fbpx
Search
Close this search box.

มีบ้าน-คอนโด อย่าลืมเสียภาษีที่ดินและคอนโด 2566

หลายคนที่มีความคิดอยากจะซื้อคอนโด ก็อาจสงสัยและไม่มั่นใจว่าถ้าจะมีคอนโดใหม่สักหลัง เราต้องมีค่าใช้จ่ายอย่าง ภาษีที่ดินหรือไม่ ครั้งนี้ ACU PAY จะมารวบรวมคำตอบคลายข้อสงสัยเรื่องภาษีที่ดินกัน

ภาษีที่ดินและคอนโดคืออะไร

ภาษีที่ดินและคอนโด หรือภาษาทางกฎหมายเรียกว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มักจัดเก็บเป็นรายปีตามราคาประเมินของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปพัฒนาท้องถิ่น รวมถึงลดการเก็งกำไรที่ดิน 

ซึ่งภาษีนี้มีการเริ่มบังคับใช้ในปี 2562 และเริ่มเก็บภาษีในปี 2563 แต่ช่วงโควิด-19 ระบาดในปี 2563 – 2564 ได้มีการปรับลดการจัดเก็บลง 90 % เพื่อช่วยบรรเทาภาระให้กับผู้เสียภาษี และได้กลับมาเก็บภาษีตามอัตราเดิม แต่ยังมีการลดภาษีอยู่บ้างในบางกรณี

ใครต้องเสียภาษีคอนโดบ้าง

บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงห้องชุด และคอนโด ไม่ว่าจะครอบครองเพื่อพักอาศัย หรือปล่อยเช่าก็ตาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐในช่วงนั้น 

แล้วถ้า ‘เช่า’ คอนโดต้องเสียภาษีที่ดินหรือไม่

บางคนอาจสับสนว่าถ้าเช่าคอนโดเพื่ออยู่อาศัย จะต้องเสียภาษีหรือไม่ คำตอบคือ ‘ไม่ต้องเสีย’ เพราะผู้ที่ทำหน้าที่เสียภาษีในกรณีนี้คือเจ้าของคอนโดที่ปล่อยให้เช่านั่นเอง

รู้ไว้ก่อนซื้อ ภาษีคอนโดคำนวณอย่างไร

การคำนวณภาษีคอนโด นอกจากต้องใช้มูลค่าคอนโดมิเนียมเป็นเกณฑ์แล้ว ยังแบ่งเกณฑ์การคำนวณตามวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็น การถือครองกรรมสิทธิ์เพื่อพักอาศัย หรือ เพื่อปล่อยเช่า โดยแบ่งการคำนวณ ดังนี้

  1. กรณีครอบครองคอนโดมิเนียมหลังแรก

ถ้าเป็นผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมหลังแรกและยังมีชื่อในทะเบียนบ้าน โดยมีมูลค่าคอนโดมิเนียมไม่เกิน 50 ล้านบาท จะได้รับการยกเว้นภาษีคอนโดทันที แต่หากเป็นคอนโดมิเนียมหลังแรกที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน แต่มูลค่าคอนโดมิเนียมเกินกว่า 50 ล้านบาท จะต้องนำมูลค่าส่วนที่เกินไปคำนวณอัตราภาษีตามเกณฑ์ ดังนี้

 

มูลค่าคอนโดมิเนียม

อัตราภาษี

0 – 50 ล้านบาท

ได้รับการยกเว้นภาษี

50 – 75 ล้านบาท

0.03%

75 – 100 ล้านบาท

0.05%

100 ล้านบาทขึ้นไป

0.10%

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีคอนโดหลังแรก กรณีมูลค่าคอนโดมิเนียม 75 ล้านบาท คือ

มูลค่าคอนโดมิเนียม 75 ล้านบาท – มูลค่าคอนโดมิเนียม 50 ล้านบาทที่ไม่ต้องเสียภาษี = ส่วนต่าง 25 ล้านบาท

จากนั้นให้นำส่วนต่าง 25 ล้านบาท x 0.03% เท่ากับว่าในปีภาษีนั้น ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมจะต้องเสียภาษีคอนโด 7,500 บาท

