สุขภาพการเงินก็เหมือนสุขภาพร่างกายที่ต้องหมั่นเช็กประจำปี ซึ่งถ้าเราอยากรู้ว่าสุขภาพการเงินของเรายังดีอยู่หรือไม่ สามารถทำเองได้ง่าย ๆ ด้วย 3 วิธีเช็กสุขภาพการเงินด้วยตัวเอง จะมีวิธีดูอย่างไร ตามไปดูกัน
การประเมินความมั่งคั่งสุทธิสามารถบอกได้ว่าเรามีพื้นฐานทางการเงินอยู่ในขั้นดีมากน้อยเท่าใด เมื่อเปรียบเทียบกับ “ความมั่งคั่งสุทธิที่ควรมี” ซึ่งเราสามารถคำนวณได้ตามนี้
ทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบัน = สินทรัพย์ – หนี้สิน
สินทรัพย์ มีอะไรบ้าง
หนี้สิน มีอะไรบ้าง
ยกตัวอย่างเช่น
นางสาว A มีสินทรัพย์ทั้งหมดเท่ากับ 15,000,000 บาท และมีหนี้สินทั้งหมดเท่ากับ 1,000,000 บาท
ดังนั้น ความมั่งคั่งสุทธิปัจจุบัน = 15,000,000 – 1,000,000 = 14,000,000 บาท
หลังจากรู้ “ความมั่งคั่งสุทธิปัจจุบัน” แล้ว ให้นำมาเปรียบเทียบกับ “ความมั่งคั่งสุทธิที่ควรมี” โดยคำนวณตามสูตรนี้
ทรัพย์สินที่ควรมี = อายุ x รายได้ต่อปี x 10%
ยกตัวอย่างเช่น นางสาว A อายุ 40 ปี มีเงินเดือน 70,000 บาท (x 12 เดือน เท่ากับ 840,000 บาทต่อปี)
ดังนั้น ทรัพย์สินที่นางสาว A ควรมี = 40 x 840,000 x 10/100 = 3,360,000 บาท
เมื่อเทียบ“ทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบัน” = 14,000,000 บาท กับ “ทรัพย์สินที่ควรมี” = 3,360,000 บาท หมายความว่า นางสาว A มี “ทรัพย์สินที่มีอยู่ปัจจุบัน” มากกว่า “ทรัพย์สินที่ควรมี” จึงถือว่านางสาว A มีสุขภาพการเงินโดยรวมแข็งแรงดี
อีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่าสุขภาพการเงินของเรายังดีอยู่หรือไม่ นั่นก็คือหนี้สิน ซึ่งการมีหนี้ก็ไม่เลวร้ายเสมอไปถ้าหนี้นั้นอยู่ในระดับที่พอดี แต่ถ้ามีมากเกินไปก็อาจทำให้ใช้ชีวิตได้ลำบากได้ โดยวิธีคำนวณหนี้ต่อเดือนสามารถทำได้ตามนี้
ภาระหนี้สินต่อเดือน = รายได้ต่อเดือน x 1/3
หรือก็คือห้ามมีเกินกว่า 1/3 ของรายได้ต่อเดือนนั่นเอง เช่น นางสาว A ที่มีรายได้ 70,000 บาทต่อเดือน ภาระหนี้สินต่อเดือนที่มีห้ามเกินกว่านั้นคือ ประมาณ 23,333 บาท ซึ่งถ้าหากมีมากกว่านั้น ก็จะต้องหาวิธีการเพิ่มรายได้ หรือ ลดค่าใช้จ่ายลง
เงินออมเผื่อฉุกเฉิน คือเงินก้อนแรกที่ทุกคนควรมี และสามารถนำมาใช้ได้ทันทีหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เกิดอุบัติเหตุ ล้มป่วย หรือตกงานกะทันหัน โดยจำนวนเงินออมฉุกเฉินที่ควรมีนั้นสามารถคำนวณง่ายๆ ได้ดังนี้
เงิมออมเผื่อฉุกเฉิน = รายจ่ายประจำต่อเดือน x 6
ยกตัวอย่าง ถ้านางสาว A มีรายจ่ายต่อเดือน 35,000 บาท เงินออมเผื่อฉุกเฉินที่ควรมีเท่ากับ 210,000 บาท เพื่อเวลาเกิดเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้น เช่น ตกงาน ประสบอุบัติเหตุ นางสาว A ก็สามารถดำรงชีวิตได้อยู่เป็นเวลา 6 เดือนนั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือการประเมินสุขภาพการเงินง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสุขภาพการเงินก็เหมือนสุขภาพร่างกาย ที่เราควรหมั่นเช็กและตรวจสอบ เพื่อจะได้รู้ทันถึงปัญหาและหาทางแก้ไขได้ทัน ก่อนที่สุขภาพการเงินจะย่ำแย่ เกิดหนี้สะสมจนแก้ไขอะไรไม่ทัน
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |