เวลาไปทานข้าวกับเพื่อน ๆ ร้านที่มักจะโผล่ขึ้นมาในความคิดอย่างแรกก็คงหนีไม่พ้นร้านหมูกะทะ ชาบู หรือหม้อไฟจีนที่กำลังเป็นที่นิยมในไทยตอนนี้ แล้วรู้หรือไม่ว่าหม้อไฟจีนที่มีรสชาติซุปเผ็ดร้อนชาลิ้นที่เราชอบทาน มีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง วันนี้เอซียูเพย์จะพาไปหาคำตอบกัน
จุดกำเนิดของหม้อไฟจีนต้องเล่าย้อนไปหลายศตวรรษ โดยจุดเริ่มต้นคาดว่าเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220) ซึ่งที่นี่เป็นที่แรกที่นิยมการปรุงเนื้อแกะ แต่เรื่องแนวคิดของการปรุงอาหารในหม้อน้ำซุปที่เดือดปุด ๆ นั้นพบตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จีน เริ่มโดยชนเผ่าเร่ร่อนของจีนโบราณจะปรุงเนื้อสัตว์ในลักษณะเดียวกัน โดยใช้เตาส่วนกลางที่ทำความร้อนด้วยหินหรือไฟ
เมื่อเวลาผ่านไป หม้อไฟก็ได้มีการพัฒนาและเพิ่มส่วนผสมเรื่อย ๆ ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ได้พบการเริ่มนำเครื่องเทศและเครื่องปรุงต่าง ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มรสชาติของหม้อไฟ และหม้อทองแดงก็เริ่มมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายมากขึ้น ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279) ทำให้ผู้คนนำมาใช้ปรุงอาหารกันมากขึ้น
ในช่วงสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – 1644) หม้อไฟได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนทั่วไป ในช่วงเวลานี้เองที่หม้อไฟได้เปลี่ยนจากการที่มีเนื้อแกะเป็นเนื้อหลักอย่างเดียว เป็นการใช้เนื้อและส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ อาหารทะเล และผักนานาชนิด ราชวงศ์หมิงยังเป็นคนริเริ่มหม้อไฟแบบแบ่งช่อง เพื่อเวลากินจะได้รสชาติ ความร้อน และระดับเครื่องเทศที่แตกต่างกันในแต่ละส่วนของหม้อ
ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912) ได้มีการปรับปรุงหม้อไฟจีนให้ดียิ่งขึ้น ความแตกต่างด้านรสชาติของแต่ละภูมิภาคเริ่มเกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงประเพณีการปรุงอาหารที่หลากหลายในจังหวัดต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น หม้อไฟเสฉวนซึ่งขึ้นชื่อเรื่องรสชาติที่เผ็ดร้อนและชา กลายเป็นหม้อไฟที่มีชื่อเสียงมากในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน จากการใช้ฮวาเจียว หรือ พริกไทยเสฉวน พริกขึ้นชื่อจากมณฑลเสฉวนเพื่อเพิ่มมิติรสชาติให้ร้อนแรงกับการทานหม้อไฟ
ปัจจุบันหม้อไฟจีนได้มีความหลากหลายของประเภทและรสชาติ รวมถึงวิธีการเรียกชื่อที่แตกต่างตามแต่ละพื้นที่และแต่ละวัฒนธรรม เช่น แถบปักกิ่งเรียกว่า “ซ่วนหยางโร่ว” ( 涮羊肉 ) แถบเสฉวนฉงชิ่ง เรียกว่า “หั่วกัว” ( 火锅 ) มณฑลเจียงเจ้อ เรียกว่า “หน่วนกัว” (暖锅) มณฑลกวางตุ้ง เรียกว่า ต่าเปียนหลู่ ( 打边炉 ) “หนิงเซี่ยหุย” (เขตปกครองตนเอง) เรียกว่า “กัวจื่อ” (锅子)
สำหรับหม้อไฟที่เป็นที่รู้จักและนิยมกันดีในไทย คงหนีไม่พ้นคือหม้อไฟที่มาจากพื้นที่แถบเสฉวน-ฉงชิ่ง หม้อไฟจากพื้นที่นี้ยังแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ หม้อไฟเฉิงตูที่เน้นซุปหมาล่าน้ำมันหอม รสชาติเผ็ดน้อย และหม้อไฟซุปหมาล่าน้ำมันวัว รสชาติเผ็ดร้อนจัดจ้าน นอกจากการทานหม้อไฟจะทำให้มื้อนั้นอิ่มอร่อยแล้ว หม้อไฟยังมอบประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ไม่เหมือนกับมื้อไหน เพราะเป็นมื้อที่ต่างเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ เรื่องราว และอาหารอร่อย ๆ จากครอบครัวและเพื่อนฝูงมารวมตัวกัน
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |