fbpx
Search
Close this search box.

4 ทริคเก็บเงิน รับมือยุคเงินเฟ้อ ข้าวของแพง

เคยไหมวางแผนเก็บเงินออมเงินเท่าไหร่ เงินก็ไม่พอใช้สักที นั่นก็เป็นเพราะภาวะเงินเฟ้อทำให้ของแพงขึ้น ในขณะเดียวกันรายได้ของมนุษย์เงินเดือนเรา ๆ นั้นกลับคงที่ ทำให้รายจ่ายสวนทางกับรายได้ แล้วยุคเงินเฟ้อแบบนี้ เราควรมีแผนการออมเงินแบบไหนถึงจะดี วันนี้ ACU PAY จะมาบอก 4 ทริคดี ๆ ให้

เงินเฟ้อเป็นอย่างไร

เงินเฟ้อ คือ ภาวะเศรษฐกิจที่สินค้าและบริการมีการปรับราคาสูงขึ้น นั่นหมายความว่า เราจะซื้อของในปริมาณที่น้อยลง แต่ราคากลับแพงขึ้น ในขณะที่เงินเดือนนั้นกลับเท่าเดิมไม่ได้รับการปรับขึ้นตามอัตราของเงินเฟ้อ จากที่เคยกินข้าวอิ่มในราคา 30 บาท ก็ซื้อข้าวกินในราคาที่แพงขึ้นเป็น 50 บาท ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง ซึ่งบางคนอาจต้องหาแหล่งเงินกู้มาชดเชยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในชีวิตประจำวัน

4 ทริคเก็บเงินรับมือเงินยุคเฟ้อ

ทริคเก็บเงิน รับมือสภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อ สามารถนำไปปรับใช้ได้ตามเหมาะสม ตามนี้

  • วางแผนการเงิน เก็บเงินเพื่อนำไปวางแผนต่อในอนาคต
    การวางแผนการเงินที่สำคัญขั้นแรก นั่นคือ “การออมเงิน” ซึ่งต้องอาศัยความพยายามหักห้ามใจในการตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออก และมีความสม่ำเสมอในการออม สำหรับมือใหม่ ที่เพิ่งเริ่มทำงาน อย่าเพิ่งท้อใจว่าเงินเรามีไม่มาก การเริ่มเก็บทีละนิดทีละน้อยจะช่วยสร้างวินัยการออม เมื่อเรามีหน้าที่การงานที่มั่นคงมากขึ้น รายได้ก็จะเพิ่มมากขึ้นตาม ซึ่งการสร้างนิสัยการออมตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้เรารู้จักวางแผนและรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้

    โดยการออมเงินที่แนะนำคือ การออมเงินอย่างน้อย 10% ของรายได้ต่อเดือน แล้วนำเงินส่วนหนึ่งไปฝากธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ เพราะส่วนใหญ่แล้วในช่วงที่ยิ่งมีสภาวะเงินเฟ้อมากเท่าไหร่ การจะจับจ่ายใช้สอยหรือลงทุนอะไรก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าช่วงเศรษฐกิจปกติ ทำให้การออมเงินถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยดูแลเงินไว้ได้ แนะนำให้ออมเงินแบบฝากประจำจะได้ดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง มีทั้งแบบนำเงินก้อนไปฝาก กับการทยอยฝากเงินด้วยจำนวนที่เท่า ๆ กันทุกเดือนนั่นเอง

  • ไม่หยุดเติบโตในหน้าที่การงาน หรือ หาอาชีพเสริม สร้างรายได้มากขึ้น

    ยิ่งเราพยายามเพิ่มพูนทักษะ หรือ ก้าวขึ้นเป็นตำแหน่งที่สูงขึ้น เราก็จะได้รับรายได้ที่มากขึ้น ถ้ามี Performance ที่โดดเด่น ก็อาจจะสามารถขยับเงินให้สูงขึ้นได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ดังนั้นการไม่หยุดพัฒนาตนเอง จะช่วยเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้เรามากยิ่งขึ้น อาจเลือกเรียนต่อ อ่านหนังสือ หรือเรียนคอร์สออนไลน์ เพื่อช่วยเสริมทักษะให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ซึ่งทักษะเหล่านั้นอาจมาช่วยเปลี่ยนเป็นอาชีพเสริมต่อยอดรายได้ของเรามากขึ้นได้อีกด้วย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ในการลงทุนกับตัวเอง 

  • วางแผนภาษีให้เป็นระบบเมื่อรายได้สูงขึ้น

    ภาษีมักเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สร้างเรื่องปวดหัวให้กับใครหลายคน และเรามักมองข้าม นั่นก็คือ การวางแผนภาษี ซึ่งตอนวัยเริ่มทำงาน เราอาจยังไม่ต้องกังวลกับการจ่ายภาษีมา แต่เมื่อมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เพดานภาษีก็สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งการวางแผนภาษีจะช่วยให้เราลดค่าใช้จ่ายในแต่ละปีได้ กับการลดหย่อนภาษีอย่าง การซื้อกองทุนสำรองอาชีพ 

  • เริ่มลงทุน สร้าง Passive income

    การหารายได้เพิ่มเติม นอกเหนือจากรายได้ประจำ หรือ active income จะช่วยให้เราเข้าใกล้ความเป็นอิสรภาพทางการเงินได้ ซึ่งการลงทุนจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสร้าง Passive Income ได้ 

    หลายคนคิดว่าแค่ฝากเงินในธนาคารก็พอแล้ว แต่ความจริงนั้น การฝากเงินในธนาคารในช่วงที่เงินเฟ้อสูงนั้น จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริง ๆ กลับมีมูลค่าลดลง 

    ยกตัวอย่างเช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารร้อยละ 1.25 % ถ้าหากมีอัตราเงินเฟ้อ 1 % อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะอยู่ที่ 0.25 % 

    และถ้าหากอัตราดอกเบี้ยเท่าเดิม 1.25 % แต่เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นที่ 2 % เท่ากับว่าอัตราดอกเบี้ยแท้จริงจากการเงินฝากธนาคารนั้นจะมีมูลค่าติดลบ (-0.75 %)

    นี่จึงเป็นเหตุผลที่ควรศึกษาการลงทุนที่ให้ผลตอบแทน ตั้งแต่ หุ้นกู้ ตราสารหนี้ หุ้น กองทุน ซึ่งแต่ละรูปแบบก็ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเงินเฟ้อ แนะนำว่า ถ้าหากเลือกลงทุนในตราสารหนี้ ก็ไม่ควรถือตราสารหนี้ระยะยาวมากเกินไป เพราะอาจสูญเสียมูลค่าจากการถือครองที่ปรับเปลี่ยนตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ ส่วนหุ้น อาจเลือกกลุ่มหุ้นที่ไม่เคลื่อนไหวพ้องไปกับภาวะเศรษฐกิจมาก อาจเลือกหุ้นกลุ่มสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่