เตือนภัย!! ขยะอันตรายที่ไม่ได้ส่งผลแค่เรา แต่ส่งผลไปทั่วถึงทุกคนบนโลก ทุกคนสังเกตกันมั๊ยคะ? ว่าทุกวันนี้อากาศบ้านเราหรือจะที่ไหนๆของโลกก็ตาม ไม่ค่อยตรงตามฤดูกาล หรือบางวันมีถึง 3 ฤดู เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว หรือถึงหน้าฤดูหนาวแล้ว แต่อากาศยังแตะ 30 องศาบวก บวก บวกกันอยู่เลยจนต้องถามว่า “นี่หน้าหนาวจริงๆใช่ไหม?” หนึ่งในสาเหตุที่อากาศไม่เปลี่ยนไปตรงตามฤดูกาลนั้นก็คือ “ขยะ” เป็นภัยตัวร้ายที่เราต้องระวัง เดี๋ยวไปดูกันว่าจะมีขยะอะไรบ้าง? และแต่ละอย่างจะส่งผลยังไงกับโลกของเรา
เป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากๆ เพราะเราต้องกินข้าว กินอาหารอยู่ในทุกๆวัน ขยะอาหารคือ เศษอาหารที่ไม่สามารถนำไปบริโภคหรือรับประทานต่อได้ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่เหลือจากการบริโภค เช่น อาหารที่หมดอายุไม่สามารถทานต่อได้ หรือจากเปลืองผลไม้ ในปัจจุบันอาหารจากขยะเกิดขึ้นมากถึง 1.3 ล้านปี เรียกได้ว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารที่ผลิตและกลายเป็นขยะ ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 11.8 เปอรเซ็น
ข้อมูลจาก “Food Wastage Footprint : Impacts on Natural Resources” โดย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNFAO) ได้กล่าวว่าในตอนนี้ ขณะที่เราทิ้งอาหาร รับประทานอาหารไม่หมด กลับกันยังมีประชากรจากทั่วโลกมากกว่า 87 ล้านคนต้องเผชิญความหิวโหย ซึ่งคนไทยคนใหญ่มักชอบทิ้งขยะประเภทอาหารรวมกับขยะทั่วไป ทำให้การคัดแยกขยะก่อนการนำไปรีไซเคิลและกำจัดเป็นไปได้อย่างยากลำบาก การใช้ประโยชน์จากขยะอาหารจึงทำได้ยาก
เป็นยุคสมัยที่หลายคนหันมาสั่งของออนไลน์ และมีความสุขกับการแกะกล่องแต่รู้หรือไม่? ความรู้เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นการกล่องพัสดุ ถุงใส่ของ แก้วน้ำ ขวดพลาสติก เรียกว่า “ขยะจากแพคเกจจิ้ง” เป็นขยะจำนวนมหาศาลที่ไม่สามารถบอกเป็นตัวเลขได้ว่าเกิดขึ้นเท่าไหร่!! โดยขยะจากแพ็กเกจจิ้ง เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากโรงงานด้านผลิตบรรจุภัณฑ์มากยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันมีหลายแบรนด์เริ่มหันมาผลิตแพคเกจจิ้งที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ หรือสามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งในปัจจุบันก็ยังรณรงค์ให้หันมาใช้ถุงผ้า หรือมองหาวัสดุอื่นมาทดแทนการใช้แพ็กเกจจิ้งพลาสติกที่ใช้งานได้จริง เหมาะสมกับสินค้า และต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เป็นขยะที่สร้างที่อันตรายมากๆ ส่งผลต่อไปทั้งสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ทั่วโลก เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีสารประกอบที่อันตราย และบางครั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุ หรือไม่ได้ใช้งานแล้วก็มักจะถูกทิ้งอย่างผิดวิธี ผสมลงกับขยะประเภททั่วไป โดยสารพิษ สารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ที่ลงไปสะสมในสิงแวดล้อมส่งผลดิน น้ำ และอากาศระบบนิเวศที่ไม่มี
อุตสาหกรรมแฟชั่นยังปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงถึง 10% และในการผลิตเสื้อ cotton 1 ตัวต้องใช้น้ำ 700 แกลลอน ขณะเดียวกันต้องใช้น้ำมากถึง 2,000 แกลลอน ในการผลิตกางเกงยีนส์ 1 ตัว เมื่อเกิดการผลิตในจำนวนที่มาก ส่งผลให้เสื้อผ้าเหลือและเสื้อผ้าไม่สามารถย่อยสลายได้ และทางเลือกเดียวที่จะจำกัดได้นั้นคือการฝังกลบดิน ซึ่งทิ้งสารตกค้างจำนวนมากไว้ในดิน ส่งผลให้ดินเสียหายและเสื่อมคุณภาพได้
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional" |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other". |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |