fbpx
Search
Close this search box.

toxic ‘Passive Aggressive’ ไม่พอใจแต่ไม่บอกกันตรง ๆ

toxic

เคยไหมผิดใจอะไรกัน แต่ก็ไม่พูดออกมาตรง ๆ จนความโกรธนั้นแสดงออกมาในทั้งคำพูดเสียดสี แกล้งทำเป็นดีด้วยแต่ตัวเองไม่พอใจอยู่ลึก ๆ ถ้ากำลังเจอสถานการณ์นี้อยู่ละก็ เอซียูเพย์ จะพามาทำความรู้จัก Passive Agressive และมาเช็กพฤติกรรมนี้กันว่าเป็นหรือเจอกันอยู่รึเปล่า!q

Passive Aggressive พฤติกรรมอะไร

พฤติกรรม passive-aggressive คือ พฤติกรรมร้ายทางอ้อม เมื่อคนเหล่านี้ไม่พอใจ แทนที่จะพูดแบบตรงไปตรงมา ว่าเขาโกรธ ไม่เห็นด้วย หรือบอกว่าเราผิดยังไง กลับเลือกที่จะแสดงออกในรูปแบบอื่นแทน ด้วยการใช้คำพูด การกระทำ สร้างความหงุดหงิด ขุ่นเคือง และไม่สบายใจ ให้กับอีกฝ่ายนั่นเอง

ซึ่งพฤติกรรม Passive-Aggressive นี้ สามารถเกิดในทุกที่ ไม่ว่าจะที่ทำงาน ที่บ้าน โรงเรียน คนในชุมชน หรือกับคนรัก โดยคนที่แสดงพฤติกรรมนี้เชื่อว่า ถ้ามีคนรับรู้ว่าพวกเขามีอารมณ์โกรธ จะส่งผลไม่ดีกับตัวเขา และ เป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับ เลยเลือกที่จะแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบรอยยิ้มที่แฝงด้วยความไม่พอใจและโกรธแทน

เช็กลิสต์พฤติกรรม Passive Aggressive เคยทำหรือเจอแบบนี้กันรึเปล่า?

toxic

ลองมาสำรวจพฤติกรรมของตัวเองหรือคนรอบข้างดู ว่าเคยทำพฤติกรรมนี้กันบ้างรึเปล่า?

  • ใช้น้ำเสียงและถ้อยคำเป็นมิตรเพื่อหลอกด่า
  • แกล้งทำดีต่อหน้า
  • เมินเฉยทำให้รู้สึกแย่ 
  • พูดแซะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ บ่อยครั้ง 
  • พูดจาเหมือนหวังดี แต่ทำให้เรารู้สึกผิด
  • พูดประชดชันต้องการอีกอย่าง แต่พูดอีกอย่าง
  • พูดต่อต้านให้เรารู้สึกหงุดหงิดอยู่บ่อย ๆ

Passive-Aggressive คำพูดอาบยาพิษ

บางครั้งคำพูดหรือข้อความที่ฟังผิวเผินอาจเป็นคำชมหรือความเป็นห่วง แต่ถ้าลองตั้งใจพิจารณาดี ๆ มักแอบแฝงด้วยการเสียดสี ประชดประชัน เหยียดหยาม หรืออคติบางอย่าง โดยที่ผู้ฟังไม่รู้ตัว 

ยกตัวอย่างคำพูดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราไม่รู้เลยว่าเขากำลังหลอกว่าเราอยู่ ด้วยคำพูดอันสำบัดสำนวนของชาวเกียวโต ที่แม้แต่คนญี่ปุ่นด้วยกันเองยังตีความคำพูดของพวกเขาไม่ออก เช่น 

ถ้าคนเกียวโตชมว่า “นาฬิกาเธอสวยนะ” นั่นแปลว่า “คุยนานไปแล้ว ชั้นเบื่อแล้ว กลับไปได้แล้วจ้า” แบบสุภาพ หรือถ้าคนเกียวโต “ยื่นหมากฝรั่ง” มาให้ตอนที่คุณกำลังพูดอยู่ ไม่ได้หมายถึงเขามีน้ำใจแบ่งปันขนมให้เรา แต่นั่นหมายความว่า พวกเขาบอกให้คุณ “หยุดพูดมากได้แล้ว” นั่นเอง 

ถึงจะฟังดูดี ที่สามารถต่อว่าอีกฝ่ายให้เจ็บ ประสบผลสำเร็จ แต่หลายคนที่โดนถูกทำร้ายให้เจ็บใจ ด้วยวิธี Passive-Aggressive บ่อย ๆ อาจเกิดอาการวิตกกังวล เก็บมานั่งคิดเล็กคิดน้อย ว่าที่เขาแสดงออกมาคือ เขาเกลียดเราหรือไม่พอใจอะไรเราตรงไหนรึเปล่า 

คำแนะนำ ถ้าเจอคนรอบข้างมีพฤติกรรม Passive-Aggressive

จัดการและรับรู้ถึงอารมณ์ของตัวเอง

สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ พยายามจัดการอารมณ์ตัวเองด้วยการระบุอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และรับรู้ว่าไม่แปลกที่เราจะอารมณ์เสีย เศร้า เสียใจ เพราะเราต่างก็เป็นมนุษย์ธรรมดา 

พูดความรู้สึกตรงไปตรงมา ให้อีกฝ่ายรับรู้

พูดความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ด่าว่า แล้วก็พูดถึงผลของคำพูดนั้น ให้อีกฝ่ายรับรู้ เช่น เรารู้สึกแย่ที่เธอพูดหลอกด่าเรานะเมื่อกี้ มันทำให้เรารู้สึกกังวลเวลาอยู่ใกล้เธอ 

ตั้งขอบเขตของตัวเองว่าจุดไหนทนได้ จุดไหนจะไม่ทน

ถ้าพูดแล้วอีกฝ่ายยังมีพฤติกรรมแบบเดิมอยู่ เราควรตั้งขอบเขตให้ชัดเจนว่า ถ้าเขายังทำแบบนั้นอยู่ เราจะไม่คุยด้วยแล้วเดินออกไปทันที อีกฝ่ายจะค่อย ๆ เรียนรู้ว่า ไม่ใช่ว่าเขาจะทำอะไรตามใจตัวเองก็ได้ เพราะไม่มีใครทนพฤติกรรมได้ตลอด ทุกอย่างการกระทำควรมีขอบเขต และยังช่วยป้องกันสุขภาพจิตของคุณด้วย 

ซึ่งสาเหตุหลักของพฤติกรรม Passive-Aggressive คือความกลัวในการเผชิญหน้า กลัวการถูกปฏิเสธที่สุดและกลัวสังคมไม่ยอมรับ คนที่นิสัย Passive-Aggressive จึงคิดค้นวิธีอื่นในการแสดงออกถึงความไม่พอใจได้หลากหลายสถานการณ์ อย่างเช่น การตอบโต้ของฝั่งที่มีอำนาจมากกว่า 

แต่สุดท้ายแล้วถ้าเรามีสังคมที่สามารถพูดกันและวิจารณ์ได้ตรง ๆ พฤติกรรม Passive-Aggressive อาจค่อย ๆ ลดลง และเลือกที่จะเผชิญหน้ากับการขัดแย้ง ลดบรรยากาศท็อกซิกในทุกสังคมที่เราอยู่ก็เป็นได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่