fbpx
Search
Close this search box.

‘สารให้ความหวาน’ บริโภคเยอะให้โทษไม่ต่างกับน้ำตาล

หลายคนอาจเคยได้ยิน หรือคิดว่าการทานสารแทนน้ำตาล ในพวกเครื่องดื่มต่าง ๆ  เป็นตัวแทนที่ช่วยลดการบริโภคปริมาณน้ำตาลที่น้อยลง แต่เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม 66 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้ออกประกาศเตือนเรื่อง “สารให้ความหวานแทนน้ำตาล” หรือ non-sugar sweeteners ว่าเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาว ซึ่งการทานไม่ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในต่อร่างกายทั้งในด้านการควบคุมหรือลดน้ำหนัก ในผู้ใหญ่หรือเด็ก และการบริโภคอย่างต่อเนื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด และการเสียชีวิตในผู้ใหญ่

ยิ่งกว่านั้น ในแถลงการณ์ระบุว่า “คำแนะนำนี้ใช้กับทุกคน ยกเว้นบุคคลที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว และรวมถึงสารให้ความหวานสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือดัดแปลงทั้งหมดที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทน้ำตาลที่พบในอาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้น หรือขายเองเพื่อเติมลงในอาหารและเครื่องดื่ม โดยผู้บริโภค” 

สารให้ความหวานคืออะไร มีอะไรบ้าง?

สารให้ความหวานแทนน้ำตาล หรือ Artificial sweeteners มีทั้งแบบให้พลังงานและไม่ให้พลังงาน

  • สารให้ความหวานที่ให้พลังงาน

จำพวกน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น แมนนิทอล ไซลิทอล ซอร์บิทอล ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ ควบคุมน้ำหนัก และ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  • สารให้ความหวานไม่ให้พลังงาน หรือ น้ำตาลเทียม  

เช่น แอสปาแตม สตีวีโอไซด์ (หญ้าหวาน) ซูคราโลส และแซคคารีน (ขัณฑสกร) เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก

ผลเสียของ “สารให้ความหวานแทนน้ำตาล”

  • การบริโภคสารให้ความหวานเป็นประจำ อาจจะทำให้เรารู้สึกติดรสหวานได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมอาหารการกินได้อย่างเต็มที่
  • ในกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล เป็นชนิดน้ำตาลที่ไม่สามารถย่อยได้หมด อาจเกิดอาการมวลท้อง ท้องอืด และท้องเสียได้ 
  • น้ำตาลเทียมบางชนิด หากบริโภคมากเกินไป อาจพบผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ, คลื่นไส้ วิงเวียน และบางชนิดกระตุ้นการเกิดกรดในกระเพาะ เสี่ยงต่อโรคกระเพาะได้
  • ในงานวิจัยของสมาคมหัวใจอเมริกัน พบว่า การรับประทานสารให้ความหวานแทนน้ำตาลแบบสังเคราะห์ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และความจำเสื่อม

คำแนะนำในการบริโภคน้ำตาล

  • ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่เป็นไมเกรน ผู้ป่วยโรคลมชัก และเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี
  • ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา/วัน
  • สตีวีโอไซด์ (หญ้าหวาน) เป็นสารให้ความหวานที่ปลอดภัย ควรบริโภคไม่เกิน 4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน
  • หรือทางที่ดีคือเลี่ยงทานหวานเกินไปให้ได้มากที่สุดยิ่งดี เพราะการติดหวานส่งผลเสียต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ไขมันสะสม กระดูกและฟันอ่อนแอ ภาวะเลือดเป็นกรด ความดันสูง ร่างกายไม่สดชื่น และแก่เร็วอีกด้วย

ทั้งนี้นั้น องค์การอนามัยโลกได้แนะนำในเรื่องการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการดัดแปลง แต่งเติมมากเกินไป หรืออาจเลือกทานน้ำตาลจากผลไม้และผักแทน แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่