fbpx
Search
Close this search box.

หุ้น IPO ทำไมบริษัทใหญ่ ๆ ถึงอยากเข้าตลาดหุ้น

หุ้น IPO

ใครที่ติดตามข่าวธุรกิจบ่อย ๆ น่าจะเคยได้ยินและคุ้นเคยกับข่าวอย่าง บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เรารู้จักได้เข้า IPO ในตลาดหุ้นแล้ว  IPO ที่ว่านี้หมายถึงอะไร แล้วทำไมบริษัทส่วนใหญ่ถึงพากันเข้า IPO ถ้าอยากรู้คำตอบแล้ว เดี๋ยว ACU PAY จะพามาทำความรู้จักความหมายของ IPO แล้วเหตุผลว่าทำไมบริษัทใหญ่ ๆ ถึงอยากเข้า

ทำความรู้จัก IPO

โดยปกติแล้ว ในการทำธุรกิจถ้าอยากขยับขยายกิจการ ก็ต้องไปหาแหล่งเงินทุนเพิ่มเติม ถ้าไม่ใช้ทุนที่ตัวเองมีอยู่แล้ว ก็ต้องไปทำการกู้ธนาคาร แต่ถ้าเงินกู้มานั้นยังไม่เพียงพอ การจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็เป็นอีกวิธีที่ใช้หาเงินทุน หรือ IPO ที่คุ้นเคย

IPO (Initial Public Offering) หมายถึงการที่บริษัทเสนอขายหุ้น “ครั้งแรก” ให้กับนักลงทุนหรือประชาชนทั่วไป จากนั้นบริษัทจะเปลี่ยนสภาพจาก “บริษัทเอกชน” เป็น “บริษัทมหาชน” ที่สามารถให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมลงทุนด้วย ซึ่งบริษัทที่ทำการ IPO จะถูกจดทะเบียนเข้ามาสู่ตลาดหลักทรัพย์โดยผ่านขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์ที่บริษัททำการ IPO ส่วนใหญ่จะเป็นการต้องการขยับขยับขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น และเริ่มมองหาเงินลงทุนที่ไม่ใช่การระดมทุนในต่าง ๆ หนึ่งในช่องทางที่ตอบโจทย์บริษัทเหล่านี้ก็คือการเสนอขายหุ้นให้กับนักลงทุนที่สนใจ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนหรือประชาชนที่สนใจได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัทอีกด้วย

อย่างที่กล่าวไปว่าการที่บริษัทจะสามารถ IPO ได้ก็ต้องมีการตรวจสอบจาก ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะมีหลักเกณท์ที่ใช้ในการพิจารณาไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างการถือหุ่น คุณสมบัติของกรรมการและผู้บริหาร งบการเงิน และระบบภายในองค์กรที่มั่นคงและน่าเชื่อถือ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องถูกรายงานให้กับนักลงทุนที่ต้องการหุ้น IPO ตัวนี้ด้วย

ประโยชน์ของการทำ IPO

สำหรับบริษัทที่เปิด IPO แน่นอนว่าได้เงินไปต่อยอดธุรกิจ ที่มีต้นทุนถูกลง ซึ่งการ IPO จะแตกต่างจากการหาแหล่งเงินทุนต่าง ๆ เช่น การกู้ธนาคาร ตรงที่การ IPO ไม่ต้องจ่ายคืนเงินต้น หรือจ่ายดอกเบี้ย แต่เป็นการได้เงินทุนมาแลกกับหุ้นของบริษัทตนเอง โดยอาจจะจ่ายเป็นปันผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น 

มากกว่านั้นยังเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทมากขึ้น ทำให้ธุรกิจสามารถขยับขยายที่จะไปเปิดสาขาต่างประเทศหรือปล่อยสินค้าสู่ตลาดเพื่อนบ้าน พร้อมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจมากขึ้น เพราะมีการตรวจสอบทางบัญชีที่เข้มงวด

นอกจากนี้แล้ว การเข้าตลาดหลักทรัพย์ยังช่วยให้บริษัทเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำให้ประชาชนรู้จักสินค้ามากขึ้น และรู้ว่าธุรกิจนั้นทำเกี่ยวกับอะไร สิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเพิ่มขึ้น

ข้อเสียของการทำ IPO

บริษัทนั้นอาจเสียความเป็นส่วนตัว ต้องเปิดเผยข้อมูลบริษัท และเปิดเผยข้อมูลภายในให้กับสาธารณชน นอกจากนี้ยังมีเรื่องเสียส่วนแบ่งในการเป็นเจ้าของ

เพราะยิ่งเวลาที่บริษัทมีผลประกอบการที่ดีหรือกำไรที่ดี ก็เหมือนกับแบ่งของดีให้คนอื่นเข้ามาร่วมเป็นเจ้าของ

ยิ่งกว่านั้นบริษัทต้องเผชิญกับกฎระเบียบและการตรวจสอบเยอะขึ้น ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ค่าจ้างตรวจสอบภายในเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน จากเดิมค่าตรวจสอบบัญชีอาจอยู่เพียงหลักหมื่น

แต่เมื่อจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้ว อาจเพิ่มมาเป็นหลักล้านบาทก็ได้

เทคนิคในการเลือกหุ้น IPO

อย่างที่รู้กันว่าหุ้น IPO เป็นหุ้นที่เพิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะฉะนั้นนักลงทุนจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน โดยมีเทคนิคในการเลือกหุ้น IPO ตามนี้

  • เลือกบริษัทที่ทำธุรกิจมานานพอให้ศึกษาผลการดำเนินงานย้อนหลังได้
  • บริษัทที่มีแผนการใช้เงินที่ได้จากการระดมเงินทุนอย่างชัดเจน ว่าจะนำไปใช้ในการขยายกิจการอย่างไร และประมาณการความสำเร็จของแผนงานนั้นอย่างไร
  • มีราคาเสนอขายที่เหมาะสม ไม่สูงเกินกว่ามูลค่าของบริษัทมากเกินไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่