fbpx
Search
Close this search box.

เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทำไมต้องกู้ IMF

กู้IMF

“IMF” เชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นหูกับคำนี้ในวิชาประวัติศาสตร์ หรือใครโตพอ ก็อาจจะจำได้ดีในช่วงเวลาที่ไทยเกิดวิกฤตการเงิน 2540 ที่เรารู้จักกันในชื่อ วิกฤตต้มยำกุ้ง โดยรัฐบาลไทยได้ทำการกู้เงินจาก IMF มาเพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ในเวลานั้น 

นอกจากไทยแล้ว ในอดีตที่ผ่านมายังมีอีกหลายประเทศที่เลือกทำการกู้เงินกับ IMF แล้วสงสัยไหมว่าทำไมทุกครั้งที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศส่วนใหญ่ถึงเลือกกู้ IMF กัน ครั้งนี้ ACU PAY จะมาไขข้อสงสัยนี้เอง

IMF คือองค์กรอะไร?

IMF หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2487 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา 

ด้วยข้อตกลงว่าด้วยหน้าที่สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างสมดุล และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย 

บทบาทและการทำงานของ IMF

IMF มีบทบาทและหน้าที่มากมาย ทั้งการติดตามภาวะเศรษฐกิจและการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของประเทศสมาชิก เพื่อสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่ที่เราเห็นจากข่าว นั่นคือ การให้เงินกู้กับประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน (ชำระหนี้ไม่ไหว) เพื่อช่วยฟื้นฟูเสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านโครงการกู้เงิน

ในทุก ๆ ปีจะมีการจัดประชุม โดยให้คณะเจ้าหน้าที่ไปเยือนประเทศสมาชิกเพื่อประเมินภาวะและเสถียรภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่ประเทศนั้น ๆ โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเผยแพร่ลงในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก และรายงานเสถียรภาพการเงินโลก 

ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะให้ความช่วยเหลือทางด้านเงินกู้นั้นจะต้องทำผ่านโครงการเงินกู้รูปแบบต่าง ๆ โดยที่โครงการเงินกู้นี้จะมีแนวทางการดำเนินนโยบายหรือมาตรการทางเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศที่กู้เงินจะต้องดำเนินนโยบายตามแนวทางที่ IMF กำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางการเงินขึ้นอีก 

เงินลงทุนของ IMF มาจากไหน ?

Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has bee

หลายคนอาจสงสัยว่าองค์กรนี้ มีเงินทุนมาจากไหน จริง ๆ แล้วเงินทุนของโครงการเงินกู้ของ IMF ได้มาจากการชำระเงินค่าโควตาของประเทศสมาชิกเป็นหลัก แต่ IMF สามารถกู้ยืมเพิ่มเติมจากประเทศที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งได้จำนวนหนึ่งภายใต้ความตกลงให้กู้แก่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF ฉบับใหม่ (New Arrangements to Borrow: NAB)  

n the industry’s standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book. It has survived not only five centuries, but also the leap into electronic typesetting, remaining essentially unchanged. It was popularised in the 1960s with the release of Letraset sheets containing Lorem Ipsum passages, and more recently with desktop publishing software like Aldus PageMaker including versions of Lorem Ipsum.

โควตาเงินกู้ของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับอะไร ?

โดยโควตาในการกู้ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปตามแต่ละขนาดเศรษฐกิจและความสำคัญของประเทศสมาชิกนั้น ๆ ต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งโควตาในการถอนสินทรัพย์สำรองระหว่างประเทศ หรือ สิทธิพิเศษถอนเงิน (SDR) นี้ มีไว้เพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าและการเงินโลก รวมถึง SDR ยังทำหน้าที่เป็นหน่วยบัญชีสำหรับ IMF ด้วย  

โควตาของประเทศสมาชิกใน IMF มีความสำคัญมาก นั่นคือ ประเทศสมาชิกจะได้รับคะแนนเสียงพื้นฐานเท่ากันจำนวน 250 คะแนน และเพิ่มอีกหนึ่งคะแนนเสียงต่อโควตา 100,000 SDR กล่าวคือ ประเทศไหนมีโควตามาก ประเทศนั้นก็จะมีคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นมากตามจำนวนโควตานั่นเอง นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกสามารถกู้เงินจากกองทุนการเงินฯ ได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของจำนวนโควตาต่อปี และรวมกันไม่เกินร้อยละ 300 ของจำนวนโควตา 

ในส่วนของการกำหนดโควตาและนโยบายต่าง ๆ นั้นจะมาจากคณะกรรมการผู้ว่าการซึ่งจะเป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกนั้น ๆ ผู้ว่าการเหล่านี้มักจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือกรรมการธนาคารกลางของประเทศ โดยแต่ละปีจะต้องมีการประชุมประจำปี และมีคณะกรรมการผู้ว่าการในแต่ละประเทศเข้าร่วม

ทำไมถึงต้องเลือกกู้ IMF

IMF เหมือนกับทางเลือก (อย่างสุดท้าย) สำหรับประเทศที่ต้องการเงินกู้เพื่อมาแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ยกตัวอย่าง การกู้เงิน IMF ประเทศไทยในช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศไทยต้องพบเจอกับปัญหาหลายอย่าง ทั้งเงื่อนของ IMF ที่เหมือนจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง แต่ก็มีผลกระทบหลายด้านที่ต้องแลกอย่างหนี้ในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้นมหาศาล 

ยกตัวอย่างเช่น หนี้ต่างประเทศของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเกือบ 40% จาก 24,700 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8.6 แสนล้านบาท) ในปี 2540 เป็น 33,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.2 ล้านล้านบาท) ในปี 2543

นอกจากนี้ การรัดเข็มขัดทางการคลังและการตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับที่สูง ยังซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยถดถอยเพิ่มขึ้น และเป็นต้นเหตุให้หลายธุรกิจต้องล้มลงอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่