fbpx
Search
Close this search box.

“หัวใจ” อวัยวะที่ต้องปลูกถ่ายภายใน 4 ชั่วโมง

การบริจาคอวัยวะในสมัยนี่กลายเป็นเรื่องที่ธรรมดาไปแล้ว เพราะไม่ว่าใครก็คิดจะทำบุญในช่วงสุดท้ายของชีวิตในนั่น หารบริจาคอวัยวะ ส่งต่อชีวิตใหม่ให้กับอีกคน และไม่นานที่ผ่านมาได้เกิดเรื่องถงเถียงกันในโซเชียลเกี่ยวกับการบริจาคอวัยวะอย่าง “หัวใจ” ว่าหากจะโยกย้ายในการเปลี่ยนปลูกถ่ายอวัยวะใช้เวลาประมาณกี่ชั่วโมง หัวใจเมื่อผ่าตัดออกมาแล้วมีระยะเวลานานแค่ไหนสำหรับการขนย้าย เดี๋ยววันนี้เราจะมาให้ความรู้กันในหัวข้อ “หัวใจ” อวัยวะที่ต้องปลูกถ่ายภายใน 4 ชั่วโมง

มาทำความรู้จักกับอวัยวะที่เรียกว่า “หัวใจ” กัน

หัวใจเป็นอวัยวะที่กล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่งหลอดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยหัวใจจะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลักกล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้ โดยมีตำแหน่งที่อยู่บริเวณส่วนกลางของหน้าอกค่อนข้างไปทางซ้ายเล็กน้อย 

โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจมีทั้งหมด 6 ชนิดด้วยกันคือ

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
    จะมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลียหรือหมดสติได้นั้นเอง
  • โรคลิ้นหัวใจ
    โดยจะมีอาการเหนื่อยง่ายและเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอด เป็นสัญญาณของความผิดปกติลิ้นหัวใจ
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
    จะมีอากานเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม หากได้ออกแรงหนักๆ แขน ขาบวม นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
  • โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ
    จะมีอาการเป็นไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ขาหรือช่องท้องบวม รวมไปถึงมีผื่นขึ้นตามผิวหนังอีกด้วย
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
    เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เลี้ยงไม่โตและจะมีอาการเหนื่อยขณะให้นม
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
    ซึ่งหัวใจจะเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นอนหน้าอก มีอาการเวียนหัวคล้ายกันเป็นลม

ข้อจำกัดในกระบวนการปลูกถ่ายหัวใจ

โดยการปลูกถ่ายอวัยวะหัวหรือปอดนั้น จะเป็นอวัยวะที่เก็บรักษาได้ไม่นาน คือ ไม่ควรเกิน 4 ชั่วโมง นับตั้งแต่ปิดทางเลือดในการผ่านตัวหัวใจของผู้บริจาคจนถึงเปิดทางเดินเลือดในการผ่าตัดหัวใจใหม่ให้กับผู้รับปลูกถ่าย ดังนั้นต้องมีการประสานงานเป็นอย่างดีเกี่ยวกับการขนส่งอวัยวะระหว่างทีมผ่าตัดรับบริจาคและทีมผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ โดยโอการที่จะเกิดการดื้อต่อหัวใจที่ปลูกถ่ายประมาณ 10 – 15 เปอร์เซ็นจะทำให้มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว หรืออาจจะถึงขั้นหัวใจวายได้

หัวใจได้มาจากที่ไหน

หัวใจใหม่จะได้มาจากผู้เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตายและได้บริจาคอวัยวะให้โดยต้องได้รับการยิมยอมจากญาติ ซึ่งการบริจาคอวัยวะ ไม่ใช้แค่เฉพาะหัวใจนับได้ว่าเป็นการทำบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่