fbpx
Search
Close this search box.

5 อันดับธนาคารกลางที่ใหญ่ที่สุดในโลก

5_อันดับธนาคารกลางที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ธนาคารกลาง (Monetary Authority) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการดำเนินการทางด้านเงินของประเทศ เราอาจเคยได้ยินข่าวที่ธนาคารในสหรัฐอเมริกาอย่าง Silicon Valley Bank เกิดการยื่นล้มละลายไปเมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ FED หรือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ และหน่วยงานอื่น ๆ ต้องเข้าไปช่วยเหลือ

แล้วเคยสงสัยไหมว่า ธนาคารกลางที่เราเคยได้ยิน มีจุดกำเนิดจากไหน มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร แล้วประเทศไหนบ้างที่มีธนาคารกลางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครั้งนี้ ACU PAY จะมาเล่าให้ฟังกัน

จุดเริ่มต้นของธนาคารกลาง

ธนาคารกลางมีจุดกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 หรือประมาณ 300 กว่าปีก่อน โดยธนาคารแห่งแรกที่เรียกได้ว่าเป็นธนาคารกลาง คือ Sveriges Riksbank ธนาคารกลางของประเทศสวีเดน ที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 1668 เพื่อให้เงินกู้กับรัฐบาล และทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการชำระราคาการซื้อขายระหว่างสวีเดนและประเทศอื่น ๆ

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความยุ่งยากทางด้านการเงินและวิกฤตทางเศรษฐกิจบทบาทของธนาคารกลางจึงได้รับการยอมรับมากขึ้น โดยธนาคารกลางได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจและการเงิน ทำให้ประเทศต่าง ๆ จัดตั้งธนาคารของตนเองขึ้นในหลายประเทศ

ในปัจจุบัน เกือบทุกประเทศในโลกมีธนาคารกลางเป็นของตัวเอง โดยธนาคารกลางที่ใหม่ที่สุดที่เพิ่งก่อตั้งในปี 2011 คือ ธนาคารกลางของประเทศ ติมอร์ เลสเต อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีอำนาจหน้าที่คล้ายกัน ขนาดของธนาคารกลางแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

หน้าที่ของธนาคารกลาง

ธนาคารกลางของทุกประเทศในปัจจุบันมีหน้าที่คล้ายกันคือทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักที่คอยดูแลเสถียรภาพทางการเงินของแต่ละประเทศ โดยธนาคารกลางจะทำงานกับหน่วยงานรัฐหรือสถาบันการเงินเป็นหลัก และจะไม่เปิดให้ประชาชนทั่วไปมาทำธุรกรรมการเงินด้วย เช่น การรับฝากเงิน ถอนเงิน หรือปล่อยกู้ให้กับลูกค้ารายย่อยอย่างที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปทำ โดยในปัจจุบัน ธนาคารกลางมีอำนาจหน้าที่หลักตามนี้

  1. กำหนดนโยบายการเงินของประเทศ เช่น การกำหนด ‘อัตราดอกเบี้ยนโยบาย’ ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของประเทศ โดยธนาคารกลางอาจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย เช่น ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ 
  2. ดูแลการออกธนบัตรดูแลเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบ ควบคุมให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีไม่มากหรือน้อยเกินไป ด้วยการอัดฉีดเงินหรือดึงเงินออกจากระบบ ดูแลการออกธนบัตร และเหรียญ รวมไปถึงดูแลให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินระหว่างสกุลเป็นไปอย่างเหมาะสม
  3. ดูแลระบบการเงินภายในประเทศ ธนาคารพาณิชย์และรัฐบาลกำกับและดูแลอุตสาหกรรมการธนาคารเพื่อคุ้มครองประชาชนจากสถาบันการเงิน เช่น การออกกฎต่าง ๆ เพื่อควบคุมสถาบันการเงินภายในประเทศ กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ฝากเงินสดสำรองสำหรับการชำระหนี้เพื่อรับประกันความคุ้มครองในกรณีเกิดปัญหาทางการเงิน ควบคุมการให้กู้ และการปล่อยสินเชื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และคอยดูแลให้ระบบการชำระเงินในประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ให้เงินกู้กับธนาคาร หรือให้เงินช่วยเหลือแก้ธนาคารพาณิชย์ในกรณีที่เกิดปัญหาสภาพคล่อง รวมถึงดูแลลูกค้าของแบงก์นั้น ๆ ในกรณีที่เกิดการล้มละลายขึ้น
  5. ที่ปรึกษาด้านการเงิน ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานให้คำปรึกษาด้านการเงิน โดยอาจจัดทำการวิจัย หรือรายงานเกี่ยวกับการเงินที่มีประโยชน์กับทั้งหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานเอกชนต่างๆ
5_อันดับธนาคารกลางที่ใหญ่ที่สุดในโลก

5 อันดับธนาคารกลางที่ใหญ่ที่สุดในโลก

จากข้อมูลของกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ หรือ SWFI ได้จัดอันดับทรัพย์สินในการดูแลของธนาคารกลางทั้งหมดในโลก ด้วย 5 อันดับธนาคารกลาง ดังนี้

  1. ธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve System) ก่อตั้ง ปี 1913 มีมูลค่าสินทรัพย์ 7.86 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ มูลค่าประมาณ 274 ล้านล้านบาท
  2. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ก่อตั้งปี 1882 มีมูลค่าสินทรัพย์ 5.15 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ มูลค่าประมาณ 179 ล้านล้านบาท 
  3. ธนาคารประชาชนจีน (People’s Bank of China) ก่อตั้งปี 1948 มีมูลค่าสินทรัพย์ 5.14 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ มูลค่าประมาณ 179 ล้านล้านบาท
  4. ธนาคารสหพันธ์เยอรมนี (Deutsche Bundesbank) ก่อตั้งปี 1957 มีมูลค่าสินทรัพย์ 2.68 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ มูลค่าประมาณ 93 ล้านล้านบาท
  5. ธนาคารกลางฝรั่งเศส (Banque de France) ก่อตั้งปี 1800 มีมูลค่าสินทรัพย์ 2.3 ล้านล้านดอลลาร์ หรือ มูลค่าประมาณ 80 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) หรือแบงก์ชาติ อยู่ในอันดับที่ 28 ของธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1942 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่