fbpx
Search
Close this search box.

สรุปประเด็น
สรรพากรเก็บภาษีเที่ยวต่างประเทศ 1,000 บาทต่อคน

สร้างความตกใจและสับสนไม่น้อย เมื่อกรมสรรพากรได้เปิดรับฟังความคิดเห็น พ.ร.ก. ภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ.2526 หรือเรียกว่า ภาษีเก็บค่าเดินทางออกนอกประเทศ โดยคนไทยต้องจ่ายคนละ 1,000 บาท ไม่ว่าจะเดินทางอากาศ บก หรือทางน้ำ ซึ่งภายหลังทางกรมสรรพากรได้ออกมาระบุแล้วว่าเป็นเพียงแค่เปิดรับฟังความเห็นธรรมดา ไม่ได้จะบังคับใช้แต่อย่างใด วันนี้เรา ACU PAY จะมาสรุปและพามาทำความรู้จักกับ พ.ร.ก. ฉบับนี้โดยคร่าว ๆ ว่ากฎหมายนี้มีที่มาอย่างไร ทำไมถึงต้องเปิดสอบถามกันนะ

พ.ร.ก. ภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร คืออะไร

พระราชกำหนดภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เป็นกฎหมายเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 มีเงื่อนไขเก็บภาษีจากการเดินทางออกนอกประเทศจาก

 1. ผู้ที่มีสัญชาติไทย หรือ คนต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในไทย                                                                                             2. มีการเดินทางออกจากประเทศไทย (เก็บเฉพาะขาออก) 

แต่มีข้อยกเว้นให้บางกลุ่ม โดยกำหนดอัตราภาษีการเดินทางไว้สูงสุดไม่เกินครั้งละ 5,000 บาท แต่มีการลดให้ตามกฎกระทรวงตามนี้ ครั้งละ 1,000 บาทต่อคน สำหรับการเดินทางโดยทางอากาศ และครั้งละ 500 บาทต่อคน สำหรับการเดินทางโดยทางบกหรือทางนํ้า 

กรณีหลีกเลี่ยงการเสียภาษี บุคคลธรรมดาจะได้รับโทษ เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าและเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน โดยไม่รวมเบี้ยปรับและยังมีโทษทางอาญา จําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3 พันบาท ส่วนผู้ประกอบการที่รับชําระภาษีจากผู้เสียภาษีแล้วไม่นําส่งภาษี ต้องรับโทษเสียเบี้ยปรับ 2 เท่าและเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน โดยไม่รวมเบี้ยปรับ ทั้งนี้ พ.ร.ก ฉบับนี้ได้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2534 เป็นต้นมา

จนเมื่อวันที่ 3 – 17 พ.ค. 66 ที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น เกี่ยวกับ พ.ร.ก.การเดินทางออกนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2526 ขึ้น โดยกรมสรรพากรกล่าวว่า การรับฟังความคิดเห็นนี้ ไม่ได้เป็นการถามเพื่อจะดำเนินการจัดเก็บภาษีแต่อย่างใด เป็นแค่การถามเพื่อประเมินผลเท่านั้น และหากรับฟังความคิดเห็นแล้วพบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้จัดเก็บภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร กรมสรรพากรต้องไปประเมินผลนั้นอีกครั้งว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวนี้ เป็นเพียงข้อมูลส่วนหนึ่งเท่านั้นของการประเมินผลสัมฤทธิ์ แต่ยังมีข้อมูลชุดอื่นๆ ที่จะนำมาพิจารณาประกอบว่า กฎหมายที่ออกไปแล้วมีความเหมาะสมหรือไม่

ซึ่งการนำ พ.ร.ก ฉบับนี้ขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เกี่ยวกับการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย กำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกๆ 5 ปี เพื่อไม่ให้กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้มีจำนวนเยอะจนเกินไป และหากกฎหมายไม่เหมาะสม ก็จะมีการยกเลิกกฎหมายนั้นไป

 อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการนำกฎหมายออกมาประเมินผลสัมฤทธิ์นั้น กรมสรรพากรจะมีคณะกรรมการคัดเลือกตามกำหนดของกฎหมายตามรอบปีบัญชีและจะต้องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรายงานว่า หน่วยงานไหนมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องบ้างที่จะต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ ซึ่งกรมสรรพากรก็จะทยอยดำเนินการประเมินตามกฎหมาย โดยภาษีการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรถือเป็นกฎหมายแรกในปี 2566 ที่นำออกมาเปิดรับฟังข้อคิดเห็น

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่