fbpx
Search
Close this search box.

เจ้าของบ้าน กับ เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน ต่างกันอย่างไร

กฎหมายของทะเบียนบ้าน

เวลาซื้อคอนโด ซื้อบ้าน สิ่งที่เราทุกคนต้องปฏิบัติตามก็คือกฎหมายของทะเบียนบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเข้า แจ้งการเกิด การเสียชีวิต ซึ่งจะมีคำถามที่น่าสงสัยนั่นก็คือ เจ้าของบ้าน กับ เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน มีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร ซึ่งครั้งนี้ ACU PAY จะมาไขข้อสงสัยนี้กัน

เจ้าของบ้าน VS เจ้าบ้าน ต่างกันอย่างไร

เจ้าของบ้าน คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน มีสิทธิ์ในสัญญาซื้อขาย หรือโอนให้ใครก็ได้ มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องที่สำคัญเมื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้าน การที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอย่างน้อย 1 ปี จะมีประโยชน์ตั้งแต่ เรื่องของการผลักภาระภาษีได้ และบริหารภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เจ้าบ้าน คือ ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่น ๆ มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้ 

    • แจ้งคนเกิดในบ้าน
    • แจ้งคนตายในบ้าน
    • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
    • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
    • ขอเลขที่บ้าน

โดยการแจ้งเกิด ย้ายเข้า-ออก สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน และขอเลขที่บ้าน ต้องแจ้งภายใน 15 วัน ส่วนการแจ้งตายต้องแจ้งภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ และถ้าไม่ปฏิบัติจะต้องเสียค่าปรับ 1,000 บาท

ทั้งนี้ หากเจ้าบ้านมีกิจธุระไม่สามารถมาแจ้งด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้สมาชิกภายในบ้านเข้ามาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะระบุว่าบุคคลอันได้รับมอบหมาย เป็นผู้ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้าน นอกจากนี้ถ้าในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ 

ความแตกต่างระหว่าง เจ้าของบ้าน กับ เจ้าบ้าน

เจ้าบ้านเหมือนเป็นนายทะเบียน คอยแจ้งการเกิด การเสียชีวิต ย้ายเข้าออก และยังเป็นเหมือนตัวแทนในบ้าน เผื่อเวลาประสานงานต่าง ๆ ก็จะแจ้งมาทางเจ้าบ้าน แล้วก็แจ้งให้ลูกบ้านทราบอีกที เช่น น้ำไม่ไหล ไฟไม่ติด เป็นต้น ซึ่งเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ 

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเกิดเจ้าบ้านเกิดไม่พอใจสมาชิกในบ้าน แล้วต้องการไล่ออกจากบ้าน พร้อมคัดชื่อออก กรณีนี้เจ้าบ้านไม่มีสิทธิ์ทำได้ ยกเว้นชื่อเจ้าบ้านเป็นชื่อเดียวกับเจ้าของบ้านเท่านั้น เจ้าบ้านจะมีสิทธิ์คัดชื่อ เข้า ออก ทั้งการอยู่เอง หรือเช่า เกี่ยวข้องกับทะเบียนราษฎรเท่านั้น แต่จะไม่มีสิทธิครอบครองบ้าน 

ทำไมมีบ้านหลายหลัง แต่เป็นเจ้าบ้านเองทุกหลังไม่ได้

กรณีที่ผู้เป็นเจ้าของบ้าน มีบ้านมากกว่า 1 หลัง แต่ไม่สามารถเป็นเจ้าบ้านเองได้ทุกหลังนั้น ก็เพราะว่าในทะเบียนราษฎร ได้กำหนดไว้แล้วว่า 1 บุคคลสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว ส่วนบ้านที่เหลือ ผู้เป็นเจ้าของบ้านจะต้องทำการแต่งตั้งเจ้าบ้านขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่ดูแลการย้ายเข้าย้ายออกของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านนั้น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่