fbpx
Search
Close this search box.

4 ขยะตัวร้ายที่เป็นภัยต่อสังคม

เตือนภัย!! ขยะอันตรายที่ไม่ได้ส่งผลแค่เรา แต่ส่งผลไปทั่วถึงทุกคนบนโลก ทุกคนสังเกตกันมั๊ยคะ? ว่าทุกวันนี้อากาศบ้านเราหรือจะที่ไหนๆของโลกก็ตาม ไม่ค่อยตรงตามฤดูกาล หรือบางวันมีถึง 3 ฤดู เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวฝน เดี๋ยวหนาว หรือถึงหน้าฤดูหนาวแล้ว แต่อากาศยังแตะ 30 องศาบวก บวก บวกกันอยู่เลยจนต้องถามว่า “นี่หน้าหนาวจริงๆใช่ไหม?” หนึ่งในสาเหตุที่อากาศไม่เปลี่ยนไปตรงตามฤดูกาลนั้นก็คือ “ขยะ” เป็นภัยตัวร้ายที่เราต้องระวัง เดี๋ยวไปดูกันว่าจะมีขยะอะไรบ้าง? และแต่ละอย่างจะส่งผลยังไงกับโลกของเรา

ขยะจากอาหาร

เป็นเรื่องใกล้ตัวเรามากๆ เพราะเราต้องกินข้าว กินอาหารอยู่ในทุกๆวัน ขยะอาหารคือ เศษอาหารที่ไม่สามารถนำไปบริโภคหรือรับประทานต่อได้ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่เหลือจากการบริโภค เช่น อาหารที่หมดอายุไม่สามารถทานต่อได้ หรือจากเปลืองผลไม้ ในปัจจุบันอาหารจากขยะเกิดขึ้นมากถึง 1.3 ล้านปี เรียกได้ว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณอาหารที่ผลิตและกลายเป็นขยะ ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 11.8 เปอรเซ็น  

ข้อมูลจาก “Food Wastage Footprint : Impacts on Natural Resources” โดย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (UNFAO) ได้กล่าวว่าในตอนนี้ ขณะที่เราทิ้งอาหาร รับประทานอาหารไม่หมด กลับกันยังมีประชากรจากทั่วโลกมากกว่า 87 ล้านคนต้องเผชิญความหิวโหย ซึ่งคนไทยคนใหญ่มักชอบทิ้งขยะประเภทอาหารรวมกับขยะทั่วไป ทำให้การคัดแยกขยะก่อนการนำไปรีไซเคิลและกำจัดเป็นไปได้อย่างยากลำบาก การใช้ประโยชน์จากขยะอาหารจึงทำได้ยาก

ขยะจากแพคเกจจิ้ง

เป็นยุคสมัยที่หลายคนหันมาสั่งของออนไลน์ และมีความสุขกับการแกะกล่องแต่รู้หรือไม่? ความรู้เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นการกล่องพัสดุ ถุงใส่ของ แก้วน้ำ ขวดพลาสติก เรียกว่า “ขยะจากแพคเกจจิ้ง” เป็นขยะจำนวนมหาศาลที่ไม่สามารถบอกเป็นตัวเลขได้ว่าเกิดขึ้นเท่าไหร่!! โดยขยะจากแพ็กเกจจิ้ง เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากโรงงานด้านผลิตบรรจุภัณฑ์มากยิ่งขึ้น 

ในปัจจุบันมีหลายแบรนด์เริ่มหันมาผลิตแพคเกจจิ้งที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ หรือสามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งในปัจจุบันก็ยังรณรงค์ให้หันมาใช้ถุงผ้า หรือมองหาวัสดุอื่นมาทดแทนการใช้แพ็กเกจจิ้งพลาสติกที่ใช้งานได้จริง เหมาะสมกับสินค้า และต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ขยะจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เป็นขยะที่สร้างที่อันตรายมากๆ ส่งผลต่อไปทั้งสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ทั่วโลก เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีสารประกอบที่อันตราย และบางครั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุ หรือไม่ได้ใช้งานแล้วก็มักจะถูกทิ้งอย่างผิดวิธี ผสมลงกับขยะประเภททั่วไป โดยสารพิษ สารเคมีจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ที่ลงไปสะสมในสิงแวดล้อมส่งผลดิน น้ำ และอากาศระบบนิเวศที่ไม่มี

ขยะจากสินค้าแฟชั่น

อุตสาหกรรมแฟชั่นยังปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงถึง 10% และในการผลิตเสื้อ cotton 1 ตัวต้องใช้น้ำ 700 แกลลอน ขณะเดียวกันต้องใช้น้ำมากถึง 2,000 แกลลอน ในการผลิตกางเกงยีนส์ 1 ตัว เมื่อเกิดการผลิตในจำนวนที่มาก ส่งผลให้เสื้อผ้าเหลือและเสื้อผ้าไม่สามารถย่อยสลายได้ และทางเลือกเดียวที่จะจำกัดได้นั้นคือการฝังกลบดิน ซึ่งทิ้งสารตกค้างจำนวนมากไว้ในดิน ส่งผลให้ดินเสียหายและเสื่อมคุณภาพได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อนๆ สามารถติดตาม ACU PAY Thailand ผ่านช่องทางการติดตามอื่นๆ ได้ที่