fbpx
Search
Close this search box.

เจาะประวัติศาสตร์ชาจีน

ชาที่เพื่อน ๆ ชอบดื่มกัน ไม่ว่าจะเป็น ชานมไข่มุก ชาไทย ชาเขียว รู้หรือเปล่าว่าจุดกำเนิดของชานั้นเริ่มมาจากไหน ทำไมบางที่เรียก “ชา” บางที่ เรียก “ที” วันนี้เอซียูเพย์ จะพาไปทำความรู้จักประวัติของชา โดยเฉพาะชาของจีน และประเภทของชาในปัจจุบัน พร้อมแล้วยกชาขึ้นมาจิบแล้วไปเจาะประวัติชากันเลยยย

ตำนานเก่าแก่เกี่ยวกับชา

คำบอกเล่าที่เก่าแก่ที่สุดนั้นเกิดเมื่อ 2,737 ปี ก่อนคริสตกาล โดยจักรพรรดิหรือเทพเจ้าที่มีชื่อว่า “เฉินหนง” (Shennong หรือ Shen Nung) วันหนึ่งเฉินหนงกำลังนั่งพักอยู่ใต้ต้นไม้ เขาให้บ่าวไพร่ต้มน้ำร้อนมาให้ ระหว่างนั้นมีใบไม้จากต้นไม้ปลิวหล่นลงไปในถ้วยน้ำของเขา ด้วยความที่จักรพรรดิรอบรู้เรื่องสมุนไพร จึงตัดสินใจลองดื่มน้ำที่มีรสของใบไม้ใบนั้น ซึ่งใบไม้มากจากต้น คาเมลเลีย ซิเนนซิส (Camellia sinensis) ซึ่งคือต้นชาที่ใช้ดื่มมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ชาในจีน

มีหลักฐานโบราณคดีที่ยืนยันว่ามีการปลูกต้นชาไว้ในประเทศจีนตั้งแต่เมื่อ 6,000 ปีก่อน แต่ก่อนหน้านี้ชาวจีนบริโภคใบชาในฐานะส่วนประกอบในอาหาร ทั้งการกินแบบผักหรือการนำไปต้มกับโจ๊ก นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสำคัญที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับเรื่องชา นั่นก็คือ “วรรณกรรมชาคลาสสิกฉาชิง (Cha Ching)” เป็นตำราเล่าเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของชา การปลูกชา การผลิตชา คุณภาพของชา วิธีการดื่มชา อุปกรณ์การชงชาและธรรมเนียมการชงชา เป็นเล่มแรกในประวัติศาสตร์โลก 

การค้นพบกรรมวิธีการผลิตชาได้นำไปสู่วัฒนธรรมการดื่มชาอันเป็นเอกลักษณ์ในจีน แม้แต่ศิลปินหลากหลายสาขาล้วนนำไปพัฒนาในงานศิลป์ของตน อย่างเช่น เล่าจื๊อ นักปรัชญาคนสำคัญของจีน ได้พรรณนาลักษณะของชาไว้ว่าเป็นดั่งฟองแห่งหยกไหล และเป็นส่วนผสมที่ขาดไม่ได้ในน้ำอมฤต (elixir of life) 

วัฒนธรรมการดื่มชาได้แพร่กระจายไปทั่วอาณาจักรในสมัยราชวงศ์ถังกลางศตวรรษที่ 8 และได้แพร่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันออก ทั้งเกาหลี ญี่ปุ่น และเวียดนาม หลังจากนั้นชาเริ่มแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่มเป็นที่รู้จักในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 นั่นเอง

ทำไมบางที่เรียก ชา “cha” บางที่เรียก ที “tea” “te”

หากลองสังเกตดี ๆ จะพบว่าบนโลกนี้มีคำเรียกชาอยู่เพียง 2 แบบเท่านั้น เรียกว่า “cha” และ “te” โดยสองคำนี้ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากภาษาจีนเหมือนกัน เพียงแต่อ่านออกเสียงแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค 

คำว่า ชา (Cha) มาจากการอ่านออกเสียงแบบกวางตุ้งที่ใช้กันในแถบมณฑลกวางโจวในบริเวณเขตพาณิชย์อย่างฮ่องกงและมาเก๊า ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับชาวโปรตุเกส โดยชาวโปรตุเกสก็ได้นำคำนี้ไปเผยแพร่ต่อในบริเวณประเทศอินเดียช่วงศตวรรษที่ 16 และไทยก็ได้รับอิทธิพลต่อมาเช่นกัน

คำว่า ที (Te) มาจากสำเนียงฮกเกี้ยน โดยใช้ในแถบท่าเรือ เสี่ยเมิน และ เฉวียนโจว ที่ต้องติดต่อกับชาวยุโรปตะวันตกรวมไปถึงชาวดัตช์ คำนี้ได้เผยแพร่ในดินแดนอาณานิคมอย่างชวา ชาวมาเลย์ และจากนั้นชาวดัตช์ได้นำคำนี้ไปแพร่หลายในยุโรปตะวันตก จนกลายเป็นศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “tea” นั่นเอง

ประเภทของชาที่นิยมดื่มกันในปัจจุบัน

ปัจจุบันชาแต่ละประเภทขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ วิธีการเก็บและกระบวนการแปรรูป โดยชาที่นิยมดื่มกันมี 5 ประเภท ได้แก่

1 ) ชาเขียว (Green Tea)

ผลิตจากยอดชาอ่อนสีเขียว และนำมาอบไอน้ำเพื่อคงความสดใหม่ กระบวนการผลิตชาเขียวแบบจีนและญี่ปุ่นมีความแตกต่างกัน อย่างเช่น การบดใบชาให้เป็นผงเรียกว่า “โหม่ฉา (Mǒchá)” หรือผงชามัทฉะที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

2 ) ชาอู่หลง (Oolong Tea)

ผลิตจากยอดชาอ่อนสีเขียวเช่นกัน แต่หลังอบไอน้ำแล้ว จะนำมาหมักบ่มอีกครั้ง ทำใหมีรสชาติขมเล็กน้อย

3 ) ชาขาว (White Tea)

เป็นชาราคาแพง เพราะเก็บเกี่ยวได้ปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ยอดชาอ่อนมีขนบาง ๆ สีขาวปกคลุ่ม หลังเก็บเกี่ยวแล้วจะนำมาตากให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็วเพื่อรักษาความสดใหม่ ใบชาจะมีกลิ่มหอมอ่อน ๆ 

5 ) ชาดำ (Black Tea)

ผลิตจากใบชาแห้ง ที่นำไปรีดน้ำออกจนหมด และหมักบ่มจนเป็นสีส้ม หรือสีแดง เป็นชาที่ได้รับความนิยมแพร่หลายมากที่สุด หรือที่รู้จักกันว่า “ชาฝรั่ง” ต่าง ๆ อย่างเมนูยอดฮิต “ชาไทย” หรือ “ชานมไข่มุก” ก็มาจากชาดำเช่นกัน

6 ) ชาแต่งกลิ่น ชาผลไม้ และชาสมุนไพร

มักนำชาดำมาแต่งเติมด้วยกลิ่นผลไม้ หรือดอกไม้ บางทีก็เติมน้ำตาล หรือชาที่ทำจากผลไม้และดอกไม้แห้ง 100% เช่น เก๊กฮวย กระเจี๊ยบ ตะไคร้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่