fbpx
Search
Close this search box.

อิสรภาพทางการเงิน คืออะไร ทำไมใคร ๆ ถึงอยากมี

เราอาจเคยได้ยินจนคุ้นหูว่า การมีอิสรภาพทางการเงินจะทำให้เราใช้ชีวิตแบบมีอิสระ ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ อีกต่อไป แต่สงสัยไหมว่า อิสรภาพนี้ต้องมีเงินจำนวนเท่าไหร่ แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะได้อิสรภาพนั้นมา ครั้งนี้ ACU PAY จะพามาหาคำตอบกั

อิสรภาพทางการเงินคืออะไร

อิสรภาพทางการเงิน หมายถึง การที่เรามีเงินมากพอที่จะใช้ชีวิตแบบมีความสุข มีเงินใช้จับจ่ายใช้สอยไปจนสิ้นอายุขัยโดยที่ไม่ต้องทำงาน หรือทำงานต่อไป แต่มีเป้าหมายอื่น เช่น ไปทำงานในสิ่งที่เรารักแทน ท่องเที่ยว โดยที่เราไม่ต้องกังวลถึงเรื่องเงินทองอีกต่อไป

แล้วต้องมีเท่าไหร่ ถึงจะมีอิสรภาพทางการเงิน

เป็นคำตอบที่ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ลองถามตัวเองด้วยปัจจัย 3 ข้อ เช่น อายุที่เราต้องการมีอิสรภาพทางการเงิน ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่เราต้องใช้หลังมีอิสรภาพทางเงิน และสุดท้ายอายุขัยของเรา ซึ่งเราจะใช้ชีวิตแบบมีอิสรภาพแบบไหน ให้ลองคำนวณอิสรภาพการเงิน ตามสูตรนี้

“จำนวนเงินที่ต้องมีเพื่ออิสรภาพทางการเงิน = จำนวนเงินที่ต้องการใช้ต่อปี x จำนวนปี x ตัวเลขเงินเฟ้อ”

หมายความว่าอย่างไร ถ้าสมมุติ โดยปกติมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 20,000 บาท ตกปีละ 240,000 บาท คิดว่าจะวางแผนเกษียณตอนอายุ 50 ปี และใช้ชีวิตไปจนถึง 30 ปี กว่าจะอายุ 80 ปี แสดงว่าเมื่อเราเลิกทำงานประจำแล้ว เราต้องมีอิสรภาพการเงินที่ต้องออมไว้ใช้ทั้งหมด 240,000 x 30 = 7,200,000 บาท 

และยังต้องคำนวณอัตราเงินเฟ้อซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 2 – 3 % ตีเผื่อไปก่อนสัก 3 % ก็จะเท่ากับ 7,200,000 x 3 = 21,600,000 บาท อาจจะคิดว่าเยอะไป แต่ลองมองกลับมาที่ค่าอาหารที่เราจ่ายทุกวัน เมื่อ 20 ปี ที่แล้ว จากข้าวราดแกงราคาจานละ 20 ตอนนี้กลับพุ่งขึ้นมา 50 – 60 บาท และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก แนะนำให้เผื่อเหลือดีกว่าขาด 

หลังจากรู้อิสรภาพทางการเงินแล้ว มีวิธีสร้างอิสรภาพนั้นอย่างไร

สามารถเริ่มทำได้ด้วย 5 วิธีตามนี้

  1. ประเมินค่าใช้จ่ายรายเดือน

    เริ่มต้นด้วยสังเกตพฤติกรรมการใช้เงินในแต่ละเดือน ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ว่า ส่วนไหนจำเป็น ส่วนไหนไม่จำเป็น หรือเป็นหนี้เหลืออีกเท่าไหร่ถึงจะผ่อนหมด ซึ่งขั้นตอนนี้ช่วยให้เห็นรอยรั่วของพฤติกรรมการใช้จ่าย เพื่อไปอุดรอยรั่วตรงนั้น และควรลดการใช้จ่ายทั้งหมดให้ไม่เกิน 50% ของรายได้ เพื่อให้มีเงินเหลือเอาไว้สร้างอิสรภาพทางการเงินในขั้นตอนอื่น

  2. มีแผนสำรอง รองรับความเสี่ยง

    หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่อเดือนแล้ว เงินออมแรกที่ทุกคนควรมี คือ เงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น เงินในส่วนนี้ควรมีเท่ากับหรืออย่างน้อย 3 – 6 เท่าของเงินเดือน หรือทำประกันสุขภาพ ประกันชีวิต เพื่อให้ประกันชดเชยค่าเสียหาย หรือจ่ายค่ารักษาพยาบาลแทนเรา

  3. เลือกวิธีออมเงินที่เหมาะสม

    สำหรับเงินสำรองฉุกเฉิน ควรเก็บในที่สภาพคล่องตัวสูง สามารถถอนออกมาใช้ได้เมื่อจำเป็น แต่ยังได้ผลตอบแทนที่ดี แนะนำบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง หรือถ้าอยากแบ่งเงินไว้กับอิสรภาพทางการเงินในอนาคต เงินส่วนหนึ่ง อาจเลือกฝากกับบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี เพราะจุดเด่นของบัญชีนี้คือให้เราฝากเงินจำนวนเท่า ๆ กันทุกเดือน และจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝากครบระยะเวลาที่กำหนด เช่น 24 เดือน หรือ 36 เดือน ซึ่งช่วยเรื่องวินัยการออมไปในตัว และไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย

  4. มีเงินลงทุนอย่างน้อย 10% ทุกเดือน

    เมื่อมีเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว เงินส่วนที่เหลืออย่างน้อย 10% ควรนำไปทำให้งอกเงย หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “Passive income” ผ่านการลงทุน เพื่อป้องกันเงินเฟ้อที่สามารถลดมูลค่าเงินที่ออมได้ในแต่ละเดือน ที่สำคัญควรลงทุนความเสี่ยงที่รับได้ เช่น หุ้นกู้ กองทุนรวม หุ้น และควรศึกษาการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยให้มีทางเลือกในการสร้างอิสรภาพทางการเงินมากขึ้น

  5. ลองหารายได้หลายทาง

    จากเหตุการณ์โควิด-19 ทำให้เห็นว่าทุกอาชีพมีความไม่แน่นอน การมีรายได้หลายช่องทางจะช่วยประคับประคองความเสี่ยงนั้นแถมยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับงานประจำอีกด้วย แต่ถ้าหาอาชีพเสริมยังไม่ได้ ก็ลองกลับมาศึกษาลงทุนความรู้กับตัวเองก่อน เพื่อที่จะได้ต่อยอดนำความรู้ไปเป็นอาชีพเพิ่มได้

สุดท้ายแล้ว อิสรภาพทางการเงินจะสำเร็จไปไม่ได้ ถ้าเราขาดวินัย ความอดทน และการลงมือทำ ซึ่งยิ่งเราเริ่มลงมือทำเร็วมากเท่าไหร่ เงินสะสมที่เรียกว่าดอกเบี้ยทบต้นก็จะเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น อย่างน้อยก็เริ่มไวดีกว่าไม่เริ่มทำอะไรเลย และที่สำคัญควรศึกษาการลงทุนให้เข้าใจก่อนทุกครั้งที่จะเริ่มลงทุน เพียงเท่านี้อิสรภาพทางการเงินก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่