fbpx
Search
Close this search box.

เงินบาทอ่อนค่า VS เงินบาทแข็งค่า ส่งผลยังไงต่อเศรษฐกิจ

รู้หรือไม่ว่า ค่าเงินแข็งค่า และอ่อนค่า นอกจากจะส่งผลต่อเงินในกระเป๋าของเราแล้ว ยังส่งผลต่อกระทบถึงเศรษฐกิจนอกประเทศอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือบริการ ครั้งนี้ ACU PAY จะพามาทำความเข้าใจสาเหตุค่าเงินแข็งค่า อ่อนค่า คืออะไร เกิดจากปัจจัยอะไร และส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจบ้าง

ค่าเงินบาทอ่อน

คือ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้สกุลเงินของประเทศนั้นแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้น้อยลง หรือมองได้ว่ามูลค่าเงินของประเทศนั้นลดลง เมื่อเทียบกับเงินของต่างประเทศ ในตลาดการเงินนิยมเทียบกับสกุลดอลลาร์ 

ยกตัวอย่างเช่น ใช้เงินบาท 35 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์ ต่อมาต้องใช้เงินบาท 40 บาท เพื่อแลก 1 ดอลลาร์ 

ใครได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน?

  • ผู้ส่งออก : นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
  • คนทำงานต่างประเทศ : นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น
  • ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ : นำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น

ใครเสียประโยชน์ค่าเงินบาทอ่อน?

  • ผู้นำเข้า : เพิ่มต้นทุนการนำเข้าสินค้าเพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศแพงขึ้น
  • ประชาชน : ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศแพงขึ้น
  • นักลงทุน : นำเข้าสินค้าทุนแพงขึ้น เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ

ค่าเงินบาทแข็ง

คือ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนที่ส่งผลให้สกุลเงินของประเทศนั้นแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินต่างประเทศได้มากขึ้น หรือมูลค่าเงินของประเทศนั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเงินของต่างประเทศ 

ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ใช้เงินบาท 35 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์ วันต่อมาใช้เงินบาทแค่ 30 บาท เพื่อแลก 1 ดอลลาร์ 

ใครได้ประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า?

  • ผู้นำเข้า : ลดต้นทุนการนำเข้าสินค้าเพราะราคาสินค้าจากต่างประเทศ
  • ประชาชน : ซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศได้ถูกลง
  • นักลงทุน : นำเข้าสินค้าทุนได้ถูกลง เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ
  • ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศ : มีภาระหนี้ลดลง เพราะใช้เงินบาทน้อยลงในการชำระหนี้สกุลเงินต่างประเทศ

ใครเสียประโยชน์จากเงินบาทแข็งค่า?

  • ผู้ส่งออก : นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
  • คนทำงานต่างประเทศ : นำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศมาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง
  • ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่รับเงินสกุลต่างประเทศ : นำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง

ปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าเงินแข็ง หรืออ่อน

  1. อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อ

    ธรรมชาติของเงินจะไหลจากแหล่งที่มีผลตอบแทนต่ำไปสูง แต่ถ้าประเทศไหนปรับอัตราดอกเบี้ยแล้วให้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าประเทศอื่น เงินก็จะไหลเข้าสู่ประเทศที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ค่าเงินของประเทศที่เงินไหลออกก็จะอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศที่เงินไหลเข้า

  2. นโยบายการเงินจากธนาคารกลาง

    ธนาคารกลางของประเทศไทย สามารถกำหนดปริมาณเงินบาทในระบบการเงินผ่านมาตรการต่าง ๆ ได้ 

    ถ้าธนาคารกลางเห็นว่าเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงเกินไป ถึงกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายเพิ่มขึ้น ทำให้เงินที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ได้มีจำนวนลดลง ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในประเทศลดลงตาม เปรียบเสมือนการลดความต้องการหรือปริมาณของเงินบาททำให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น 

    และหากธนาคารกลางเห็นว่าเงินฝืดอยู่ในระดับสูงเกินไป ถึงจะกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ลดระดับอัตราดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้น เปรียบเสมือนการเพิ่มความต้องการของเงินบาท ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง 

  3. นโยบายเข้าซื้อ-ขายเงินบาทผ่านตลาดการเงิน

    ถ้าหากสภาพเศรษฐกิจไม่เหมาะกับการปรับอัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง ธนาคารกลางจะเข้าซื้อขายสกุลเงินผ่านตลาดการเงินเพื่อควบคุมค่าเงิน เช่น 

    ธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อเงินบาท และขายดอลลาร์เพื่อให้เงินบาทแข็งค่าเทียบกับดอลลาร์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทยซื้อดอลลาร์ และขายเงินบาทเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่