  1. กรณีครอบครองคอนโดมิเนียมหลังที่สองเป็นต้นไป

สำหรับคนที่ครอบครองคอนโดมิเนียมมากกว่า 1 แห่ง โดยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีคอนโด และต้องชำระภาษีคอนโดตามเกณฑ์ ดังนี้

มูลค่าคอนโดมิเนียม

อัตราภาษี

0 – 50 ล้านบาท

0.02%

50 – 75 ล้านบาท

0.03%

75 – 100 ล้านบาท

0.05%

100 ล้านบาทขึ้นไป

0.10%

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีคอนโดหลังที่สองเป็นต้นไป กรณีมูลค่าคอนโดมิเนียม 30 ล้านบาท คือ 

มูลค่าคอนโดมิเนียม 30 ล้านบาท x 0.02% เท่ากับว่าในปีภาษีนั้น ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมจะต้องเสียภาษีคอนโด 6,000 บาท

  1. กรณีครอบครองคอนโดมิเนียมสำหรับปล่อยเช่า

การซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่าจำเป็นต้องเสียภาษีคอนโดเช่นกัน และจะต้องเสียภาษีคอนโดในอัตราภาษีที่สูงกว่าการซื้อเพื่อพักอาศัย ดังนี้

 

มูลค่าคอนโดมิเนียม

อัตราภาษี

0 – 50 ล้านบาท

0.3%

50 – 200 ล้านบาท

0.4%

200 – 1,000 ล้านบาท

0.5%

1,000 – 5,000 ล้านบาท

0.6%

5,000 ล้านบาทขึ้นไป 

0.7%

ตัวอย่างวิธีคำนวณภาษีคอนโดสำหรับปล่อยเช่า กรณีมูลค่าคอนโดมิเนียม 200 ล้านบาท ซึ่งกรณีนี้จะต้องเสียภาษีจำนวน 2 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 นำมูลค่าคอนโดมิเนียม 50 ล้านบาทแรก x 0.3% ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมจะต้องเสียภาษีคอนโดขั้นแรก 150,000 บาท

ขั้นที่ 2 นำมูลค่าคอนโดมิเนียมส่วนที่เหลือ หรือในกรณีนี้ คือ 150 ล้านบาท x 0.40% ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมจะต้องเสียภาษีคอนโดขั้นที่สอง 600,000 บาท

ดังนั้น ในปีภาษีนั้นๆ ผู้ครอบครองคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่า ต้องเสียภาษีคอนโด 150,000 + 600,000 = 750,000 บาท

ภาษีที่ดินและคอนโดชำระเมื่อไหร่

ภาษีที่ดินและคอนโดจะต้องชำระในรูปแบบรายปี และจะมีหนังสือแจ้งภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ และต้องชำระภายในเดือนเมษายน แต่สามารถเลือกผ่อนชำระได้โดยต้องแจ้งความประสงค์ และจะได้รับอนุญาตให้แบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ได้แก่ 

  • งวดแรก เดือนเมษายน
  • งวดที่สอง เดือนพฤษภาคม
  • งวดสุดท้าย เดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ตาม อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ ต้องติดตามรายละเอียด

จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่ชำระภาษีที่ดินและคอนโด

ถ้าไม่มีการชำระภาษีที่ดินและคอนโดตามจำนวนที่กรมที่ดินแจ้งไปยังเจ้าของกรรมสิทธิ์ จะมีการส่งหนังสือแจ้งเตือนไปให้ผู้ค้างชำระภาษี และจะต้องเสียค่าปรับตามอัตราที่กรมที่ดินกำหนด รวมถึงเสียผลประโยชน์บางข้อ อย่างเช่น

  • ปรับ 10% หากไม่ชำระตามกำหนดระยะเวลา แต่ชำระก่อนได้หนังสือแจ้งเตือน
  • ปรับ 20% หากชำระหลังจากมีการส่งหนังสือแจ้งเตือน ในระยะเวลาตามที่หนังสือแจ้งเตือนกำหนด 
  • ปรับ 40% หากชำระหลังจากระยะเวลาที่หนังสือแจ้งเตือนกำหนด 
  • เสียภาษีเพิ่ม 1% ต่อเดือนจากภาษีที่ค้างชำระ
  • หากยังค้างชำระอยู่ อาจถูกระงับสิทธ์ในการจดทะเบียนและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน รวมถึงอาจถูกระงับสิทธิครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่