รวมเกิน 2 ล้านบาท
ทั้งนี้ จะนับรวมเป็นรายปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ โดยข้อมูลที่ส่งให้กับกรมสรรพากรจะรู้แค่ข้อมูลรายได้เบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่สามารถนำมาเก็บภาษีได้ ต้องนำไปประมวลผลกับข้อมูลอื่น ๆ ร่วมด้วย ว่าถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษีแล้วหรือไม่
สรรพากรได้เปิดให้ประชาชนร่วมแจ้งเบาะแสข้อมูล เมื่อพบเห็นความไม่ถูกต้องในการเสียภาษี มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษี หรือแจ้งข้อมูลผู้เสียภาษีรายใหม่ที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษี ผ่านช่องทาง www.rd.go.th เมื่อมีรายงานเข้ามาเป็นจำนวนมาก สรรพากรก็จะดำเนินเรื่องติดตามต่อไป
เป็นระบบ AI ที่สรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อดึงข้อมูลจากเว็บไซต์มาวิเคราะห์ตรวจสอบ และบันทึกเป็นฐานข้อมูล โดยสามารถสุ่มตรวจกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านการดึงข้อมูล ราคา และจำนวนสินค้าที่ขายได้ตามเว็บ e-commerce นอกจากนี้สรรพากรยังสามารถรู้ข้อมูลของผู้จ่ายเงินให้ร้านค้าได้ อย่างเช่น เราขายของผ่านเว็บ e-commerce เช่น Shopee, Lazada ทางเว็บ e-commerce จะหักค่าบริการในอัตราที่กำหนดจากยอดขายของเรา เช่น 20% หรือ 30% ของยอดขาย พร้อมกันนั้นทางเว็บ e-commerce ก็จะส่งใบกำกับภาษีให้กับเราและส่งให้สรรพากรด้วย
เพื่อคัดกรองตรวจสอบความผิดปกติว่า ผู้ประกอบการใดบ้างจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงภาษี และกลุ่มใดจัดอยู่ในกลุ่มดี โดยวิเคราะห์จากตัวเลขทรัพย์สินที่สูงผิดปกติ หรือมีพนักงานเงินเดือนสูงๆ ในกลุ่ม SMEs
สรรพากรยังรวบรวมประวัติการเสียภาษีทุกรูปแบบร่วมกับข้อมูลจากภายนอก เช่น กรมการขนส่ง การไฟฟ้า และการประปา เป็นต้น จากนั้นนำมารวบรวมเพื่อคำนวณอัตราส่วนทางการเงิน และประเมินออกมาเป็นคะแนน หากรายใดคะแนนสูง ถือว่ามีความเสี่ยงที่สูงกว่ารายที่มีคะแนนต่ำกว่า ยกตัวอย่างการใช้ระบบ Data Analytic เช่น สรรพากรเชื่อมข้อมูลกับการไฟฟ้า การประปา ซึ่งหากพบว่าการใช้ไฟฟ้ากับการใช้น้ำประปาของเราใกล้เคียงกับคนที่ทำธุรกิจแบบเดียวกับเรา แต่เขาแจ้งรายได้สูงกว่า สรรพากรก็อาจสงสัยว่าเราแจ้งรายได้ไม่ครบถ้วนได้
สำหรับบุคคลใดไม่เคยยื่นภาษีเลย สรรพากรสามารถใช้อำนาจในตรวจภาษีย้อนหลังได้ถึง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้าบุคคลนั้นทำการยื่นภาษี ก่อนโดนหมายเรียก อำนาจในการตรวจของสรรพากรจะลดลงเหลือแค่ 5 ปี ในกรณีไม่มีความผิดร้ายแรง สรรพากรจะทำการตรวจสอบย้อนหลังแค่ไม่เกิน 2 ปี
ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่จะโดนสรรพากรตรวจ ประชาชนทุกคนที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี ควรจะดำเนินเรื่องยื่นภาษีให้ถูกต้อง เพราะไม่ว่าจะหลีกเลี่ยงด้วยอะไรก็ตาม ถ้าสรรพากรสังเกตถึงความผิดปกติ สรรพากรสามารถใช้อำนาจตรวจสอบได้ทุกเวลาที่คุณอาจคาดไม่ถึง
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |