fbpx
Search
Close this search box.

พฤติกรรมการใช้ e-Payment และ เงินสดของคนไทยในปัจจุบัน

พฤติกรรมการใช้-e-Payment-และ-เงินสดของคนไทยในปัจจุบัน

        วันนี้เรามาดูสถิติการใช้เงินสด และ e-Payment ในประเทศไทยกันครับว่า สัดส่วนของการใช้เงินสด และการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Payment คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ สิ่งที่สำคัญเราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อเป็นการสนับสนุนการใช้จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Payment เพื่อประสบการณ์ชำระเงินที่ดีกว่า

      จากข้อมูลผลสำรวจของ Payment Diary ในปีที่ 2564 ที่ผ่านมาพบว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังใช้เงินสดเป็นสื่อหลักการชำระเงินมากถึง 87% โดยวัดจากปริมาณ และมีการใช้ e-Payment เพียง 13 % โดยธุรกรรมผ่าน app เป๋าตัง มีสัดส่วนสูงสุดที่ 67 % สะท้อนให้เห็นว่าโครงการภาครัฐ มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นการใช้ e-Payment ขณะที่สัดส่วนมูลค่าการใช้ e-Payment คิดเป็น 36% โดยในธุรกรรมที่มีมูลค่ามากกว่า 500 บาท mobile & internet banking เป็นสื่อชำระที่มีสัดส่วนมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าประชาชนชำระเงินที่มีมูลค่าสูงโดยผ่าน e-Payment

        จากสถิติจะเห็นได้ว่าแม้สัดส่วนการปริมาณการชำระเงินผ่าน APP เป๋าตังนั้นมีสัดส่วนถึง 67% แต่กลับไม่สอดคล้องกับมูลค่าการชำระ สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายว่า มีความถี่ในการใช้งานที่สูง อาจเป็นไปได้ว่า APP เป๋าตังคือสิ่งที่คนจะเลือกใช้เป็นอันดับต้นๆ ในการใช้งาน ทั้งนี้อาจจะเพราะว่า การที่รัฐบาลจัดทำโครงการต่างๆเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายโดยใช้ APP เป๋าตังเป็นตัวกลางในการทำโครงการ สิ่งที่น่าจับตามองก็คือเมื่อไม่มีโครงการจากทางรัฐบาล การใช้จ่าย หรือการชำระเงินผ่าน APP เป๋าตังจะเป็นอย่างไร จะยังตัวเลือกอันดับต้นๆในการชำระเงินอยู่หรือไม่

ทำไมเราถึงควรสนับสนุนการชำระเงินผ่าน e-Payment

       เพราะการใช้เงินสดนั้นมีต้นทุนที่แฝงอยู่มากมาย ทั้งในมุมการการจัดการ และการผลิตที่มีต้นทุนสูง ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้เอง หรือธุรกิจลองมาดูข้อดีข้อเสียของเงินสดกันครับ

  1. e-Payment มีต้นทุนการจัดการ และต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเงินสด
  2. e-Payment สามารถป้องกันการทุรจริต หรือยักยอกจากลูกค้า หรือพนักงานได้
  3. e-Payment ช่วยป้องกันการถูกโจรกรรมจากการพกหรือเก็บเงินสดไว้กับตัวเอง
  4. e-Payment ช่วยป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัส หรือใกล้ชิด
  5. e-Payment ช่วยประหยัดเวลา ง่ายต่อการจัดการ และตรวจสอบ เช่น การจัดทำบัญชีที่ง่ายขึ้น หรือการตรวจสอบประวัติการใช้จ่าย
  6. e-Payment ช่วยลดข้อผิดพลาดจากทำธุรกรรม เช่น นับเงินผิด หรือทอนเงินลูกค้าผิด

จะส่งเสริมการชำระเงินผ่าน e-Payment ได้อย่างไร

      จากผลสำรวจของ Payment Diary แนะนำแนวทางดังนี้

  1. ผู้ใช้งาน จูงใจคนใกล้ชิด และเพื่อนโดยการให้ความรู้และข้อดีของ e-Payment เป็นอย่างไร ในเรื่องความรวดเร็ว การใช้งานง่าย/สะดวก, ใช้จ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา และปลอดภัย ตอบโจทย์การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  2. บริษัทหรือนายจ้าง ส่งเสริมการจ่ายค่าจ้าง e-Payment มากขึ้น เนื่องจากช่องทางการรับรายได้ มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการชำระเงิน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการชำระเงินของคนในสังคมได้ในระยะยาว
  3. ร้านค้า ส่งเสริมให้ร้านค้ารับชำระผ่าน e-Payment เพิ่มช่องทางการรับชำระเงิน และลูกค้าจะปรับพฤติกรรมตามความต้องการของร้านค้า จึงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ณ จุดรับชำระเงิน แสดงให้เห็นถึงความง่ายและสะดวกของการรับเงินผ่าน PromptPay หรือ e-Wallet
  4. ผู้ให้บริการระบบการชำระเงิน ส่งเสริมผู้ให้บริการระบบชำระเงินเน้นการพัฒนา application/platform ที่ตอบโจทย์แก่ประชาชน ทั้งด้านความรวดเร็ว ใช้งานง่าย, สะดวก, จ่ายได้ทุกที่ ทุกเวลา และปลอดภัย
  5. ภาครัฐ ร่วมมือกับภาครัฐมีนโยบายหรือกระตุ้นการใช้ e-Payment ของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน หลังสิ้นสุดสถานการณ์โควิด 19

        Payment diary ได้สำรวจและเจาะลึกพฤติกรรมการชำระเงินของคนไทยในปัจจุบันว่ายังคงมีการใช้เงินสดเป็นหลัก แต่ได้สะท้อนแนวโน้มที่ดีของการใช้ e-payment มากขึ้น สอดคล้องกับสถิติการใช้จ่ายผ่าน e-Payment ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ปัจจุบันมีปริมาณการชำระผ่าน e-Payment มากถึง 20,660,213 ล้านรายการ เพิ่มขึ้นเกือบ ๆ 3 เท่าจากปี 2018 ซึ่งปีที่ก่อนจากมีสถานการณ์โควิด 19 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆสามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่