fbpx
Search
Close this search box.

ช้อปเปอร์เทนเมนท์ เทรนใหม่ที่กำลังมาแรงใน TIKTOK

ช้อปเปอร์เทนเมนท์ เทรนใหม่ที่กำลังมาแรงใน TIKTOK​

          ต้องยอมรับอย่างเลี่ยงไม่ได้เลยว่า TIKTOK เป็นแพลตฟอร์มที่มาแรงแซงทุกค่ายเลยในช่วงนี้ นอกจากเป็นแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงแล้วยังเป็นแพลตฟอร์มที่ทุกคนสามารถขายสินค้าได้อีกด้วย ซึ่งเหตุนี่เองจึงเป็นที่มาของคำว่า ช้อปเปอร์เทนเมนท์ ที่จะสร้างมูลค่าได้มหาศาล

สารบัญ

ช้อปเปอร์เทนเมนท์ ( Shoppertainment ) คืออะไร

       ช้อปเปอร์เทนเมนท์ ( Shoppertainment ) คือ เทรนด์ที่เราซื้อสินค้าผ่านการรับชมคอนเทนต์ที่ให้ความบันเทิงกับผู้ที่ได้เห็นตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดคือ คลิปในติ๊กต๊อก ซึ่งเราเองเข้ามาเสพความบันเทิงปกติ แต่เห็นคลิปหรือวิดีโอที่ทำให้เกิดความอยากได้หรือเห็นสินค้า ซึ่งใน Tiktok เองก็สามารถที่จะซื้อได้ผ่านวิดีโอนั้นโดยตรง ซึ่งง่ายต่อผู้ซื้อ และผู้ซื้อก็ได้เห็นสินค้าจริง และได้เห็นการใช้งานเป็นวิดีโอทำให้น่าสนใจมากกว่าการใช้ภาพนิ่ง จึงกลายเป็นโอกาสที่สำคัญและน่าจับตามองสำหรับแบรนด์และนักการตลาด

      คุณสิรินิธิ์ วิรยศิริ หัวหน้าฝ่ายการตลาดธุรกิจ TikTok ประเทศไทย เผยว่า เทคโนโลยีได้สร้างทางเลือกมหาศาล จนผู้บริโภคกระหายที่จะแสวงหาการค้นพบใหม่ๆ ขณะเดียวกันนับเป็นการเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของวงการอีคอมเมิร์ซ

        ปัจจุบัน ช้อปเปอร์เทนเมนท์( Shoppertainment ) ถือเป็นแนวทางที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค ผ่านคอนเทนต์ประเภทวิดีโอที่มีเสียงประกอบ ซึ่งบีซีจีคาดการณ์ว่า ตลาดช้อปเปอร์เทนเมนท์ ( Shoppertainment ) ในเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตถึง 63% ต่อปี 

โอกาศเติบโตของช้อปเปอร์เทนเมนท์ ( Shoppertainment ) ในไทย

        สำหรับประเทศไทย ช้อปเปอร์เทนเมนท์มีโอกาสเติบโตสูงถึง 54% และมีมูลค่าสูงขึ้นจาก 3.4 พันล้านดอลลาร์ ไปเป็น 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์ภายใน 2 ปี หรือ ในปี 2568 

     ปัจจุบัน ตลาดแฟชันและเครื่องประดับ ความงามและของใช้ส่วนตัว อาหารและเครื่องดื่ม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหมวดหมู่ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับช้อปเปอร์เทนเมนท์ในประเทศไทย โดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่ง คือ 55% ของมูลค่าตลาดทั้งหมดที่คาดการณ์ไว้

     โดยหมวดเหล่านี้ 40-60% ได้รับอิทธิพลการซื้อจากคอนเทนต์วิดีโอ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ชั้นนำสำหรับการเพิ่มยอดขายที่อาจเกิดขึ้น”

     นอกจากนี้ หมวดหมู่ยอดนิยม 3 อันดับแรกที่เน้นด้านช้อปเปอร์เทนเมนท์ในประเทศไทย ได้แก่ แฟชันและเครื่องประดับ 18% รองลงมาคือความงามและของใช้ส่วนตัว 17% และอาหารและเครื่องดื่ม 13%

