fbpx
Search
Close this search box.

ทำไมเราถึงใช้ e-Money ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าเงินจะหาย

ทำไมเราถึงใช้ e-Money ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าเงินจะหาย

      ช่วงเวลาที่ผ่านมาหลายๆคนคงได้เคยช้ e-Wallet ที่เป็นกระเป๋าเงินที่อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เก็บเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือที่เรียกว่า e-Money และเพื่อใช้จ่ายเราต้องเติมเงินก่อน ดังนั้นเพื่อให้ทุกคนมั่นใจว่าเงินที่เราเติมจะไม่สูญหายไปไหนมาดูกันครับว่าผู้ให้บริการต้องมีมาตรการ และปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้เราใช้ e-Moneyได้โดยไม่ต้องกังวลว่าเงินที่เราเติมจะหายไปไหนหรือไม่

e-Money คืออะไร?

      e-Money (Electronic Money) หรือ เงินอิเล็กทรอนิกส์ คือ มูลค่าเงินที่ถูกบันทึกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์(เช่น ชิปคอมพิวเตอร์ในบัตรแทนเงินสดหรือบัตรพลาสติก เครือข่ายโทรศัพท์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต )ซึ่งผู้ใช้งานได้ชำระหรือเติมเงินไว้ล่วงหน้า หรือหักผ่านบัญชีธนาคารโดยตรง (Pre-paid) แก่ผู้ให้บริการ e-Money หรือ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในชื่อ e-Wallet ซึ่งสามารถใช้ชำระสินค้า หรือบริการได้ตามที่ร้านค้าที่รับชำระ

เหตุผลที่เราใช้ e-Money (เงินอิเล็กทรอนิกส์) ได้อย่างมั่นใจ

  1. การจะเปิดให้บริการ e-Money ได้นั้นผู้ให้บริการจำเป็นต้องขออนุญาตจากทางธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อประกอบธุรกิจบริการ และบริษัทที่จะได้ใบอนุญาตนั้น ต้องมีคุณสมบัติ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกำหนดอย่างเคร่งครัด
  2. ผู้ประกอบธุรกิจ e-Money จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท เพื่อแสดงถึงฐานะทางการเงินที่มั่นคงให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจ และเชื่อถือในการให้บริการ
  3. เงินของผู้ใช้บริการที่เติมเพื่อใช้จ่ายไว้ล่วงหน้าจะปลอดภัย เพราะผู้ประกอบธุรกิจ e-Money ต้องเก็บเงินของ ผู้ใช้บริการไว้ที่ธนาคาร และห้ามนำไปใช้ในกิจการใด ๆ ของผู้ให้บริการ หรือ ปล่อยสินเชื่อ
  4. ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลกระบวนการ KYC (Know Your Customer) รวมทั้งความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ เช่น ความปลอดภัยของระบบ และภัยไซเบอร์ที่จำเป็นต้องทดลองระบบป้องกันอยู่เสมอ เพื่อป้องกัน และให้ความมั่นใจให้การให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ

คนไทยใช้จ่ายด้วย e-Money เฉลี่ย 41 บาท

        ในปัจจุบัน e-Money มีอัตราการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นทางเลือก และพัฒนาการที่สำคัญในการชำระเงิน และเมื่อเจาะลึกถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายด้วย e-Money พบว่า ธุรกรรมส่วนใหญ่กว่า 83% มีมูลค่าต่ำกว่า 100 บาท มีมูลค่าเฉลี่ยเพียง 41 บาทต่อรายการเท่านั้นมูลค่าใช้จ่ายที่ต่ำยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความถี่ และการใช้จ่ายด้วย e-Money เป็นตัวเลือกที่คนไทยเลือกใช้ในการใช้จ่าย หรือชำระค่าสินค้าเป็นประจำในชีวิตประจำวันแทนการใช้เงินสด

คนไทยใช้ e-Money ทำอะไรบ้าง

  1. 47.2% เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ มูลค่าเฉลี่ย 114 บาท/รายการ
  2. 29.8% รองลงมาคือการชำระค่าโทรศัพท์ มูลค่าเฉลี่ย 67 บาท/รายการ
  3. 17.0% โอนเงิน มูลค่าเฉลี่ย 287 บาท/รายการ
  4. 2.7% ชำระค่าบริการทางการเงิน 345 บาท/รายการ
  5. 2.6% ชำระค่าสาธารณูปโภค มูลค่าเฉลี่ย 217 บาท/รายการ
  6. 0.7% ถอนเงิน มูลค่าเฉลี่ย 996 บาท/รายการ

ปริมาณการใช้จ่าย e-Money ปี 2021

        จากข้อมูลของในปี 2021 ปีที่ผ่านมา มีปริมาณการใช้จ่ายมากกว่า 2,537 ล้านครั้ง หรือเฉลี่ยมากกว่า 7 ล้านครั้งต่อวัน หากเทียบกับประชากรในประเทศไทยใช้จ่ายคนละ 1 ครั้งต่อวัน จะคิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด และเทียบเทียบกับระบบ e-Payment โดยรวมที่มีปริมาณการใช้จ่ายกว่า 20 ล้านรายการ คิดเป็นร้อยละ 25 ของระบบ e-Payment ทั้งหมด

       จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานั้นสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมคนไทยในการใช้ e-Money(เงินอิเล็กทรอนิกส์) ในชีวิตประจำวันมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะใช้แทนเงินสดเพิ่มมากขึ้นด้วย สังเกตได้จากมูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยที่ไม่สูงมากนัก แต่กลับมีปริมาณที่ใช้จ่ายในระบบ e-Payment ที่สูง

เพื่อนๆ คิดว่าอะไรที่จะทำให้ระบบ e-Money เติบโต หรือเป็นระบบการชำระเงินที่ใช้แทนเงินสดได้บ้างครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่