fbpx
Search
Close this search box.

เหตุใดที่เราจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเงิน ?

.                                                                                                                                                                                                                                        เหตุผลที่ 1 : ไม่ติดกับดักทางการเงิน                                                                                                                                      “กลับตัวก็ไม่ได้…ให้เดินต่อไปก็ไปไม่ถึง” กว่าจะรู้ตัวก็ตกหลุมพลางเสียแล้ว โดยเฉพาะ “เรื่องหนี้” หลายคนที่หลงเข้าสู่กับดักหนี้สินนี้ ไม่มีโอกาสได้กลับออกมาอีก รู้ตัวอีกทีก็ต้องทำงานหาเงินใช้หนี้ไปตลอดทั้งชีวิต บางคนโชคดียังถลำลึกเข้าไปไม่มาก ก็มีโอกาสที่จะกลับมาได้

แต่ถ้าเรามีความรู้การเงินตั้งแต่วัยรุ่นรู้ว่าอะไรคือหนี้ดี อะไรคือหนี้เสีย รู้ว่าควรผ่อนต่อเดือนกี่เปอร์เซ็นต์ รู้ถึงวิธีการจัดการหนี้สิน ฯลฯ โดยเฉพาะเด็กจบใหม่เพิ่งเริ่มทำงานหาเงินได้ด้วยตัวเอง จะมีพฤติกรรมการใช้จ่ายแบบเต็มที่ ซื้อทุกอย่าง รูดบัตรเครดิตกระจาย เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีความรู้เรื่องการเงินก่อนเรียนจบ เพื่อที่จะได้ไม่นำตัวเองเข้าสู่วงจรอุบาทนี้

เหตุผลที่ 2 : รู้ก่อนรวยก่อน                                                                                                                                                     “เวลาเป็นของมีค่า” ซึ่งโลกของการลุงทุนก็เหมือนกัน เพราะยิ่งเราให้เวลาในการลงทุนนานมากเท่าไหร่ ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยทบต้นก็จะทวีมากขึ้นเท่านั้น และไม่เพียงผลตอบแทนที่มากขึ้นในด้านของความเสี่ยง เวลาก็ช่วยทำให้ความเสี่ยงลดลงเช่นกัน เราจะได้ยินนักลงทุนอายุ 30 40 พูดว่าถ้าเขารู้เรื่องการเงินการลงทุนตั้งแต่เรียนอยู่ ตอนนี้เขาคงรวยมากกว่านี้อีกหลายเท่า

ถ้าจะพูดถึงเรื่องการลงทุน ปัจจัยหลักที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนมากที่สุดนั้น มีอยู่สองปัจจัยด้วยกัน

ปัจจัยแรก คือ เงินลงทุน เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่า ยิ่งเงินต้นมาก ผลตอบแทนการลงทุนก็จะมากด้วย

ปัจจัยที่สอง คือ อัตราผลตอบแทน แน่นอนว่าการฝากธนาคารออมทรัพย์ได้ดอกเบี้ย 0.25% ย่อมได้ผลตอบแทนน้อยกว่าการลงทุนหุ้นซึ่งได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละ 8%

ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนที่มาก 2 ปัจจัยแรกเป็นปัจจัยที่เราสามารถทำขึ้นเองได้ กล่าวคือถ้าเงินต้นที่จะลงทุนของเราน้อย เราก็ขยันทำงานหารายได้พิเศษ นำเงินมาโปะเพิ่มตรงส่วนนี้ได้ และถ้าเราอยากได้อัตราผลตอบที่สูงขึ้น เราก็ขยันหาความรู้เรื่องการลงทุน เพื่อที่จะสามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากขึ้น และจะทำให้ผลตอบแทนเรามากขึ้นไปด้วย

เหตุผลที่ 3 : ดูแลตัวเองได้ & ไม่เป็นภาระของที่บ้าน                                                                                                                ความคิดแบบนี้ถ้าปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็ก จะทำให้เกิดวินัยในการใช้เงินไปจนเกษียณ คือ ในเมื่อเราเรียนจบหางานหาเงินได้แล้ว ถ้าเราวางแผนในการใช้เงินได้ดี บริหารเงินใช้ได้ทั้งเดือน เราก็ไม่ต้องไปขอเงินที่บ้านเพิ่มเติม