     ดังนั้นเป็นโอกาสใหม่ๆ สำหรับแบรนด์และธุรกิจที่ควรมองหาแนวทางการลงทุนเพื่อสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งและเริ่มสร้างความบันเทิงให้กับผู้บริโภค ปัจจุบัน คนไทยเข้าใช้งาน TikTok โดยเฉลี่ย 12 ครั้งต่อวัน แต่ละคนใช้งานเฉลี่ย 100 นาทีต่อวัน

     มีเส้นทางการซื้อที่กระจัดกระจายจนไม่สามารถโฟกัสได้ : 89% ของผู้บริโภคจะหาข้อมูลทั้งในและนอกแพลตฟอร์มที่ตัวเองกำลังใช้อยู่ โดย 63% จำเป็นต้องได้รับชมคอนเทนต์ 3-4 ครั้งถึงจะซื้อ และ 85% ของผู้บริโภคจะท่องไปในหลายแพลตฟอร์มก่อนจะตัดสินใจซื้อจริง

     มีข้อกังขาเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่ยัดเยียดความเป็นแบรนด์มากเกินไป : 34% ของผู้บริโภคไม่ไว้วางใจเนื้อหาที่มีความเป็นแบรนด์มากเกินไปจนรู้สึกว่าถูกยัดเยียด จนตัดสินใจไม่ซื้อแบรนด์นั้นๆ

ยิ่งเข้าใจผู้บริโภค ยิ่งเพิ่มโอกาส

        ข้อมูลระบุว่า การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ปัจจัยที่สำคัญหนีไม่พ้น ความต้องการใช้งาน (Functional demand spaces) โดยคิดเป็น 60% ของการซื้อขายจากผู้บริโภคทั้งหมด โดยกลุ่มนี้มักซื้อตามความเคยชิน เน้นที่สินค้าและบริการที่คุ้นเคย หรือใช้อยู่แล้วโดยไม่ได้พิจารณาถึงทางเลือกใหม่ๆ

        อีกหนึ่งปัจจัย ความต้องการด้านอารมณ์ (Emotional demand spaces) คิดเป็นประมาณ 40% ของการซื้อขายทั้งหมด เกิดจากความต้องการด้านอารมณ์ของผู้บริโภค

        โดยเป็นพื้นที่ที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงและโอกาสให้กับแบรนด์ เพราะผู้บริโภคจะพิจารณาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอและมีแนวโน้มที่จะเปิดรับและเปลี่ยนใจไปหาแบรนด์ใหม่ได้เช่นกัน

สนุก บันเทิง แปลกใหม่

        งานวิจัยเผยว่า ผู้บริโภคในเอเชีย-แปซิฟิกคาดหวังว่า แบรนด์ต่างๆ จะมอบความบันเทิงให้ก่อนที่จะเริ่มนำเสนอข้อมูลผลิตภัณฑ์ กล่าวคือ มีกระบวนการสร้างการตระหนักรู้ในสินค้า กระตุ้นความต้องการและเปลี่ยนความต้องการนั้นเป็นการซื้อแบบไร้รอยต่อ

        ความสนุกและความบันเทิง : 81% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าจะเห็นคอนเทนต์ที่เน้นเล่าเรื่องและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ก่อน และ 76% ของผู้บริโภคสนใจคอนเทนต์ที่เน้นภาพเคลื่อนไหวเป็นหลัก

        น่าเชื่อถือและแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร : 71% ของผู้บริโภคเห็นว่าข้อมูลจริงและถูกต้องเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เนื้อหาดึงดูดน่าสนใจ

        แรงบันดาลใจและอิสระในการเลือกซื้อหรือตัดสินใจ : 71% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าแบรนด์จะไม่บังคับให้ตัดสินใจซื้อในระหว่างที่นำเนื้อหามาดึงดูดตนเอง

        เทรนด์และคอมมูนิตี้ : 65% ของผู้บริโภคอยากได้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับแบรนด์จากผู้เชี่ยวชาญในคอมมูนิตี้ออนไลน์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่