fbpx
Search
Close this search box.

ส่องเศรษฐกิจไทยตอนนี้ วิกฤตจริงหรือ

เศรษฐกิจไทย

ในมุมของรัฐบาลเพื่อไทยนั้นมองว่า เศรษฐกิจปัจจุบันดำเนินมาถึงขั้นวิกฤตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ‘ตํ่ากว่าที่คาดการณ์ไว้’ แต่ทางพรรคก้าวไกลยังมองว่า ‘สูงกว่าที่คาดการณ์’ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายมองเศรษฐกิจไทยตรงกันว่า แย่และเติบโตช้า เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา

จนในที่สุด สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ฯ ได้เปิดตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ซึ่งเติบโตเพียง 1.5 เปอร์เซ็นต์ ตํ่ากว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้มุมแดงคาดการณ์ได้แม่นยำกว่าทางก้าวไกล และการคาดการณ์นี้ยิ่งสร้างความชอบธรรมทางการเมืองในการช่วงชิงการนิยามเศรษฐกิจในภาวะวิกฤต เพื่อจะบอกว่าประเทศไทยมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องฉีดยาแรงกระตุ้น ด้วยการออกพระราชบัญญัติเงินกู้ 500,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินกู้นี้มาอัดฉีดเข้าระบบผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ตหัวละ 10,000 บาท ซึ่งเต็มไปด้วยข้อกังขาในการดำเนินนโยบายตั้งแต่ต้นถึงที่มาของงบประมาณ วิธีการบริหารจัดการ และหนี้สาธารณะ 

แม้ว่าตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 3 จะถูกตีความไปว่า เศรษฐกิจไทยวิกฤตแล้ว จำเป็นต้องกระตุ้นขนานใหญ่ แต่เมื่อลองมองลงไปดูตัวเลขอื่นๆ ที่เป็นตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจนี้ อาจทำให้หลายคนต้องกลับมานั่งพิจารณาใหม่อีกครั้งหนึ่ง ว่าเศรษฐกิจไทยโคม่าจริงหรือ

“ทุกอย่างเลวร้ายกว่าที่คิดไว้เยอะ”นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ถึงตัวเลขเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพี ไตรมาส 3/2566 ที่สภาพัฒน์ประกาศออกมาที่ 1.5% ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ 2% โดยยอมรับว่าน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก เนื่องจากความเป็นจริงต้องเห็นเลขที่ 2% แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่ทำให้จีดีพีลดลง ทั้งการใช้จ่ายและการลงทุน แต่ไตรมาสที่ 4 ยังเหลืออีกครึ่งทาง ต้องพยายามทำให้ตัวเลขดีขึ้น

 

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีย้ำจุดยืนที่ชัดเจนอีกครั้งในการผลักดันโครงการแจกดิจิทัลวอลเล็ตหัวละหนึ่งหมื่นบาทว่า “วิกฤต และจำเป็นเร่งด่วน”

 

KKP ตั้งข้อสังเกตุว่า GDP ไตรมาส 3 ที่โตค่อนข้างต่ำที่ 1.5% แต่ในขณะที่ GDP ในฝั่งการอุปสงค์โตได้ถึง 5.6% ความแตกต่างกันค่อนข้างมากของ GDP ฝั่งอุปสงค์และอุปทานนำมาสู่ข้อสงสัยของหลายฝ่ายว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไรกันแน่  KKP Research ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในภาพรวมยังคงอ่อนแอกว่าที่ตัวเลขแสดง

 

เศรษฐกิจในประเทศอ่อนแอกว่าที่เห็น โดยการบริโภคของ GDP ไตรมาส 3 โตสูงถึง 8% ในภาวะที่หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงและภาคธนาคารชะลอการปล่อยกู้สินเชื่อภาคครัวเรือน  อย่างไรก็ตาม KKP Research ประเมินว่าเมื่อพิจารณาประกอบกับตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอื่น ๆ แล้ว การใช้จ่ายในประเทศน่าจะโตได้น้อยกว่าตัวเลขดังกล่าวมาก ภายใต้ข้อสังเกตดังต่อไปนี้

1) ยอดขายบ้านและรถยนต์ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา

โดยเกิดจากทั้งรายได้ในประเทศที่ยังฟื้นตัวได้ช้า การปล่อยกู้ของสินเชื่อภาคธนาคารที่ตึงตัวขึ้นมาก และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นเร็วทำให้ภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้น

2) ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนออกมาอ่อนแอต่อเนื่องสวนทางกับเลข GDP

ในฝั่งการใช้จ่าย โดยในช่วงที่ผ่านมา ทิศทางกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทยค่อนข้างแย่ และมีจำนวนหุ้นที่ถูกปรับการคาดการรายได้ ( Earning) ลง มากกว่าจำนวนหุ้นที่ถูกปรับการคาดการรายได้ ขึ้น ขณะที่กำไรต่อหุ้นหรือ EPS ของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ลดลงมากว่า 10% จากต้นปี 2023 ซึ่งลดลงมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ซึ่งสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในช่วงที่ชะลอตัวมากกว่าฟื้นตัวได้ดี

3) อัตราการเติบโตของยอดขายจากสาขาเดิม (Same store sale growth)

ของบริษัทจดทะเบียนมีทิศทางที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง โดยชะลอตัวลงทั้งในกลุ่มของสินค้าจำเป็นและสินค้าฟุ่มเฟือย และมีแนวโน้มปรับเป็นติดลบในไตรมาสที่ 3 ปี 2023 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

4) สินเชื่อในภาคธนาคารหดตัว

สะท้อนว่าธนาคารพาณิชย์มีมุมมองที่ไม่ดีนักต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและคุณภาพสินเชื่อในระยะข้างหน้า จึงชะลอการปล่อยกู้ลง

5) ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในปีภาษีที่ผ่านมา ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งควรสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ หดตัวประมาณ 3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าแม้ปรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ลดลงแล้ว ซึ่งผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ลดลงสะท้อนถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ชะลอลง

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่