ในสมัยนี้ชุดความคิด “มีลูกไว้เลี้ยงดูยามแก่” ไม่ใช่เป็นความคิดที่ถูกทั้งหมดแล้ว เพราะย้อนกลับไปถ้าเราวางแผนการเงินได้ดีตั้งแต่ตอนเด็กตอนเกษียณเราก็สามารถใช้เงินของตนเองโดยไม่ต้องเดือดร้อนใครเช่นกัน

เหตุผลที่ 4 : เห็นเป้าหมายตัวเองชัดขึ้น
ปฎิเสธไม่ได้ เป้าหมายทุกเป้าหมายต้องใช้เงิน ไม่ว่าจะเป็นอยากมีบ้านราคาเท่านี้ อยากมีรถรุ่นนี้ อยากไปเรียนต่อ อยากไปที่ยวต่างประเทศ อยากเกษียณโดยมีเงินต่อเดือนเท่านี้ ถ้าเรามีเป้าหมายชัดเจนเท่าไหร่แรงบันดาลใจในการวางแผนเรื่องเงินก็จะชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

เหตุผลที่ 5 : รับมือกับปัญหาการเงินได้อย่างถูกวิธี
“ความรู้” เป็นด่านแรกที่ทำให้เราตัดสินใจต่างๆ ได้มากขึ้น ได้แก่ รู้ก่อนจ่าย คือ มีสติทุกครั้งก่อนการใช้เงิน รู้เรื่องอัตราดอกเบี้ย รู้เรื่องความคุ้มค่าในการใช้จ่าย หรือ รู้ก่อนลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนก่อนศึกษาข้อมูลก่อนพิจารณาการลงทุนทุกครั้ง แทนที่จะได้ผลดีต่อการลงทุน กลับเป็นปัญหาให้เราได้ หรือบางคนเกิดการขาดการวางแผนที่ดี อาจทำให้กลัวการลงทุนไปเลยก็มี

เหตุผลที่ 6 : ชีวิตไม่ง่ายเหมือนสมัยก่อน
สิ่งควรรู้เรื่องเงินอีกอย่างคือเรื่องของ “เงินเฟ้อ” ที่จะทำให้ของแพงขึ้นเฉลี่ยปีละ 3% สินค้าและบริการบางอย่างแพงเพิ่มขึ้นปีละกว่า 5-8% เช่น น้ำมัน, ค่าเล่าเรียน, ค่ารักษาพยาบาล ขณะที่เงินเดือนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2-4% ซึ่งก็ไม่ได้รับประกันว่าเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นทุกปี                                                                                                                                                                                 

เมื่อ 30 ปีก่อน เงินเดือนเริ่มต้นป.ตรีเฉลี่ย 7,000-8,000 บาท ก๋วยเตี๋ยวราคาชามละ 15 บาท เท่ากับซื้อได้ประมาณ 50 ชาม ปัจจุบันเงินเดือนเริ่มต้นป.ตรี 12,000-15,000 บาท ก๋วยเตี๋ยวราคาชามละ 40-50 บาท เท่ากับซื้อได้ประมาณ 25-30 ชาม

ดูแล้วถ้าเราอยากรอดก็คงไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากการทำงานหารายได้เพิ่มประกอบกับต้องมีความรู้การบริหารจัดการเงินและการลงทุน เพื่อให้สามารถหาผลตอบแทนของการลงทุนมากกว่าดอกเบี้ย 0.25% ของธนาคาร ถึงจะมีโอกาสใช้ชีวิตอยู่ดีมีสุขได้ในตอนเกษียณ

เหตุผลที่ 7 : การสร้างนิสัยการเงินที่ดีตั้งแต่เด็กๆ
นิสัยไม่มีวินัยเรื่องเงิน ไม่สามารถแก้ได้ในวันหรือสองวัน เช่นเดียวกัน นิสัยเรื่องเงินที่ดีก็ต้องใช้เวลาสร้างเหมือนกัน ต้องอาศัยการทำบ่อยๆ จนเรื่องที่เคยฝืนในตอนแรก อย่างเช่น การใช้จ่าย หรือการเก็บเงินลงทุน ค่อยๆกลายเป็นความเคยชิน และพอทำบ่อยขึ้นเรื่อยๆ จากความเคยชินก็จะกลายเป็นธรรมชาติของเราที่ทำไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งการมีความรู้การเงินที่ถูกต้องตั้งแต่แรก จะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้เรามีนิสัยการเงินที่ดีตั้งแต่เนิ่นๆครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่