fbpx
Search
Close this search box.

ไขประวัติ ต้นกำเนิดหม่าล่าหม้อไฟ ใครเป็นคนเริ่ม?

เวลาไปทานข้าวกับเพื่อน ๆ ร้านที่มักจะโผล่ขึ้นมาในความคิดอย่างแรกก็คงหนีไม่พ้นร้านหมูกะทะ ชาบู หรือหม้อไฟจีนที่กำลังเป็นที่นิยมในไทยตอนนี้ แล้วรู้หรือไม่ว่าหม้อไฟจีนที่มีรสชาติซุปเผ็ดร้อนชาลิ้นที่เราชอบทาน มีประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้าง วันนี้เอซียูเพย์จะพาไปหาคำตอบกัน 

จุดกำเนิดของหม้อไฟจีนต้องเล่าย้อนไปหลายศตวรรษ โดยจุดเริ่มต้นคาดว่าเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220) ซึ่งที่นี่เป็นที่แรกที่นิยมการปรุงเนื้อแกะ แต่เรื่องแนวคิดของการปรุงอาหารในหม้อน้ำซุปที่เดือดปุด ๆ นั้นพบตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จีน เริ่มโดยชนเผ่าเร่ร่อนของจีนโบราณจะปรุงเนื้อสัตว์ในลักษณะเดียวกัน โดยใช้เตาส่วนกลางที่ทำความร้อนด้วยหินหรือไฟ

เมื่อเวลาผ่านไป หม้อไฟก็ได้มีการพัฒนาและเพิ่มส่วนผสมเรื่อย ๆ ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ได้พบการเริ่มนำเครื่องเทศและเครื่องปรุงต่าง ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มรสชาติของหม้อไฟ และหม้อทองแดงก็เริ่มมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายมากขึ้น ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279) ทำให้ผู้คนนำมาใช้ปรุงอาหารกันมากขึ้น

ในช่วงสมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 – 1644) หม้อไฟได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนทั่วไป ในช่วงเวลานี้เองที่หม้อไฟได้เปลี่ยนจากการที่มีเนื้อแกะเป็นเนื้อหลักอย่างเดียว เป็นการใช้เนื้อและส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ อาหารทะเล และผักนานาชนิด ราชวงศ์หมิงยังเป็นคนริเริ่มหม้อไฟแบบแบ่งช่อง เพื่อเวลากินจะได้รสชาติ ความร้อน และระดับเครื่องเทศที่แตกต่างกันในแต่ละส่วนของหม้อ

ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1912) ได้มีการปรับปรุงหม้อไฟจีนให้ดียิ่งขึ้น ความแตกต่างด้านรสชาติของแต่ละภูมิภาคเริ่มเกิดขึ้น แสดงให้เห็นถึงประเพณีการปรุงอาหารที่หลากหลายในจังหวัดต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น หม้อไฟเสฉวนซึ่งขึ้นชื่อเรื่องรสชาติที่เผ็ดร้อนและชา กลายเป็นหม้อไฟที่มีชื่อเสียงมากในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน จากการใช้ฮวาเจียว หรือ พริกไทยเสฉวน พริกขึ้นชื่อจากมณฑลเสฉวนเพื่อเพิ่มมิติรสชาติให้ร้อนแรงกับการทานหม้อไฟ

ปัจจุบันหม้อไฟจีนได้มีความหลากหลายของประเภทและรสชาติ รวมถึงวิธีการเรียกชื่อที่แตกต่างตามแต่ละพื้นที่และแต่ละวัฒนธรรม เช่น แถบปักกิ่งเรียกว่า “ซ่วนหยางโร่ว”  ( 涮羊肉 ) แถบเสฉวนฉงชิ่ง เรียกว่า “หั่วกัว” ( 火锅 ) มณฑลเจียงเจ้อ เรียกว่า “หน่วนกัว”   (暖锅) มณฑลกวางตุ้ง เรียกว่า ต่าเปียนหลู่  ( 打边炉 ) “หนิงเซี่ยหุย” (เขตปกครองตนเอง) เรียกว่า “กัวจื่อ” (锅子)

สำหรับหม้อไฟที่เป็นที่รู้จักและนิยมกันดีในไทย คงหนีไม่พ้นคือหม้อไฟที่มาจากพื้นที่แถบเสฉวน-ฉงชิ่ง หม้อไฟจากพื้นที่นี้ยังแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ หม้อไฟเฉิงตูที่เน้นซุปหมาล่าน้ำมันหอม รสชาติเผ็ดน้อย และหม้อไฟซุปหมาล่าน้ำมันวัว รสชาติเผ็ดร้อนจัดจ้าน นอกจากการทานหม้อไฟจะทำให้มื้อนั้นอิ่มอร่อยแล้ว หม้อไฟยังมอบประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ไม่เหมือนกับมื้อไหน เพราะเป็นมื้อที่ต่างเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ เรื่องราว และอาหารอร่อย ๆ จากครอบครัวและเพื่อนฝูงมารวมตัวกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่